หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 166 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คุยกับขุนพลคนอาสา : สมบัติ บุญงามอนงค์ พิมพ์
Wednesday, 28 June 2006


คุยกับขุนพลคนอาสา : สมบัติ  บุญงามอนงค์
หัวหน้าศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (Tsunami Volunteer Center)
กับ งานสานต่อพลังอาสาสมัครในสังคมไทย

กองบรรณาธิการ

Imageหลังเหตุการณ์สึนามิ ปรากฏการณ์คลื่นน้ำใจหลั่งไหลสู่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทย  เนื่องจากความสะเทือนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิดหรือคุ้นเคยมาก่อน ข่าวสารตามสื่อต่างๆ เริ่มมีเรื่องราวของอาสาสมัครที่ลงไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ มีให้เราติดตามเป็นระยะๆ แบบถี่ๆ ในช่วงเดือนแรกหลังเหตุการณ์เกิดขึ้นใหม่ๆ ในแง่มุมของการช่วยเก็บกู้ศพจำนวนมหาศาล ระยะต่อมาเป็นการนำเสนอในเรื่องของอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยสร้างบ้านพักชั่วคราวและบ้านพักถาวรให้กับผู้สูญเสีย โดยเฉพาะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนนี้ นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ลงไปออกค่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยมากเป็นพิเศษ แต่หลังจากนี้ไปข่าวคราวเหล่านี้จะสร่างซาและหายไปจากความทรงจำของเราหรือไม่... ยังไม่รู้

รู้แต่ว่า... ศูนย์อาสาสมัครสึนามิ ที่เขาหลักเนเจอร์รีสอร์ท ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา  เป็นศูนย์ที่มีอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติลงไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิเป็นจำนวนมาก และยังคงเป็นที่รองรับผู้มีน้ำใจดีทั้งหลายที่ปรารถนาจะนำพาตัวเองมาสละแรงกายแรงใจเพื่อผู้ประสบภัย ซึ่ง ณ วันนี้ ก็ยังมีผู้ประสงค์แสดงเจตจำนงค์เข้ามาเป็นอาสาสมัครอย่างไม่สร่างซา  บรรดาแม่ทัพนายกองของเหล่าอาสาสมัครสึนามิรุ่นแรก (ผู้ที่ลงไปช่วยผู้ประสบภัยหลังเหตุการณ์เกิดขึ้นระยะแรก) เห็นว่าถึงเวลาที่จะใช้กระแสขาขึ้นของความสนใจงานอาสาสมัครสึนามิ มาสานต่อให้เกิดพลังอาสาสมัครในสังคมไทย
"ผู้ไถ่"  จึงตามไปคุยกับคุณสมบัติ  บุญงามอนงค์ หัวหน้าศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (Tsunami Volunteer Center) และผู้อำนวยการมูลนิธิกระจกเงา หรือที่รู้จักกันดีในกลุ่มนักกิจกรรมในชื่อ "พี่หนูหริ่ง" ที่ ศูนย์อาสาสมัครสึนามิ ในห้วงเวลาที่พวกเขากำลังเตรียมงาน "รำลึกครบร้อยวันสึนามิ ความหวัง กำลังใจ การฟื้นฟู" ระหว่างวันที่ 2 - 4 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา


ช่วยเล่าที่มาของศูนย์อาสาสมัครสึนามิหน่อยค่ะ 

ภาพจาก www.tsunamivolunteer.netเริ่มจากเรามีทีมอาสาสมัครลงมา 23 คน วันที่ 30 ธันวาคม 2547 ได้ข่าวว่าที่นี่ต้องการคนเข้ามาช่วยเรื่องฐานข้อมูลผู้เสียชีวิต เนื่องจากที่ จ.พังงา มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ญาติผู้สูญหายยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลตรงนี้ได้ ลงมาประมาณ 2 วัน ก็พบว่าทีมที่ลงมาไม่พอทั้งกำลังและอุปกรณ์ จึงโทรศัพท์กลับไปหาทุกคนที่เรามีการติดต่อกันอยู่ บอกเขาว่าเราต้องการความช่วยเหลือให้ส่งคนส่งคอมพิวเตอร์ลงมาเพิ่ม ลงมาสนับสนุนกันเพราะคนไม่พอ ทำงานไม่ทัน หลังจากนั้นก็มีอาสาสมัครตามลงมาสมทบ เราก็ประสานทางโทรศัพท์และออกตามสื่อต่างๆ ว่าต้องการอาสาสมัครเข้ามาช่วยทำงาน หลังจากนั้นก็มีโทรศัพท์เข้ามาเต็มสาย น่าจะเป็นพันๆ สาย จนต้องตั้ง call center ขึ้นมารับมือ มีคน 3 คน สำหรับรับโทรศัพท์อย่างเดียว ให้ข้อมูลไปแล้วให้เขาลงมาเลย ไม่ต้องถามอะไรมาก มีอาสาสมัครลงมาหลายร้อยคน จากนั้นพอได้จังหวะ ผมก็ออกจากงานที่วัด ก็ได้มีโอกาสออกไปดูสภาพปัญหาข้างนอกพบว่าปัญหาของผู้ประสบภัยใหญ่มากกว่าที่เราคิดไว้หลายเท่า จึงคิดว่าโครงการนี้คงไม่ได้อยู่แค่ 5 วัน 7 วันอย่างที่คิดไว้ตอนแรก เพราะเรื่องสึนามิไม่ใช่แค่เรื่องของคนตาย มันเป็นเรื่องใหญ่ของคนเป็น คนตายก็ตายไปนะ ก็สูญเสียน่ะ หาศพ หาข้อมูลก็เรื่องหนึ่ง ตรงนี้ก็ทำให้เราสะเทือนใจนะที่มีคนตายเยอะๆ  ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง แต่ถามว่างานที่เราต้องทำจริงๆ เป็นเรื่องของคนเป็น ไม่ใช่คนตาย คนตายเป็นแรงบันดาลใจ คนเป็นเป็นภาระหน้าที่ที่เราจะต้องทำ เช่น เราเจอปัญหาเรื่องโรคเอดส์ ถ้าคนในบ้านสูญเสียพ่อหรือแม่ เด็กก็จะไปอยู่กับญาติพี่น้อง แต่ที่นี่ตายเป็นเครือญาติ ตายกันทีร้อยกว่าคน จะมีใครที่มีโอกาสสูญเสียคนพร้อมๆ กัน หายไปทั้งยวง ภาพแบบนี้มันไม่ใช่แค่คนตาย บ้านช่องก็ไม่มีอยู่ วิถีการงานอนาคตมันมืด หายไปทันทีเลย มันรุนแรงมาก และการฟื้นฟูเยียวยาก็ยากเพราะพื้นที่กว้าง ถึงแม้ความช่วยเหลือจะเยอะแต่เป็นความช่วยเหลือที่กระจายทำให้เดินช้า การจะเข้าไปรับมือแบบนี้ได้ต้องการทั้งกำลังและความสามารถ ก็เลยอยากจะมีส่วนร่วมกับการจัดการปัญหานี้ โดยวิธีคิดที่คิดออกตอนนั้นก็คือเนื่องจากเราไม่มีงบประมาณ ไม่มีอะไร สิ่งที่เราคิดก็คือการส่งมนุษย์นี่แหละเข้าไปช่วย ก็ลงตัวกับการเป็นศูนย์อาสาสมัคร เราจึงตั้งเป็นศูนย์อาสาสมัครสึนามิ พอจับหลักได้ว่าสิ่งที่เราทำไม่ใช่เรื่องกิจกรรม แต่เป็นการบริหารจัดการอาสาสมัครและระดมอาสาสมัครไปสนับสนุนการฟื้นฟูชุมชน ก็เริ่มมีเว็บไซท์ พอมันต่อเนื่องปุ๊บ เราใช้เวลาช่วงแรกปรับโครงสร้างกลไกองค์กร พัฒนาระบบกลไกภายในให้สามารถรองรับงานอาสาสมัครที่หลากหลาย เราจึงทำกลไกบริหารจัดการที่สนับสนุนและรับมืออาสาสมัคร และส่งอาสาสมัครลงไปสนับสนุนชาวบ้านอีกที นี่คือที่มาที่ไป


อาสาสมัครจำนวนมากๆ เข้ามาทำให้มีปัญหาอะไรบ้าง

ทำให้เราต้องรับมือกับคนใหม่ตลอดเวลา องค์กรนี้จะต้องรับมือกับคนใหม่ ดังนั้นก็ต้องหางานให้เขาทำ จับคู่คน จึงวุ่นวายนิดหน่อย เช่น การทำงานเขาลงตัวแล้ว เอาคนเข้าไปก็จะเกิน การทำงานซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คนจึงอาจไม่ได้ตรงกับงานนัก ประการที่หนึ่งอาจจะไม่มีทักษะ ประการที่สองคนอาจจะเป็นปัญหาเพราะทักษะเยอะเกินไป และคาดหวังว่าจะได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างสูงสุด ซึ่งเป็นปัญหานะ เพราะไม่เช่นนั้นองค์กรนี้จะกลายเป็นองค์กรตอบสนองอาสาสมัคร ปัญหายากคือ ต้องดูให้ดีว่างานอาสาสมัครสนับสนุนงานภายในหรือว่างานภายในเป็นงานของอาสาสมัคร นี่จึงเป็นวิธีคิดที่ต้องตบตีกัน ถ้าเอาอาสาสมัครเป็นตัวตั้งนะ เจ๊งเลย มันจะยุ่งยากมากเพราะทุกคนก็จะประกาศตัวว่า ตัวเองมีทักษะ เป็นผู้บริหารระดับสูง เคยผ่านงานมา ประสบการณ์ระดับนี้ทำไมให้เขามาทำงานแบบนี้ล่ะ ซึ่งมันเป็นไปได้ยากเพราะว่าเราไม่ได้มีหน้าที่รับใช้อาสาสมัคร แต่แน่นอนเขาก็อยากจะให้ใช้ทรัพยากรของเขาให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด แต่ประสบการณ์ของเราที่พบในพื้นที่นี้คือ  ความร่วมมือและความสามารถในการยืดหยุ่นเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพราะฉะนั้น 1.ต้องจับมือกันให้แน่น เพราะแต่ละคนไม่พอสำหรับการทำงานช่วยเหลือ   2.ต้องยืดหยุ่น ถ้าคุณเคยทำได้น้อย แต่งานอาสาสมัครมันหนัก คุณต้องทำให้หนักกว่านั้นได้ หรือถ้าคุณมีประสิทธิภาพสูงคุณต้องยอมที่จะลด ยกตัวอย่าง มีคณะแพทย์มาจากอเมริกาเขาตั้งใจมาช่วยงานด้านศพในวัด ปรากฏว่าไปถึงหมอพรทิพย์บอกว่าเต็มหมดแล้ว หมอเต็มหมดเลย ไม่มีงานให้ทำ พวกคณะแพทย์ก็ไปที่ศูนย์บางม่วง ไปแบกไม้ สร้างบ้านพักชั่วคราว มันจบลงง่ายๆ อย่างนั้นเลย และงดงาม ไม่มีอะไรดีกว่านี้ 


มีการจัดแบ่งงานให้อาสาสมัครอย่างไร

เราจะให้เขากรอกใบสมัคร อันดับแรกเพื่อมากรองและจัดสรร ใครไม่อยู่ในเงื่อนไขก็ต้องยอมรับ เช่น มาช่วงสั้นมากๆ ร่วมไม่ได้ หรือมีเงื่อนไขเยอะถ้าเขารับไม่ได้ก็จบ  ถ้าเขาโอเค ก็จะมีการเขียนใบสมัครสิ่งที่ตัวเองทำได้ บางคนถ้าติดต่อทางอีเมล์เขาจะส่งซีดีงานมาให้อ่าน อาสาสมัครที่ดูแลเรื่องนี้ได้อ่านใบสมัคร เขาได้คิดไว้ในใจว่าจะให้มาอยู่โครงการไหน พอมาเจอตัวก็จะมีการปฐมนิเทศ พูดถึงสำนึกอาสาสมัคร วิธีการทำงาน การใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ จากนั้นก็แนะนำโครงการต่างๆ และเลือกเข้าโครงการ นี่ที่ผ่านมานะ แต่อนาคตอาจเปลี่ยนให้คนที่มีบทบาทมากอาจเป็นผู้จัดการโครงการ (project manager) ที่จะลงมาเลือกทีมเอง ซึ่งจะเป็นการกำหนดเชิงรุกมากขึ้น


เหตุการณ์ผ่านไประยะหนึ่งแล้ว ความต้องการอาสาสมัครเป็นอย่างไรในช่วงนี้และหลังจากนี้

Imageเยอะแยะ ใน 3 เดือนนี้ก็ยังมีงานก่อสร้างอีกเยอะ เช่น ที่บางสักประเมินว่า 8 เดือนเสร็จ ถ้ามีกำลังซัก 2 - 3 เท่า ผมว่าเป็นเรื่องดีนะ แต่ยังไม่มีคนลงมา การสร้างบ้านพักถาวร อย่างบ้านทับตะวัน 1 ก็เริ่มขึ้นมา บ้านทับตะวัน 3 ก็ยังไม่เสร็จเพิ่งจะเริ่ม ต้องการคน ที่คอเขาก็ยังต้องการคน ถ้าเป็นแรงงานนะ มหาศาลเลย ส่วนในด้านของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็ยังต้องการ  ผมยกตัวอย่างเช่น งานส่งเสริมอาชีพ ทำอย่างไรจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น จากผ้ามาเป็นเสื้อ กางเกง ให้สามารถนำมาประยุกต์ได้ พวกของที่ระลึก ต้องการคนมาสอน ทำเรื่องมาร์เก็ตติ้ง  การทำหลักสูตรเรื่องสึนามิ กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก เยอะแยะเลย ลำพังโครงการตัวเองก็ไม่พอแล้ว อันดับแรก และสอง มีเพื่อนๆ หรือหน่วยงาน องค์กรชุมชน เขาติดต่อเข้ามาเอง หรือไม่ก็บุกเข้าไปเอง มันเกินประสิทธิภาพที่เราสามารถตอบสนองได้แล้ว กำลังไม่พอ


เคยคิดไหมว่าอาสาสมัครจะเข้ามามากอย่างนี้

วันที่รับโทรศัพท์เป็นพันน่ะ รู้เลยว่าจำนวนมหาศาล เป็นคนไทยนะ แต่คนไทยมีเงื่อนไข พอตลาดวายแล้วนี่ ต้องกลับไปทำงานทำการ แต่ไม่คิดว่าอาสาสมัครฝรั่งจะเยอะ เพราะไม่คุ้นกับการทำงานกับอาสาสมัครต่างประเทศเยอะๆ คิดว่าเป็นช่วงหนึ่งแล้วจะหมด... ไม่หมด รับรองเลยว่าเป็นปี งานนี้เป็นปี ไม่ลงเลยนะฮะ ทุกวันนี้อีเมล์มาสมัครเต็มไปหมดเลย เยอะไปหมด มาเป็นกรุ๊ปก็มี


อุปสรรคของการเป็นอาสาสมัครคนไทยนอกจากเรื่องเวลาแล้วยังมีอะไรอีก

ค่าครองชีพเป็นเรื่องสำคัญ ฝรั่งมาอยู่ที่นี่ได้ มีหลายปัจจัย 1. เป็นเรื่องสะเทือนใจ  2. ฝรั่งเขามาได้ช่วงยาวๆ มาเที่ยวได้ 3 เดือน ออกทัวร์เป็นปี มีหลายคนที่ใช้ชีวิตออกมาอยู่ข้างนอกปีหนึ่งออกเดินทาง และทางประเทศเขาหนาว ค่าครองชีพเขาที่นี่ถูกกว่าเยอะมาก การที่เขาอยู่ที่นี่ถูกกว่าอยู่ที่บ้านอีก ก็มีปัจจัยในเชิงบวกสนับสนุนทุกประการ แต่บ้านเรานี่ คนทำงาน ค่าครองชีพที่นี่ก็แพงกว่าอยู่ที่บ้าน ต้องเช่าที่พัก ค่าอาหาร... จึงไม่ง่าย บ้านเรายังไม่มีรูปแบบอาสาสมัคร อาสาสมัครของเรายังเป็นแบบระยะสั้นๆ อาสาสมัครระยะยาวยังไม่มี


ปัญหาตอนนี้เท่าที่ได้คุยกับคนที่นี่ อย่างร้านอาหารเขาก็อยู่ได้เพราะอาสาสมัครต่างชาติเข้าไปอุดหนุน ร้านค้าหรือที่พักก็เช่นกัน แล้วคนไทยเราเองจะช่วยคนที่นี่ได้อย่างไรบ้าง

(หยุดคิดครู่หนึ่ง) อันนี้เป็นมิติทางเศรษฐกิจนะ เป็นความจริงที่ระบบเศรษฐกิจมันช๊อก มันฝืดเคือง ตัวเม็ดเงินมันไหลน้อยมากทำให้เกิดผลกระทบจำนวนมาก การฟื้นเศรษฐกิจกลับไปที่เดิมคงทำได้ยากเพราะใช้เวลามาก เพราะตัวกระตุ้นเศรษฐกิจหลักในอดีตคือการท่องเที่ยวอย่างสุดๆ มันสุดเลยฮะ แล้วไม่ใช่ค่อยๆ ขึ้นนะ ที่นี่มันขึ้นทีเดียว มาเหมือนคลื่นเลย ขึ้นทีเดียวปุ๊บ โอ้โห! ความต้องการแบบมหาศาล พอลงปุ๊บ มันลงหมดเลย ก็เลยเกิดภาวะช็อก สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือเยียวยามันโดยการให้มีเลือดวิ่ง ระบบเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินวิ่งอยู่บ้าง ถ้าคนไทยกลับมาเที่ยวก็ช่วยได้แบบหนึ่ง  กลับมาใช้จ่าย และการเป็นอาสาสมัคร คนไทยสามารถช่วยได้เยอะเลย ลงมาผ่านกระบวนการเรียนรู้ และรับโจทย์ไปนะ มันส่งเสริม อาจจะไม่ได้ลงมาเป็นพระเอก แต่เป็นกองหลัง กองเสริม งานแบบนี้มีเยอะ


เวลาที่เหมาะสมสำหรับคนที่อยากเป็นอาสาสมัคร

ใจจริงผม ถ้าเลือกได้ อยากให้ได้สักเดือนหนึ่ง แต่เป็นไปได้ยาก อาทิตย์หนึ่งอย่างต่ำ อย่าให้ต่ำกว่านี้ เพราะวันแรกมากว่าจะคุยกันรู้เรื่อง ยุ่งมาก ถ้าไม่เรื่องมาก ไม่เลือกงาน มีงานให้ช่วยอยู่แล้ว


พลังอาสาสมัครทำอย่างไรจะให้สานต่อได้

ผมคิดว่าต้องสร้างวิถีของการตอบสนองต่อปัญหา งานอาสาสมัครเป็นปฏิกิริยาของคนที่จะตอบสนองต่อปัญหา มันต้องเริ่มต้นตั้งแต่การมองเห็นปัญหา การมองเห็นปัญหาเกิดจากการรับรู้ใช่ไหม ข่าวสารที่ออกมาต้องทำให้คนได้รับรู้ และเมื่อรับรู้เสร็จว่านี่คือปัญหาและมีวิธีคิดเกี่ยวกับปัญหา แล้วดูว่าจุดที่ตัวเองจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับปัญหานั้นๆ แต่ช่วงหลังนี่ปัญหาเป็นของคนอื่นทำ เราก็จะยืนดูคนอื่นทำ เราอย่าคิดว่าเป็นปัญหาของคนอื่น เป็นปัญหาของรัฐ เป็นปัญหาของคนนู้นคนนี้ แล้วเราก็จะเอาตัวเองผูกเข้าไปไม่ได้ นี่คือสังคมแบบที่เรียกว่า เกาะรั้ว เกาะรั้วดูปัญหาคนอื่น เป็นสังคมเกาะรั้วเพราะว่าเรามีรั้วและเราก็สร้างระยะห่างต่อปัญหา แต่ทีนี้ถ้าจะเอาตัวเองไปผูกกับทุกปัญหาก็อาจจะไม่ไหว เพียงแต่ว่าถ้าทุกคนเห็นว่ามีอะไรที่จะเอาตัวเองเข้าไปก่อนและพอจะทำได้ก็เป็นเรื่องที่ดี และไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องสึนามิหรอก ปัญหาสังคมไทยไม่ได้มีแค่เรื่องสึนามิ วิกฤตก็ไม่ใช่มีแค่สึนามิด้วย แต่มันเกิดทั่วไปหมด ทีนี้จะเอาตัวเองเข้าไปเสียบเข้าไปเสริมได้อย่างไรนี่ ตรงนี้ 1. วิธีคิดของคนก็สำคัญ 2. องค์กรที่จะรับอาสาสมัคร ผมคิดว่าเป็นปัญหายากมาก อย่างผมนี่อยากจะลงมาช่วงวันแรกๆ เลย แต่ไม่รู้ลงมาทำอะไร กับใคร เกิดมาไม่เคยมาพังงาเลยนะครับ ทีนี้ประเด็นก็คือว่า หากมีองค์กรรับรอง รองรับและมีกระบวนการจ่ายงานให้ หรือมีตัวเชื่อมมาให้...มันเกิด ดังนั้นหากเราอยากส่งเสริมให้งานอาสาสมัครเปิดอย่างกว้างขวาง เราต้องส่งเสริมให้เกิดองค์กรสนับสนุนงานอาสาสมัครเกิดขึ้น เวลาคุณโทรมาติดต่อคุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง รู้ว่าจะต้องติดต่ออย่างไร ลงมาเมื่อไร เดินทางอย่างไร พักที่ไหน  อยู่อย่างไร ลงมาทำภารกิจอะไร มีคนเป็นพี่เลี้ยงให้คุณไหม เวลามีปัญหามีคนเข้าไปช่วยไหม ระบบแบบนี้จะช่วย ถ้าสามารถผนวกภารกิจนี้หรือกลไกนี้รวมในทุกองค์กรได้ โอ้โห! มหาศาล

ภาพจาก www.tsunamivolunteer.netเพราะฉะนั้นคือ สร้างให้วิธีคิดหรือบรรยากาศอาสาสมัครยังดำรงอยู่ เผยแพร่เรื่องราวของคนเหล่านี้ออกไป ภารกิจของคนเล็กๆ คนตัวใหญ่ๆ ก็ชัดเจนนะ แต่เรื่องราวของคนตัวเล็กๆ ก็ดีเพราะมันทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นได้อย่างนั้น คนธรรมดาก็ทำเรื่องพิเศษได้ ทำเรื่องงดงามได้ เอาเรื่องเล็กๆ นี่ออกมา และให้เขามีที่ติดต่อ โครงการนี้อย่าล่ม ผมยกตัวอย่างเช่น จุดที่เป็นบทเรียนของเราซึ่งเราถอดบทเรียนมาคือ โครงการครูบ้านนอกที่เชียงรายซึ่งทำกิจกรรมกับชาวเขา ทุกเดือนจะมีคนติดต่อเราเยอะมาก และบอกว่า "ขอโทษทีอาทิตย์นี้ไม่ว่าง ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ อยากช่วยพี่มากเลย เดี๋ยวปิดเทอมมา" พอปิดเทอมก็ติดซัมเมอร์ "เดี๋ยวถ้าเรียนจบจะมา" ผลัดกันมาเป็นปี 3 ปีแล้ว "ฉันยังไม่เลิกทำ ฉันยังอยู่ แกจะมาไหม" (ทำเสียงเแบบพี่ชายบอกน้องอย่างเอือมระอา) ผลัดกันมาด้วยเรื่องราวแบบนี้เยอะแยะไปหมดเลย  ผัดแล้วผัดอีก มากันไม่ได้ "ฉันยังไม่ตาย ฉันยังอยู่ แกจะมาก็มา" (แกล้งทำเสียงเหมือนรำคาญแล้วหัวเราะ) ... ยังคงให้มีความต่อเนื่อง ทันทีที่คุณเดินไปซื้อของที่เซเว่นฯ  แล้วยังมีของอยู่ ขอให้งานอาสาสมัครเป็นแบบนี้ มาเถอะ คือเข้าใจว่าคนจะมีเงื่อนไขอยู่บ้าง แต่ขอให้เรามีความต่อเนื่อง และคนที่เขายังไม่เคยเป็นอาสาสมัครเขาจะพิจารณาอีกนาน "ไกลก็ไกล จะคุ้มไหม พ่อแม่จะด่าไหม ผู้หญิงคนเดียวจะทำอย่างไร" อารมณ์นี้ ถ้ายังไม่คุ้นนะ แต่ถ้าคุ้นแล้วจะลงมาง่ายๆ เลย ถ้าเป็นคนที่ไม่เคยจึงเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับและเข้าใจ..  "ว่าไหม?" (หันมาถามคนสัมภาษณ์)


ศูนย์อาสาสมัครสึนามิจะเป็นหลักได้ไหม

จะเป็นหนึ่งครับ เพราะเราก็ยังมีข้อจำกัดในการรับเชิงปริมาณ แต่ศูนย์ฯ สามารถพิสูจน์ให้คนเชื่อว่า งานอาสาสมัครมีอาสาสมัครอยู่จริง มีคนตั้งใจจริงๆ และมีการบริหารจัดการได้


คิดว่าหัวใจอาสาเกิดจากอะไร

ผมมีความเชื่อเรื่องการทำดี ความดีเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวคน เมื่อก่อนคิดว่าเป็นเรื่องการบ่มเพาะนะ แต่ผมคิดว่าคงไม่จริง ยกตัวอย่างล่าสุด ผมคุยกับคนๆ หนึ่ง เขาสารภาพว่า เขาเป็นคนที่ไม่เอาใครเลย ไม่เคยคิดเรื่องความเป็นส่วนรวมเลย วินาทีที่คลื่นมา หนีกันระส่ำเลย หนีบ้าเลย แล้วก็รอด พอรอดมาได้ หันหลังกลับไปดู โห! คนเจ็บ คนตาย พินาศหมดเลย ไม่รู้ทำอย่างไร วิ่งกลับไปช่วยเขา วินาทีนั้นก็มีข่าวลือว่ามีคลื่นมาอีกลูกหนึ่ง ความรู้สึกของคนๆ นั้นก็คือว่า คลื่นมาก็ไม่สามารถหยุดเขาได้ คือเขาต้องช่วยคน สมมุติฐานพี่เลยเป็นแบบนี้นะ คือ ความดีมีอยู่ในตัวคน ทั้งความดีและความเลวเป็นสัญชาตญาณอยู่ในตัวคน ถ้าคุณเปิดให้มันใช้บ่อยๆ ถ้าคุณหมั่นฝึกความเลวบ่อยๆ คุณจะเป็นคนเลว แต่ถ้าเราฝึกใช้ความดีบ่อยๆ มันอยู่ข้างใน ประตูหรือกลไกที่จะสื่อ มันจะคุ้น บางคนเขินที่จะทำความดีเพราะไม่ค่อยได้ใช้ มันมีอยู่แต่ไม่ได้ใช้ หากเราสังเกต มีเพื่อนเล่าให้ฟังนะว่า (เขาเป็นผู้หญิง) เขาหอบเอกสารเข้าไปในรถไฟฟ้า ยืนอยู่ ก็มีผู้ชายนั่งอยู่ ...3 ป้ายน่ะ ผู้ชายคนนี้ลุกขึ้นแล้วก็เดินไป อารมณ์เหมือนว่าออกพอดี แต่ผู้หญิงคนนี้มองไปเห็นว่าผู้ชายคนนี้ไม่ได้ออก เดินไปตู้นู้น..(ลากเสียงยาวว่าไกลมาก) เลย เขาอายที่จะทำความดี เขาใช้เวลา 3 ป้ายน่ะ กว่าจะพิจารณาว่าควรจะลุกให้ผู้หญิงคนนี้นั่ง เข้าใจไหม เพราะว่าในสังคมนี้... มันอาย ตลกมากที่การทำความดีเป็นเรื่องน่าอาย อารมณ์แบบ "อยากดังหรือ?"...  "แหม ทำเป็นแมน" มีอารมณ์แบบชายหญิงนะ มีแบบ..."ทำเป็นฮีโร่ มีอะไรแอบแฝงหรือเปล่า"... "คุ้มไหม"... "เอ๊ะ โง่หรือเปล่า ถูกเขาหลอกแล้วล่ะ"  คือการทำความดีในอดีต กลายเป็นเรื่องคนโง่ ถูกจูง "ตัวเองรอดหรือยัง"  เนี่ยะ.. การคิดแบบนี้ทำลาย

ความจริงแล้วความดีมีอยู่นะ เปิดโอกาสให้คนได้รู้จักทำความดี เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรมทำความดีเล็กๆ น้อยๆ เริ่มต้นเป็นพื้นฐาน ให้เกิดร่องดี ความคิดคนก็จะเป็นแบบนี้ พฤติกรรมคนก็จะเป็นเช่นนี้ ถ้าคุณเป็นคนเคยสูบบุหรี่ เวลาคุณกินข้าวเสร็จคุณต้องสูบบุหรี่ มันเกิดร่อง เกิดพฤติกรรมซ้ำ การทำความดีก็เช่นกัน ถ้าคุณทำบ่อยๆ ก็จะคุ้น เวลาเจอเหตุการณ์คุณจะทำดีได้โดยไม่เคอะเขิน ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก ทำได้เลย แต่ต้องฝึกให้คนทำความดี คนอยากทำดีเยอะมาก แต่คิดว่าจะทำอะไรนะ ไปแล้วเขาวุ่นวายไหม ก็ต้องทำให้การทำดีง่ายขึ้นเรื่อยๆ โดยหากิจกรรมที่คนจากทุกทิศทุกทางเข้ามาช่วยกันทำ บอกว่าต้องการคนช่วย แล้วเขาก็จะประทับใจกับงาน หลายๆ คนที่ไม่เคย เป็นครั้งแรกที่ทำงานอาสาสมัคร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นการช่วยคนอย่างไร แต่เขารู้สึกดี และเขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำ ทำให้คนอื่นรู้สึกดีและเกิดสิ่งดีขึ้น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมคือกระบวนการเรียนรู้ว่านี่คือการทำความดี 

งานอาสาสมัครประกอบด้วย 1. เสนอตัวก่อน เป็นผู้นำพาตัวเองมา ถึงแม้จะมีเพื่อนชักจูงนะ แต่ถึงที่สุดคุณได้ตัดสินใจเองมาเป็นอาสาด้วยใจที่เปิดกว้างไม่ถูกบังคับ 2. มีการกระทำ คิดอย่างเดียวไม่ได้ อาสาต้องกระทำ การกระทำมีหลายแบบ ทางตรงหรือทางอ้อม  พอกระทำเสร็จแล้ว ผลการกระทำต้องเป็นผลดี ถ้าทำแล้วเกิดผลไม่ดีแสดงว่าต้องไปปรับปรุง (หัวเราะ) ถึงแม้ใจจะได้แล้ว ไม่ดีไม่ได้แปลว่าต้องเลิกนะ แต่ต้องไม่ทำให้เกิดผลเสีย ถ้าเราทำได้อย่างนี้ก็จะเรียกได้ว่าอาสาสมัคร งานของอาสาสมัครต้องงดงาม ยืดหยุ่น ถ่อมตัว สนับสนุนคนอื่น ไม่ต้องเป็นฮีโร่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ข้างหน้า อยู่ข้างหลังก็ได้ เป็นกลไกหนุนเสริมก็ได้


 

Image 

สมบัติ  บุญงามอนงค์
ชื่อเล่น หนูหริ่ง 
นามปากกา บ.ก.ลายจุด

ประสบการณ์

2531             อาสาสมัครโครงการละครเพื่อการพัฒนาเยาวชนกลุ่มละครมะขามป้อม
2532 - 2534   เจ้าหน้าที่กลุ่มสื่อชาวบ้าน กลุ่มละครมะขามป้อม
2534             ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการกลุ่มกระจกเงา
2535             อาจารย์พิเศษวิชาละครใบ้มหาวิทยาลัยศิลปากร
2540             อาจารย์พิเศษวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนรุ่งอรุณ
2543             เว็บมาสเตอร์ http://www.bannok.com/ รับรางวัล อโชก้าเฟลโล
                   http://www.ashoka.org/

2544             รับรางวัลเยาวชนนักพัฒนาดีเด่นจากสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน (สอ.ดย.)
                   ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ชุมชน"บ้านนอกทีวี" และได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นจาก ธนาคารโลก
                   เขียนบทความแนวสังคมวิทยายุคอินเตอร์เน็ตในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน
                   และ TelecomJournal  มีงานตีพิมพ์ประมาณ 100 ชิ้น
2545             อนุกรรมาธิการเด็กไร้สัญชาติวุฒิสภา  อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาหามาตรการในการ
                   แก้ไขปัญหา "ภัยทาง เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อเด็กและเยาวชน วุฒิสภา
2546             ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์
                   http://www.backtohome.org/
                   หัวหน้าโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานสาธารณสุขและสังคม       
                   http://www.thaiict.org/

2547-ปัจจุบัน     ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา
                   ก่อตั้งและพัฒนา"ศูนย์ประสานงานอาสาสมัคร"   
 
                  http://www.tsunamivolunteer.net/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >