หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 82 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการหย่อนบัตรภายในเวลา 10 วินาที แล้วให้อำนาจเขาไปหมด พิมพ์
Thursday, 13 July 2006


ธัญลักษณ์  นวลักษณกวี สัมภาษณ์

"ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการหย่อนบัตรภายในเวลา 10 วินาที แล้วให้อำนาจเขาไปหมด"

นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
( Local Development Institute : LDI )


Imageงานของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดอยู่ในกลุ่มเคลื่อนไหวที่ อ.เสกสรรค์  ประเสริฐกุล กล่าวว่า เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เคลื่อนไหวประท้วงหรือเรียกร้องสิทธิในการจัดการชีวิตของตน แต่ยังเข้าร่วมกับรัฐในสิ่งที่คิดว่ารัฐทำประโยชน์ด้วย มีการทำงานร่วมกับรัฐและทักท้วงสิ่งที่รัฐทำบ้าง แต่มีหลักการของตนเอง  เป็นการร่วมเชิงวิพากษ์ โดยมีผู้นำที่โดดเด่นทางความคิดและจิตวิญญาณ เช่น นพ.ประเวศ วะสี 

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาจัดว่าเป็น องค์กรที่มีบทบาทในการสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชนท้องถิ่น โดยให้พลเมืองในท้องถิ่นได้มีโอกาสร่วมคิดร่วมทำ ร่วมจัดการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนของตน นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เป็นคุณหมอนักพัฒนาที่ลงไปทำงานกับผู้คนหลากหลายระดับในชุมชนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมทั่วประเทศ คุณหมอได้สะท้อนภาพความเป็นจริงเมื่อนโยบายของรัฐบาลลงไปสู่ระดับชุมชนท้องถิ่น และความคิดเห็นต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 


โครงการกองทุนหมู่บ้าน ระบบอุปถัมภ์ทำให้เงินไปไม่ถึงคนยากจนจริงๆ

สมัยรัฐบาลคุณทักษิณ เขามีนโยบายหลายเรื่องเกิดขึ้น เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ทาง LDI ได้เข้าไปช่วยงานรัฐบาล ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นอกจากนี้มี อ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม และคุณอเนก นาคะบุตร เราเข้าไปช่วยตั้งแต่เริ่มต้นกองทุนหมู่บ้านโดยเข้าไปช่วยในการเตรียมงานชุมชนในเชิงคุณภาพ แต่ก็ทำได้อย่างจำกัดเพราะนโยบายรัฐบาลต้องการเร็ว ต้องการคะแนนเสียง แต่ก็นับว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ในช่วงที่ทำเรื่องกองทุนหมู่บ้าน เห็นว่าเงินทุนที่ลงไปในหมู่บ้านโดยตรงในขณะที่หมู่บ้านและชุมชนยังมีความพร้อมไม่มาก จาก 7 หมื่นกว่าหมู่บ้าน ที่แข็งแรงจริงๆ ที่เรามีข้อมูลประมาณ 13% หรือประมาณ 5 พันกว่าชุมชน ส่วนที่เหลือไม่ค่อยแข็งแรงพอ

คุณภาพของนโยบาย นโยบายหนึ่งๆ แนวคิดดี แต่พอเอาลงไปปฏิบัติมีปัญหาในเชิงคุณภาพการจัดการ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ผมเข้าไปช่วยอยู่ 2 ปี ก็พบปัญหาในเชิงคุณภาพการจัดการและองค์กรที่บริหารโดยรัฐ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตั้งอยู่ที่ทำเนียบ ภายใต้ระบบราชการไม่สามารถไปสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในเชิงคุณภาพของชุมชนข้างล่างได้ทัน ในที่สุดก็ทำให้เกิดปัญหาในเชิงคุณภาพผุดขึ้นมา ผมทายไว้ตั้งแต่ 2 ปีมาแล้ว บอกรัฐว่าปัญหาของกองทุนหมู่บ้านจะเกิดปัญหาในเชิงคุณภาพผุดขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราเตรียมเขาสั้นเกินไป เตรียมไม่มากพอทำให้ปรัชญาต่างๆ ถูกบิดเบือนไปหมดและมีปัญหาในเชิงคุณภาพ ด่านที่เป็นอุปสรรคที่สุดคือด่านวัฒนธรรม เรื่องของระบบอุปถัมภ์ ทำให้เงินนี้ไปไม่ถึงคนที่ยากจนจริงๆ เพราะคนยากจนจริง ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านหรอก ที่จนจริงก็ไม่ถึง หมุนเวียนอยู่ในระบบอุปถัมภ์ซึ่งไม่ได้แก้ได้ในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาและกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

เราจึงคิดถึงกลไกพี่เลี้ยงซึ่งต้องคอยสนับสนุน จึงมีโครงการถักทอเครือข่ายประชารัฐ คือการนำภาคประชาสังคมซึ่งเป็นผู้มีจิตใจเสียสละ กับภาครัฐคือข้าราชการที่เข้าใจประชาชน มาเชื่อมโยงทำงานกันเป็นเครือข่ายประชารัฐในทุกจังหวัด กลายเป็นกลไกเพื่อไปสนับสนุนชุมชน หมู่บ้านเล็กๆ ในแต่ละจังหวัด ทำให้เกิดความร่วมมือที่เป็นมิติใหม่


ทำงานกับหน่วยราชการได้ดีกว่าเดิมในยุคที่รัฐบาลใช้อำนาจมาก

การทำงานร่วมกับรัฐบาลในขณะนี้ อาจจะทำได้ไม่มากเหมือนเมื่อปีที่ 1-3 ปีที่ 4 เริ่มมีช่องว่างถ่างออกไปเรื่อยๆ ในช่วงหลังๆ รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น หวาดระแวงมากขึ้น หมายความว่าพยายามที่จะตัดตอนคนที่เป็นอิสระและมีศักยภาพในการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ออก กลายเป็นขาประจำกันไปหมด แต่เนื่องจากในช่วง 3 ปีแรกของรัฐบาล เราได้ทำงานกับส่วนกลางและระดับพื้นที่ การที่มีโอกาสได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ ได้สร้างความสัมพันธ์ ความเป็นเพื่อนเหนียวแน่นมากขึ้น เนื่องจากรู้ว่าทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน


การปฏิรูประบบราชการโดยใช้อำนาจกฎหมายจะเกิดแรงต้านสูงและสร้างศัตรู

การปฏิรูประบบราชการเป็นเรื่องที่ดี เราสนับสนุน แต่ว่าการปฏิรูประบบราชการทำได้ยากมากเพราะวัฒนธรรมองค์กรของราชการปลูกฝังสะสมกันมานานเป็นร้อยปี การปฏิรูปที่ลึกที่สุดคือ การปฏิรูประบบความคิดและวัฒนธรรมขององค์กรซึ่งยากมาก การที่รัฐบาลจะปฏิรูปเรื่องที่ยากอย่างนี้โดยอำนาจกฎหมายนั้นไปไม่รอดหรอก ซึ่งรัฐบาลพยายามทำอย่างนั้น ความจริงรัฐบาลควรจะร่วมมือกับประชาชนในการค่อยๆ ทำให้การปฏิรูปเป็นไปด้วยความละมุนละม่อม ต้องใช้พลังทางสังคมซึ่งเป็นพลังที่อ่อนเป็น soft power แต่คุณใช้พลังที่แข็งเช่นนี้มันแรงต้านสูง แล้วคุณจะพบว่าเมื่อคุณกีดกันพลังทางสังคมออกคุณก็ใช้พลังอำนาจเดี่ยวๆ การใช้พลังอำนาจเดี่ยวๆ ของรัฐบาลไล่ทุบไปเรื่อยๆ เป็นการสร้างศัตรูโดยไม่จำเป็น เยอะแยะไปหมดในระบบราชการ ราชการทุกกระทรวงมีใครแฮบปี้ไหม ลึกๆ แล้วเขาไม่ค่อยแฮปปี้กับรัฐบาล


นโยบายประชานิยม : ชาวบ้านจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์

Imageอย่าไปคิดว่าโยนเงินไปให้ชุมชนฐานรากแล้วจะได้ใจ ไม่เสมอไป คนเราหลอกกันได้ครั้งหนึ่ง แต่ครั้งต่อไปจะหลอกได้ยากขึ้น การที่ประชาชนได้อะไรต่างๆ ที่รัฐบาลหว่านลงไป เขาก็ถือว่าดี แม้ว่าจะมีข้อขัดข้องใจอะไรบ้าง ภาพรวมมองว่าดี ยอมรับ แต่ว่าพอไปถึงอีกระยะหนึ่งเมื่อสังคมชุมชนในระดับฐานรากค่อยๆ เรียนรู้จากของจริงจากการปฏิบัติ กรณีกองทุนหมู่บ้าน ทำให้เขามีแหล่งทุนราคาถูก ดอกเบี้ยถูก เอาไปหมุนหนี้ ในชนบทอยู่ในภาวะหมุนหนี้โดยถ้วนหน้า คือมีหนี้อยู่หลายที่ พอมีกองทุนหมู่บ้านเข้ามาให้กู้ก็กู้ไปโปะหนี้อื่นที่ดอกเบี้ยสูงกว่า หรือถึงเวลาที่จะต้องใช้คืนกองทุนหมู่บ้านก็เอาอันอื่นมาโปะหมุนกันไป ในสภาพความเป็นจริงเป็นอย่างนี้

ขณะเดียวกัน การบริโภคนิยม วัฒนธรรมบริโภคนิยม กระแสบริโภคนิยม มันโหมกระหน่ำมานาน และปัจจุบันก็ยังหนักเข้าไปอีก ในเรื่องของมือถือ ความไม่จำเป็นต่างๆ ของไม่จำเป็นก็ทำให้จำเป็นด้วยกระแสโฆษณา บริโภคนิยมไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวผู้นำครอบครัวแต่เป็นเด็ก ในที่สุดแล้วด้วยชีวิตจริงจะทำให้ประชาชนกลับมาฉุกคิดว่าชีวิตมันดีขึ้นจริงหรือเปล่า 


ผู้นำรัฐบาลมีอคติต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

รัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีมีอคติต่อกระบวนการตรวจสอบ กระบวนการมีส่วนร่วม ถ้าพูดถึงกระบวนการมีส่วนร่วม ท่านพูดถึงกระบวนการมีส่วนร่วมเหมือนกัน แต่ว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ท่านขอแค่ร่วมรับรู้และร่วมมือ แต่ร่วมทำร่วมรับผิดชอบไปไม่ถึง ที่ลึกที่สุดคือการให้พลังอำนาจประชาชนในการมีส่วนร่วมตัดสินใจ เขาไม่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ


ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงแค่หย่อนบัตรเลือกตั้ง แล้วให้อำนาจเขาไปหมด

ประชาธิปไตยทางตรง หรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ถือเป็นหัวใจดวงที่สองของรัฐธรรมนูญฉบับนี้  แต่ว่าความเคยชินของสังคมไทย การรับรู้ของคนส่วนใหญ่ยังคิดว่า มีประชาธิปไตยอย่างเดียวคือ ถึงเวลาไปเลือกตั้ง หย่อนบัตรภายในเวลา 10 วินาที แล้วก็ให้อำนาจกับเขาหมด ให้เขาไปจัดการ นักการเมืองทั้งหลายเขาก็บอกว่า เขาได้รับการเลือกตั้งมาโดยประชาชน นายกฯ เขาก็ถือว่าเขาได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน จึงใช้อำนาจหมดเลย


สังคมไทยยังไม่ค่อยเข้าใจและยอมรับรู้เรื่องการเมืองภาคพลเมือง

ความรับรู้ของสังคมไทยในเรื่องการเมืองภาคพลเมือง การมีส่วนร่วมหรือประชาธิปไตยทางตรง ตอนนี้ยังมีความเข้าใจ การยอมรับ การเห็นคุณค่าความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมยังอยู่ในระดับต่ำ เวลาเราจะขับเคลื่อนให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดอะไร จะมีด่านอุปสรรคทางความรับรู้ ความเข้าใจของประชาชนส่วนหนึ่งคือ ไม่ใช่หน้าที่ ให้ฝ่ายการเมืองที่เราเลือกตัวแทนเป็นคนจัดการ ซึ่งเป็นด่านใหญ่


สิทธิของประชาชนสามารถกำหนดชีวิต แสดงความคิดเห็น และตรวจสอบรัฐบาลได้

ผมมองว่าในช่วงจังหวะนี้ เป็นช่วงที่การเมืองแบบตัวแทนทั้งระบบอยู่ในช่วงขาลง ผมจะชวนพวกเครือข่ายคุยกันว่าทำอย่างไรในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะทำให้การเมืองภาคประชาชนหรือการเมืองแบบมีส่วนร่วมทะยานขึ้นได้ เมื่อผ่านช่วงของการเลือกตั้งแล้ว อย่างน้อยให้คนทั่วไปมีความเข้าใจต่อการเมืองแบบมีส่วนร่วม เข้าใจว่าอำนาจประชาธิปไตยนอกจากการหย่อนบัตรเลือกตั้งแล้ว เรายังมีอำนาจ มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการกำหนดตัวเราเอง สามารถสะท้อนความคิดเห็น สามารถตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองและราชการต่างๆ ได้

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >