หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 39 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

จากพันธมิตรยามสงคราม...มาเป็นองค์การระหว่างประเทศ (ตอนที่ 3) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 08 February 2017


{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่อน} 

ตอนที่ 3

จากพันธมิตรยามสงคราม...มาเป็นองค์การระหว่างประเทศ

Imageในตอนที่แล้ว เราได้เห็นว่าภายหลังความย่อยยับในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ.1914 -1918) นานาชาติได้ร่วมใจกันก่อตั้ง สันนิบาตชาติ (ค.ศ.1919) เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและการพัฒนาแก่ประชากรของโลก  แต่ความพยายามนี้ยังไม่หนักแน่นพอ ผลของมันจึงกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่สอง (1939 - 1945) เราได้เห็นความเกลียดชังกันของมนุษย์ และความไม่สามารถที่จะยอมรับและอยู่ร่วมกันกับคนอื่นๆ ที่มีความแตกต่างได้ จึงเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีขึ้น

อย่างไรก็ดี ความดีก็ยังคงดำรงอยู่ในจิตใจของมนุษย์ส่วนใหญ่ และความพยายามครั้งที่สองที่จะรวมตัวกันก็เริ่มต้นขึ้น

แรกเริ่มทีเดียวก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะยุติลง ชาติใหญ่สี่ชาติซึ่งเป็นพันธมิตรในสงครามนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพโซเวียต และจีน ได้เชิญประเทศต่างๆ เข้าประชุมร่วมกันที่ซานฟรานซิสโก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1945 ( พ.ศ.2488)  เพื่อวางแผนงานสร้างและรักษาไว้ซึ่งสันติภาพภายหลังสงคราม เป้าหมายหลักของงานนี้คือ การตั้งองค์การขึ้นมาดูแลรักษาความมั่นคงและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของโลก แต่ดูเหมือนว่าร่างกฎบัตรเพื่อก่อตั้งองค์การดังกล่าวได้พูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

...อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านอาจกำลังสงสัยว่า ทำไมสิทธิมนุษยชนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรบรรจุไว้ในกฎบัตร ทำไมองค์การที่จะก่อตั้งขึ้นจึงต้องกำกับดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย เพียงแค่ป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม คือดูแลรักษาความมั่นคงและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง นั่นก็คือการรักษาสันติภาพให้คงอยู่มิใช่หรือ???

เพื่อตอบคำถามนี้ เราคงต้องย้อนถามตัวเองว่า สันติภาพในความหมายข้างต้น หมายความว่าอย่างไร? การให้คำตอบไว้ ณ ที่นี้ อาจทำให้เราไม่สามารถคิดทบทวนและตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชนได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี มีประโยคสำคัญที่กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมนำมาซึ่งสันติภาพ”  เราคงจะสามารถเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น หากเราเชื่อมโยงเรื่องความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนเข้าด้วยกัน  ขอดำเนินเรื่องการก่อตั้งต่อไป...

เมื่อเป็นดังนี้ บรรดาชาติเล็กๆ เฉพาะอย่างยิ่งในลาตินอเมริกา ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนกว่าพันองค์กรในอเมริกา ได้มีบทบาทอย่างมากต่อการผลักดันการประชุมในครั้งนั้น เพื่อให้สิทธิมนุษยชนเป็นงานหลักขององค์การที่จะก่อตั้งขึ้นนี้ และในที่สุดกฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Charter) ก็ได้รับการลงนามจากผู้แทน 51 ประเทศ ที่เข้าร่วมประชุมที่ซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488)

กฎบัตร ก็คือแนวคิดและแนวปฏิบัติหลักขององค์การ ได้ทำให้สิทธิมนุษยชนมีสถานะใหม่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิมนุษยชนยังเป็นหนึ่งในสี่วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติอีกด้วย มาตราที่หนึ่งของกฎบัตรประกาศว่า ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติต้องทำงานให้ “บรรลุความร่วมมือในระดับนานาชาติ...เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกในเรื่องเชื้อชาติ เพศสภาพ ภาษา หรือศาสนา”  ส่วนมาตรา 55  ระบุว่า องค์การสหประชาชาติจะส่งเสริม “การเคารพและปฏิบัติอย่างเป็นสากลในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน” และมาตรา 56 ระบุว่าบรรดาสมาชิก “ให้คำปฏิญาณต่อตนเองว่าจะปฏิบัติการร่วมกันหรือโดยลำพัง” เพื่อบรรลุถึงการเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานนั้น

เมื่อมีกฎบัตรแล้ว องค์การภายใต้กฎบัตรนี้ก็ได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง นั่นก็คือ องค์การสหประชาชาติ (United Nations – ซึ่งต่อจากนี้จะเรียกว่า UN)

สิทธิมนุษยชนคงไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ด้วยการร่างแนวคิดและการก่อตั้งองค์การหนึ่งขึ้นมาเท่านั้น เมื่อเป็นดังนี้ การทำงานอย่างหนักเพื่อให้ทุกคนและทุกประเทศเกิดสำนึกที่จะรักษา สืบทอด และปฏิบัติสิทธิมนุษยชนจึงเริ่มต้นขึ้น กล่าวคือ เริ่มต้นจากการรับสมาชิกเข้าร่วมใน UN

ในปี ค.ศ.1945 นั้น บรรดา 51 ประเทศที่ลงนามรับรองกฎบัตรก็มีสถานะเป็นสมาชิกไปโดยปริยาย ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 เมื่อปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489) และเมื่อ 60 ปีผ่านไป ในปี ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งสิ้น 191 ประเทศ* (โดยมีนครรัฐวาติกันเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวร และไต้หวันยังอยู่ภายใต้การปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่)

เขียนมาถึงจุดนี้แล้วก็ให้เกิดคำถามขึ้นในใจว่า บรรดาประเทศสมาชิกเหล่านี้เข้าร่วมใน UN เพื่ออะไร? เพื่อไม่ให้ตกขบวนและดูเป็นพวกเดียวกับคนอื่นๆ เท่านั้นหรือเปล่า? จะมีสักกี่ประเทศในบรรดาสมาชิกที่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังจนถึงขั้นที่พร้อมจะส่งเสริม สนับสนุน และรักษามันไว้? แค่การเข้าร่วมเป็นสมาชิกคงไม่ช่วยให้สิทธิมนุษยชนบรรลุผลเป็นแน่แท้

_____________________________________________

*สมาชิกสหประชาชาติลำดับที่ 192 คือ สาธารณรัฐมอนเตเนโกร เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2549/2006
ประเทศสาธารณรัฐมอนเตเนโกรประกาศตัวเป็นอิสระจากเซอร์เบีย-มอนเตเนโกรเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนในปีเดียวกัน
สามารถดูรายชื่อสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ที่
http://www.un.org/Overview/unmember.html

 

บทต่อไปจะเป็นการเริ่มหัวข้อ “การมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี - หลักสิทธิมนุษยชน”

.............................................................................

ตอนต่อไป

การมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี - หลักสิทธิมนุษยชน



ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >