หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow การมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี - หลักสิทธิมนุษยชน (ตอนที่ 4) โดย กล้วยกัทลี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 66 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

การมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี - หลักสิทธิมนุษยชน (ตอนที่ 4) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 15 February 2017


{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  และ ตอนที่ 3 ก่อน}

ตอนที่ 4

การมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี - หลักสิทธิมนุษยชน

Image
หากจะให้สรุปคร่าวๆ ว่าสิทธิมนุษยชนมีที่มาอย่างไร ก็อาจกล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นของแต่ละบุคคลมาแล้วตั้งแต่เกิด ใครจะล่วงละเมิดมิได้ แต่เมื่อสงครามได้ละเมิดและทำลายสิทธินี้ลง ทางออกอย่างหนึ่งจึงได้เกิดขึ้น นั่นก็คือ การจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (UN) ขึ้นมา เพื่อช่วยระดมความร่วมมือจากนานาชาติ ให้มุ่งมั่นที่จะรักษาชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์ หลีกเลี่ยงสงคราม ดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและสร้างความร่วมมือที่จะให้เกิดความสงบและเจริญรุ่งเรื่องขึ้นในโลก


ในยุคการก่อตั้ง UN นั้นโลกยังแบ่งออกเป็นสองขั้ว คือแนวคิดประชาธิปไตยและแนวคิดสังคมนิยม  ดังนั้นแม้ว่าสันติภาพและสิทธิมนุษยชนจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ขั้วทั้งสองนี้ก็ให้ความสำคัญในประเด็นที่แตกต่างกัน

ขั้วหนึ่งให้ความสำคัญกับเสรีภาพของพลเมือง จึงเน้นหนักในเรื่องของเสรีภาพทุกแขนงที่บุคคลพึงได้รับ และเป็นที่มาของสิทธิในด้านการเมืองและพลเมือง (Civil and Political Rights)

ส่วนอีกขั้วหนึ่งเน้นหนักในเรื่องของความเสมอภาคของคนทุกคน ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของสังคม (Economic, Social and Cultural Rights)

อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญทั้งสองนี้ก็ได้รับการบรรจุอยู่ในเนื้อหาของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1948  แม้ว่าปฏิญญานี้จะมิได้มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็มีน้ำหนักทางจริยธรรม ทั้งนี้เนื่องจากปฏิญญานี้เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก จึงกลายเป็นมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน

หลักการของสิทธิมนุษยชนที่ระบุในปฏิญญาซึ่งคัดมาจากหนังสือ “สิทธิมนุษยชน – รวบรวมสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่สำคัญ” โดย คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน (กปส.) มีดังนี้

หลักการของสิทธิมนุษยชน คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นพี่น้อง และการไม่เลือกปฏิบัติ

  • สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงในชีวิต
    ห้ามการเป็นทาสและห้ามค้าทาส ห้ามทรมานหรือลงโทษอย่างโหดร้ายหรือหยามเกียรติมนุษย์ คนทุกคนถือเป็นบุคคลตามกฎหมายทุกแห่งหน คนทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติเสมอภาคกันตามกฎหมาย
  • สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากศาล
    ห้ามการจับกุม คุมขังหรือเนรเทศโดยพลการ
  • สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมจากศาลที่เป็นอิสระ
  • สิทธิในการได้รับการสันนิฐานว่าบริสุทธิ์
  • สิทธิในความเป็นส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ครอบครัว เคหสถานและการติดต่อสื่อสาร
  • เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่
  • สิทธิในการลี้ภัย
  • สิทธิในการได้รับสัญชาติและเปลี่ยนสัญชาติ
  • สิทธิในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว
  • สิทธิในทรัพย์สิน
  • เสรีภาพในความคิด มโนธรรม ความเชื่อ หรือการถือศาสนา
  • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก และการได้รับข้อมูลข่าวสาร
  • สิทธิในการชุมนุมและการรวมกลุ่ม
  • สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเข้าถึงบริการสาธารณะ
  • สิทธิในความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  • สิทธิด้านแรงงาน
  • สิทธิในการพักผ่อน
  • สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ ได้รับบริการทางสังคม และหลักประกันการว่างงาน
  • สิทธิของมารดาและบุตรในการได้รับความคุ้มครองทางสังคม
  • สิทธิในการศึกษา
  • สิทธิในทางวัฒนธรรม ศิลปะ และวิทยาศาสตร์

ระเบียบสังคมทั้งในและระหว่างประเทศต้องไม่ขัดต่อปฏิญญา

บุคคลมีหน้าที่ต่อชุมชน การใช้สิทธิเสรีภาพต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และไม่ขัดต่อหลักการของสหประชาชาติ
ห้ามรัฐ กลุ่มชน หรือบุคคล ละเมิดสิทธิเสรีภาพตามปฏิญญานี้

อย่างไรก็ดี ปฏิญญาก็เป็นเพียงกรอบกว้างๆ เท่านั้น การนำไปปฏิบัติอาจขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละประเทศ เมื่อเป็นดังนี้ UN จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานไปร่างกติกา (Covenant) และอนุสัญญา (Convention) ฉบับต่างๆ ขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในสิทธิต่างๆ และเพื่อให้เกิดการผูกพันและบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย

 

จะขอกล่าวถึงกติกาและอนุสัญญาที่สำคัญๆ ซึ่งรวมเรียกว่า “สนธิสัญญา” อย่างคร่าวๆ ในบทต่อไป

..........................................................................

ความคิดเห็น
หลักการของสิทธิมนุษยชน
เขียนโดย เอินร์ เปิด 2012-02-11 12:34:21
เนื้อหาดี ครบถ้วนมากเลยคะ :roll :) :roll :grin :grin :grin :grin :grin
เขียนโดย เปิด 2011-11-11 22:42:18
:zzz 8)  
เนื้อหาดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
หลักสิทธฺิมนุษยชน
เขียนโดย tan เปิด 2011-09-12 09:50:31
ขอบคุณมากค่ะสำหรับเนื้อหาแน่นดีค่ะ แต่อยากให้มีดังนี้ค่ะ 1. ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน 2.แนวคิดและหลักการสิทธิมนุษยชน 3. พัฒนาการสิทธิมนุษยชนและหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 4.ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคม 5.บทบาทขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่มีต่อสังคมโลก 6.องค์กรสิทธฺิมนุษยชนที่มีความสำคัญในประเทศไทย ถ้าไม่รบกวนช่วยเพิ่มลงไปอีกได้ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ :) ;) :p :roll :? :grin
เขียนโดย กระต่าย เปิด 2010-09-05 12:00:49
เนื้อหาแน่นนะ :grin :) :roll
เขียนโดย เปิด 2010-07-06 09:35:14
ดีมากครั :grin null
เขียนโดย เปิด 2009-09-12 11:08:12
:?  
หลักสิทธิมนุษยชนคือ 

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >