หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 91 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เหยื่อของความบิดเบือน พิมพ์
Tuesday, 04 July 2006


ภาพจาก www.muslimthai.comเหยื่อของความบิดเบือน*

ศุภรา  จันทร์ชิดฟ้า เรื่อง

18 เมษายน 2547

เมื่อฉันไปถึง ลุงดือราแม ดาราแม กำลังทำละหมาดตอนบ่ายเสร็จพอดี เขากำลังพับเสื้อผ้าที่ใช้สำหรับการสวดมนต์และเก็บมันไว้บนชั้นอย่างดี เขาหันมายิ้มให้ฉันและบอกว่าเขานึกแล้วว่าฉันต้องมาพบเขาอีก จริงๆ แล้วเขาคาดหวังว่าจะได้พบฉันเร็วกว่านี้ “ทำไมเธอเพิ่งจะมาล่ะ” เขาพูดเปรยๆ

พอเริ่มต้นคุยกัน ดือราแมผู้ได้รับรางวัลคนดีศรีสังคมท่านนี้ก็บอกเล่าถึงความอึดอัดใจเกี่ยวกับการรายงานข่าวส่วนใหญ่ที่วาดภาพคนในชายแดนภาคใต้อย่างบิดเบือน  เขาเริ่มลำดับเรื่องราวที่สื่อต่างๆ รายงานด้วยความลำเอียงหลายประการปรากฏอยู่ในการนำเสนอของสื่อต่างๆ ในปัจจุบันซึ่งยึดเอาทัศนคติ ความคิดเห็นของรัฐบาลเป็นหลัก โดยไม่สนใจที่จะตรวจสอบความจริงที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง สิ่งที่เขากังวลมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เรื่องโรงเรียนปอเนาะ

รายงานข่าวส่วนใหญ่มักกล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้ดั้งเดิมของชาวมุสลิมถูกใช้เป็นเครื่องบังหน้าในการฝึกอบรมกองทัพเยาวชนเพื่อการใช้อาวุธและกิจการอื่นๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันออกกลาง เช่น ลิเบีย

“แทนที่พวกเขาจะพิจารณาว่าอะไรคือปัจจัยที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความรุนแรง รัฐกลับมองระบบปอเนาะของพวกเราอย่างไม่ไว้วางใจเลยทันที”

“ทำไมรัฐบาลหรือสื่อ ไม่เข้ามาตรวจสอบว่าระบบทั้งหมดของปอเนาะเป็นอย่างไร” ดือราแม ให้คำเสนอแนะ

ดือราแมเป็นชาวนราธิวาสมาแต่กำเนิด เขาบอกว่า โรงเรียนปอเนาะคือหัวใจและจิตวิญญาณของพวกเขา “หลายปีมาแล้ว เมื่อครั้งที่อาชญากรรมและความชั่วร้ายได้แพร่กระจายไปทั่วหมู่บ้านของเรา ชาวบ้านบางคนได้บริจาคพื้นที่บางส่วนเพื่อให้ครูสอนศาสนาจัดตั้งโรงเรียนปอเนาะขึ้น ตั้งแต่นั้นมา ปอเนาะจือแร ก็เป็นสถานที่สำหรับอบรมบ่มเพาะวัยรุ่นให้อยู่ในวิถีแห่งอิสลาม และได้ทำให้วิถีชีวิตของคนที่นี่กลับคืนสู่ความสงบสุขดังเดิม”

ดือราแม เห็นว่า รัฐบาลควรชี้ปัญหาของภาคใต้ให้ชัดเจน และยังบอกอีกว่า เขาไม่เชื่อว่าปอเนาะจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเหล่านั้น

มูฮะหมัด อดัม เจ้าของปอเนาะเนรูลสลาม ภูมีวิทยา ใน อ.ยะริง จ.ปัตตานี สะท้อนในสิ่งเดียวกัน “จริงๆ แล้ว ใครกันคือผู้บุกเบิกการจัดระเบียบสังคม” เขาตั้งคำถาม ปอเนาะได้ทำหน้าที่ในการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นคนดี และช่วยส่งเสริมศีลธรรมในชุมชน เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ปฏิบัติตามวิถีแห่งศาสนา เขายังกล่าวย้ำว่า “นี่คือการจัดระเบียบสังคมที่แท้จริง”


ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นร้าวลึกด้วยความไม่เข้าใจกันในความแตกต่างมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว ยิ่งขณะนี้มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกและปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มกำลังพร้อมอาวุธสงครามในพื้นที่ ยิ่งก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ เป็นเรื่องที่ผู้คนโจษจันกันอย่างกว้างขวาง

“ผมไม่รู้สึกว่ามีความปลอดภัยเลยที่มีกองกำลังของตำรวจและกองทัพของทหารที่นี่” ภารโรงโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งใน จ.นราธิวาสกล่าว

หากเราเดินทางไปใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้ เราจะพบจุดตรวจของทหารซึ่งเป็นเหล็กกั้น ตลอดเส้นทางตามถนนหลายสายของ 3 จังหวัดนี้ โดยแต่ละจุดตรวจนั้น ทหารหรือตำรวจมีอาวุธครบครัน และพร้อมที่จะยิงใครก็ได้ที่พวกเขาเห็นว่า “เป็นศัตรู”

ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ยี่หระอะไรกับจุดตรวจเหล่านี้ เพียงแต่รู้สึกไม่สบายใจกับปฏิบัติการเช่นนี้

ที่ อำเภอเจาะไอร้อง เจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งซึ่งเป็นมุสลิม ถูกสั่งให้หยุดรถยนต์และให้ตำรวจตรวจค้น แต่เมื่อเขาพูดว่า “ค้นน่ะค้นได้ แต่อย่ายัดยาบ้าก็แล้วกัน”

คำพูดเช่นนี้ทำให้ตำรวจโกรธและนำเขาไปยังสถานีตำรวจ ชายคนนี้ถูกบังคับให้กราบขอโทษตำรวจทุกคนที่อยู่บนสถานี และนี่เองที่ชาวบ้านบอกว่า “เราไม่ต้องการจะพูดอะไรไปมากกว่านี้ มันมีแต่ทำให้เลวร้ายลงมากกว่าจะทำให้ดีขึ้น” เสียงจากผู้นำหมู่บ้าน ไอสะเตียร์ ใน อ. เจาะไอร้อง

ถ้อยแถลงบางตอนของนายกฯ ที่กล่าวว่า ต้องการให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ “ประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี” ดูเหมือนจะช่วยสถานการณ์ภาคใต้ได้เพียงน้อยนิด คนท้องถิ่นสงสัยว่าสิ่งที่นายกฯ พูดหมายความว่า ในยามปกติแล้วพวกเขาเป็นพลเมืองที่เลวอย่างนั้นหรือ

เหมือนกับการใส่เกลือลงในบาดแผล เจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนให้ความเห็นว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวบ้านที่เจาะไอร้องเป็นคนไม่ดี “เป็นความจริงว่าค่ายของกองทัพที่ถูกปล้นปืนตั้งอยู่ในพื้นที่ของพวกเรา แต่เจ้าหน้าที่จะมาตีตราพวกเราว่าเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร” อารงค์ ยูโซ๊ะ ผู้ใหญ่บ้านใน ต.บูกิต ประหลาดใจกับข้อสรุปของทางการ

ในขณะที่ชาวบ้านในท้องที่รู้สึกไม่สบายใจกับสิ่งที่รัฐแสดงออกทั้งหมด รวมทั้งการถืออาวุธเดินไปเดินมาในชุมชน เจ้าหน้าที่ระดับล่างเองก็ไม่ได้มีความสุขกับสถานการณ์เช่นนี้

“ผมอยากจะบอกว่า เราไม่มีความสุขเลย เวลาเดินในหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆ โดยไม่รู้ว่าใครคือศัตรูของเรา” ทหารประจำการใน อ.บาเจาะ สะท้อนด้วยคำพูดนี้ และไม่ว่าคุณจะเป็นคนมุสลิมหรือพุทธ ทหารในสายตาของชาวบ้านไม่ต่างกันเลย ทหารก็ยังเป็นทหารวันยังค่ำ

 ภาพจาก www.prachathai.com

กองทัพคือคนที่ใส่ชุดลายพร้อยเหมือนกันทั้งหมด ที่อยู่ในพื้นที่” เขาบอกว่า ทหารส่วนมากมีความเครียดสูง และ “พวกเราเป็นเป้าหมายที่ง่ายต่อการโจมตีได้ตลอดเวลา”

แต่เมื่อทหาร เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของรัฐ ถูกฆ่า ชาวบ้านจำนวนมากรู้สึกเป็นกังวล “พวกที่ฆ่าพยาบาลนี่ไม่ใช่ชาวมุสลิม มุสลิมไม่มีวันที่จะฆ่าคนที่ช่วยเหลือพวกเขา” ชาวบ้านผู้ไม่อยากถูกระบุชื่อคนหนึ่งใน อ.รามัญ จ.ยะลา พูด

“อัลเลาะห์สอนให้เราต่อสู้เพื่อความยุติธรรมก็จริง แต่พระองค์ไม่เคยสอนให้เราใช้ความรุนแรงต่อต้านใคร ไม่แม้แต่ผู้กดขี่เรา” เขาพูดเสริม


การรับรู้ของสื่อ

ชาวบ้านส่วนใหญ่รู้สึกไม่สบายใจกับการนำเสนอข่าวของสื่อเกี่ยวกับประเด็นภาคใต้ ขณะที่ฉันเที่ยวเดินไปในหมู่บ้านมะยูง ใน อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ฉันเข้าไปพบกลุ่มทำขนมอสุราซึ่งเป็นขนมที่ทำตามประเพณีของชาวมุสลิมใช้สำหรับการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ เมื่อชาวบ้านรู้ว่าฉันเป็นผู้สื่อข่าว ชาวบ้านหลายคนถามว่า ฉันไม่กลัวหรือ ที่มาเดิมท่อมๆ ในหมู่บ้านแบบนี้ ฉันจึงถามว่ามีอะไรที่ฉันต้องกลัวหรือ

“การฆ่าและโจมตีด้วยความรุนแรงกับคนในภาคใต้” ชาวบ้านคนหนึ่งตอบพร้อมตั้งคำถามต่อว่า “นั่นไม่ใช่การรับรู้ของสื่อเกี่ยวกับคนในพื้นที่หรอกหรือ”

ชาวบ้านอีกคนพูดว่า “เมื่อดูข่าวตามรายการต่างๆ เหมือนเรากำลังดูหนังสยองขวัญ ทำไมไม่มีสื่อไหนเลยที่เข้ามาหาเราและถามเราว่าคิดอย่างไรกับเรื่องต่างๆ ที่พวกเขารายงาน”

ชาวบ้านหลายคนบอกว่า พวกเขาต้องการสื่อที่เข้าใจเรื่องราวเชิงลึกก่อนที่จะทำรายงานข่าวใดๆ ออกไปและควรมีรายงานเรื่องราวข่าวเชิงบวกออกไปบ้าง ไม่ใช่มีแต่เรื่องอาชญากรรมและความหายนะ

พวกเขายกตัวอย่างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธในพื้นที่ เช่น เมื่อเพื่อนชาวพุทธในหมู่บ้านใกล้เคียงที่บ้านเชิงเขาจะบวชลูกชาย ชาวมุสลิมหลายคนไปร่วมในพิธีและเมื่อชาวมุสลิมจัดตั้งโรงเรียนตาดีกา ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับเยาวชน เพื่อนชาวพุทธหลายคนก็มาร่วมด้วย

พวกเขายังบอกอีกว่า สื่อไม่เคยเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในพื้นที่  เมื่อพระถูกฆ่าใน อ.บาเจาะ รายงานข่าวที่ออกไปก็ระบุว่าเป็นฝีมือของพวกมุสลิม โดยไม่มีการพิสูจน์ก่อนที่จะเสนอข่าวออกไป ชาวบ้านจึงรู้สึกประหลาดใจกับสิ่งที่พวกสื่อรีบสรุป

Image

ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 4 เม.ย. พระ 2 รูปและเณร 1 รูป ถูกฆ่าโดยไม่รู้ว่าใครคือผู้ร้าย สิ่งที่สื่อและรัฐออกมาบอกและทำให้เรื่องดูใหญ่โตขึ้น การพูดชี้นำว่าเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้ายที่มีความแตกต่างทางศาสนา ชาวบ้านหลายคนโดยเฉพาะชาวพุทธยอมรับกับสิ่งที่สื่อและรัฐบอก ชาวพุทธคนหนึ่งของบ้านเชิงเขา ใน อ.บาเจาะ บอกว่า “คนที่ฆ่าพระต้องเป็นมุสลิม ชาวพุทธจะไม่ทำบาปอันใหญ่หลวงโดยการฆ่าพระแน่ๆ”

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ฉันรอรถโดยสารเพื่อเดินทางจากนราธิวาสไปปัตตานี ผู้โดยสารที่ฉันพบที่นี่ยังสงสัยกับคำอธิบายนี้ บางคนในกลุ่มวิเคราะห์ว่า ในภูมิภาคอื่นๆ พระก็ถูกฆ่าโดยชาวพุทธด้วยกัน พวกเขาแนะนำว่าสื่อควรตรวจสอบว่าพระหรือเณรนั้นมีความขัดแย้งในเรื่องอื่นๆ หรือไม่ “บางทีอาจเป็นเพียงคนบางกลุ่มที่พยายามจะทำให้เกิดความเกลียดชังในกลุ่มศาสนิกที่แตกต่างกันก็ได้”

ที่อีกมุมหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส เจ้าของร้านกาแฟในบ้านมะรือโบออก ใน อ.เจาะไอร้อง ถามว่า “ทำไมสื่อจึงตีตราชาวมุสลิมว่าเป็นคนเลว?” เขาอยากให้สื่อเข้าใจคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  “คุณคิดว่าเราเหมือนคนเลวหรือ?”

แวติเยาะ อาแว เจ้าของโรงเรียนปอเนาะสัมพันธ์วิทยา บอกว่า เธอรู้สึกผิดหวังกับกองทัพนักข่าวที่มาร่วมขบวนกับกองตำรวจและทหารที่มาทำแผนประกอบคดีปล้นอาวุธ

ทำไมไม่มีนักข่าวคนไหนตั้งข้อสงสัยว่าโรงเรียนของเราจะไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซ่อนอาวุธได้อย่างไร กองกำลังตำรวจและกองทัพนักข่าวเข้ามาในโรงเรียนของเราโดยไม่ต้องขออนุญาต พวกเขาเข้ามาอย่างรีบเร่ง ถามหาห้องประชุมเพื่อทำแผนประกอบคดี จริงๆ แล้วโรงเรียนของเราไม่มีห้องประชุมอย่างเป็นทางการ โดยปกติครูจะประชุมกันที่ห้องวิทยาศาสตร์ แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไปใช้ห้องสวดมนต์ของผู้หญิงแทน

แวติเยาะร้องขอให้สาธารณชนเข้าใจโรงเรียนของเธอ “ทำไมโรงเรียนที่มีนักเรียน 1,200 คน อยู่ประจำ ถูกใช้เป็นที่ประชุมในเรื่องการปล้นอาวุธได้ พวกเขาไม่กลัวหรือว่าความลับจะรั่วไหล แค่ในวันที่ทำแผนประกอบ นักเรียนของเรายังแอบได้ยินตำรวจสั่งให้ผู้ต้องสงสัยทำโน้นทำนี่”

มะแซ อุเซ็ง ผู้ต้องสงสัยคนสำคัญเคยเป็นครูที่โรงเรียนแห่งนี้ แต่เขาได้ลาออกไปตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2546 แวติเยาะบอกว่า เธอไม่รู้ว่ามะแซเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโจร แต่เธอเห็นว่ามันไม่ยุติธรรมเลยที่จะเหมารวมว่าครูทุกคนและนักเรียนในโรงเรียนเป็นคนเลว

เธอบอกว่า กองทัพเข้ามาในโรงเรียนของเธอ ค้นหาอาวุธแต่เช้า ในวันที่ 7 ก.พ. พวกเขาค้นหาทุกซอกทุกมุม แต่ไม่พบอะไร  วันถัดมาทหารใช้เฮลิคอปเตอร์โปรยใบปลิว เผยแพร่ใบปลิวที่โรงเรียน ขอร้องให้ส่งคืนอาวุธ แวติเยาะ นำใบปลิวนั้นให้ฉันดู

เธอยังบอกอีกว่า บรรยากาศในโรงเรียนของเธอตอนนี้หดหู่เศร้าหมอง นักเรียนจำนวนหนึ่งที่มาสมัครไว้ก็ไม่มาเรียน “ทำไมเราต้องรับบาปที่เราไม่ได้ก่อด้วย”

 ภาพจาก www.muslimthai.com

อิทธิพลภายนอก

ขณะที่ประเทศภายนอกส่วนมากมักมองว่าภาคใต้ของไทยเป็นฉากหน้าสุดในสงครามก่อการร้าย การก่อการร้ายระหว่างประเทศมีความรุนแรงแน่นอน แต่คำถามอยู่ที่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นสงครามก่อการร้ายอย่างนั้นหรือ

เมื่อไม่นานมานี้ นายกฯ ระบุว่าเป็นการกระทำของพวก “โจรกระจอก” ขณะที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการกระทำของพวกแบ่งแยกดินแดน บ้างก็กล่าวโทษถึงความไม่พอใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่ ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าเป็นการกระทำของพวกโจรกระจอกหรือพวกแบ่งแยกดินแดน แต่พวกเขาก็ไม่รู้เงื่อนงำที่แท้จริงว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหลาย

“ในอดีต ถ้าเราอยู่ในนราธิวาส เราจะรู้เกี่ยวกับพวกแบ่งแยกดินแดนหรือพวกผู้ก่อการร้ายใน อ.ศรีสาคร หรือ   อ.สุคิรินทร์ ซึ่งห่างกันราว 80 กิโลเมตร” ชาวบ้านหลายคนพูด “แต่ในเวลานี้ เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ” พวกเขาคิดว่านั่นเป็นเพราะความซับซ้อนและลักษณะที่ไม่ธรรมดาของอาชญากรรม ซึ่งไม่น่าจะเป็นการกระทำของพวกสร้างปัญหาทั่วไป

ชาวบ้านหลายคนทั้งผู้ที่มีการศึกษาดีและชาวบ้านธรรมดา ให้ข้อคิดเห็นว่า ความสงบเป็นเหมือนหมอกควันที่ถูกสร้างโดยชาติมหาอำนาจ พวกเขาวิเคราะห์กันว่า พวกมหาอำนาจต้องการใช้ประเทศไทยเป็นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการต่อสู้ต่อต้านการก่อการร้ายกับประเทศมุสลิมในภูมิภาคนี้

คำถามเกิดขึ้นว่า ทำไมนายกฯ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยพูดว่าอาวุธไม่มีอยู่ก่อนที่จะมีการปล้น แต่ภายหลังกลับให้การปฏิเสธถึงเรื่องนี้ ชาวบ้านหลายคนคิดว่าการปล้นนี้เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเอง

ฉันจำได้ว่า ครั้งหนึ่งได้เคยสัมภาษณ์อดีตผู้นำขบวนการพูโล (PULO) ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปลายปีที่แล้ว เขาเคยกล่าวว่า อาวุธที่ใช้ในการปฏิบัติการของพูโลมาไกลจากเขมร และมาจากคนในเครื่องแบบ เขาไม่ได้ต้องการจะเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่เขามี ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น เขาถูกเจ้าหน้าที่ของทางการจับตามองด้วยความสงสัย ความลับหลายอย่างจากไปพร้อมกับความตายของเขา

ภาพจาก www.prachathai.com

ณ ตอนนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกอ้างว่ามีความเกี่ยวพันกับขบวนการก่อการร้าย เจมาร์ อิสลามิยะ (JI) มีหลายคนถูกข้อหากบฏ ฆ่าเจ้าหน้าที่ ครอบครองอาวุธสงคราม และอื่นๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไปสู่จุดไหน การหายตัวไปของทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างคุณสมชาย นีละไพจิตร ได้เติมให้บรรยากาศความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีมากยิ่งขึ้น

ที่บ้านโต๊ะเนอร์ ในนราธิวาส คนขายก๋วยเตี๋ยวตรงเข้ามาที่รถของพวกเรา และสอบถามเกี่ยวกับทนายความ “คุณรู้เรื่องทนายสมชายไหม” “รัฐบาลจะหาเขากลับมาให้พวกเราได้ไหม” เธอถาม

ฉันถามเธอว่า ทำไมเธอถึงให้ความสนใจกับคนซึ่งเธอไม่เคยพบมาก่อน เธอตอบว่า “เพราะเขาต่อสู้คดีให้กับโต๊ะครูของเรา ฉันหวังว่าเขาจะกลับมาต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้กับครูของพวกเรา”

เธอเสริมด้วยว่า สมัยนี้ทนายความที่จะต่อสู้เพื่อประชาชนจริงๆ นั้นหาได้ยากเต็มที ยิ่งถ้าพวกเราไม่มีเงินจะจ่ายให้ด้วยแล้วล่ะก็ยิ่งหายากกันไปใหญ่ โต๊ะครูของพวกเราถูกข้อกล่าวหาที่รุนแรงจริงๆ

ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีความหวังว่า กฎอัยการศึกจะสิ้นสุดพร้อมกับที่กฎหมายในระบบจะได้นำมาใช้อีกครั้ง

“อย่าต้อนให้เราต้องจนตรอก เมื่อเรายื่นหนังสือร้องเรียนเรื่องทุกข์ร้อนไปยังหน่วยงานต่างๆ พวกเขาก็ได้แต่เพิกเฉย พวกเราคงไม่ประท้วงแบบ ชาวนาในภาคอื่นๆ เพราะพวกเราพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แล้วอะไรคือสิ่งที่พวกเราควรจะทำล่ะ ในเมื่อเราคือเหยื่อของความรุนแรงที่เราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ชาวบ้านนราธิวาสคนหนึ่งระบายความอัดอั้นในใจ

“ไม่ว่าใครจะอยู่เบื้องหลังความรุนแรง...พวกแบ่งแยกดินแดน พวกก่อการร้าย เจ้าหน้าที่ ประเทศมหาอำนาจ... เราก็ยังคงเป็นเหยื่ออยู่ดี!” ชาวบ้านอีกคนจาก อ.รามัญ จ.ยะลา กล่าวทิ้งท้ายไว้


 _________________________________________

* บทความ “เหยื่อของความบิดเบือน” นี้  นำมาจากบทความซึ่งเคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดย คุณศุภรา จันทร์ชิดฟ้า ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ซึ่งได้ลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วารสาร “ผู้ไถ่” ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณศุภรา ซึ่งอนุญาตให้นำมาลง “ผู้ไถ่” ฉบับนี้ในภาคภาษาไทย ด้วยความมุ่งหวังว่าจะช่วยสร้างความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้รับรู้ถึงความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ในแง่มุมที่สื่อกระแสหลักไม่ได้นำเสนอ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >