หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 70 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

การทำลายชีวิต...บทเรียนในอดีต... (ตอนที่ 2) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 01 February 2017


{ต้องการกลับไปอ่านบทความ ตอนที่ 1 ก่อน}

ตอนที่ 2

การทำลายชีวิต...บทเรียนในอดีต - เพื่อยุติสงคราม
ความร่วมมือจึงถือกำเนิด

“สิทธิมนุษยชน คือ
คุณธรรมสากลที่เน้นคุณค่าของมนุษย์
และยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี
และมีความเท่าเทียมกันในสิทธิ
ไม่ว่าจะยากดีมีจน จะพิการ หรือมีความแตกต่างกันในเชื้อชาติ
แหล่งกำเนิด เพศ วัย หรือสีผิวก็ตาม
สิทธิมนุษยชนจึงหมายความถึง “สิทธิ” ของความเป็นมนุษย์
ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด”

Imageในบทความที่แล้วจบไว้ด้วยประโยคที่ว่า การเข้าใจและเคารพในสิทธิมนุษยชนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราเริ่มเข้าใจที่จะอยู่ร่วมกัน (เช่น บนความต่างของศาสนา) ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นแนวทางที่ทุกคนและทุกประเทศควรส่งเสริม  การเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นวิธีการหนึ่งที่สะท้อนแนวทางของพระเยซูผู้นำของเรา

ข้อความในวงเล็บ เป็นเพียงตัวอย่างที่สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน แต่ในความเป็นจริง การเคารพสิทธิมนุษยชนช่วยให้เราอยู่ร่วมกันได้ อาศัยความพยายามที่จะไม่นำความต่างในทุกๆ เรื่อง มาเป็นข้ออ้าง ไม่ว่าจะต่างเพราะความเป็นหญิง-ชาย ต่างเพราะเด็ก-ผู้ใหญ่ ต่างเพราะจน-รวย ต่างเพราะมีการศึกษาหรือไม่มี ต่างเพราะเชื้อชาติ วัฒนธรรม ต่างเพราะอยู่ในเมือง -ชนบท ต่างเพราะเป็นลูกจ้าง-นายจ้าง ต่างเพราะความไม่ปกติของร่างกาย ฯลฯ 

ข้อเขียนนี้จึงขอให้ความกระจ่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวแต่ยังไกลใจหลายๆ คน อย่าง “สิทธิมนุษยชน” เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในสังคม จึงขอเริ่มต้นที่ความเป็นมาเสียก่อน

คงจะเป็นไปไม่ได้ หากจะกล่าวถึง “สิทธิมนุษยชน” โดยไม่กล่าวถึงที่มา  หลายคนอาจเข้าใจว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของตะวันตก และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี่เอง คือนับจากการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ. 2488) จะนับอย่างนี้ก็คงไม่ผิดแต่ก็ไม่ถูกเสียทั้งหมด

มีคำอธิบายว่า “เมื่อต้องเผชิญกับความอยุติธรรมและการเบียดเบียน บรรดานักคิดและนักปรัชญาจากหลากหลายประเพณีทางวัฒนธรรมและศาสนาที่เชื่อมั่นในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ได้ต่อสู้เพื่อให้ศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ได้รับการยอมรับ และต่อมานักกฎหมายได้มีบทบาทในการร่างแนวคิดดังกล่าว”

อันที่จริงเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนั้น สามารถสืบค้นย้อนไปได้ถึงกฎของฮัมมูราบี ในสมัยบาบิโลนนั่นที่เดียว (1728-1686 BC – บาบิโลนอยู่ในเมโสโปเตเมีย แหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ หรือ ตะวันออกใกล้ / เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ คือ บริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน) 

บ้างก็เชื่อว่า กฎนี้ถูกนำมาใช้ในบัญญัติสิบประการที่โมเสส (1200 BC) ได้รับมาจากพระผู้เป็นเจ้าด้วย (อย่าฆ่าคน อย่างทำอุลามก อย่าใส่ความนินทา อย่ามักได้ทรัพย์ของเขา)

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศอังกฤษที่เรียกว่า แมกนา คาร์ตา (Magna Carta – ค.ศ. 1215) นับเป็นการบัญญัติหลักประกันสิทธิเสรีภาพทั้งส่วนบุคคลและทางการเมืองเป็นครั้งแรก แนวคิดที่ว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีของมนุษย์ก็แพร่หลายในประเทศตะวันตก

นักปรัชญาและมานุษยวิทยาหลายท่าน รวมทั้งนักบุญโทมัส อะไควนัส (ค.ศ. 1225-1274) ก็นับว่ามีส่วนสำคัญในการอธิบายถึง “กฎธรรมชาติ” ซึ่งปูพื้นฐานไปสู่การยอมรับในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพด้วยเช่นกัน

“กฎธรรมชาติ” ระบุว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับสภาพของ “ความดี” และความดีนี้เองเป็นที่มาของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  การอธิบายตีความสิ่งเหล่านี้ในแง่มุมของปรัชญานั้นเข้าใจได้ยากยิ่ง แต่เมื่อนำแนวคิดที่มีขอบเขตกว้างขวางนี้มาแปลงเป็นข้อกฎหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไป การปกป้องสิทธิของปัจเจกชนภายใต้ระบบสังคมจึงชัดเจนขึ้น เช่น การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของอเมริกา (United States Bill of Rights) หรือปฏิญญาฝรั่งเศสว่าด้วยสิทธิของคน (French Declaration of the Rights of Man) การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเรื่องทาสในศตวรรษที่ 19  ปฏิญญาเจนิวา 1864 (พ.ศ.2407)  ปฏิญญาเฮก 1899 (พ.ศ.2442) เป็นต้นอย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถช่วยให้โลกหลุดพ้นจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้  ดังนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งนั้นยุติลงได้ไม่นาน ประชาชาติจึงร่วมใจกันตั้งสันนิบาตชาติ (League of Nations) ขึ้น มีการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อให้ชาติต่างๆ ร่วมมือกันเพื่อ “ความเป็นอยู่ที่ดีและการพัฒนา” ของประชากร ผลของความพยายามนี้ได้ให้กำเนิดแก่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ International Labour Organisation - ILO ขึ้นในปี 1920 (พ.ศ.2463)

ในช่วงก่อนปี 1940 (พ.ศ.2483) ได้เกิดพัฒนาการต่างๆ ขึ้น ทั้งในด้านแนวความคิด ความเชื่อมั่น กฎหมาย และสถาบันต่างๆ เพื่อค้ำจุนสิทธิมนุษยชน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ความนิยมชมชอบในเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ ความยุติธรรม หรือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ นั้นยังไม่สุกงอม และความตั้งใจที่จะส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ยังไม่หนักแน่นพอ  ดังนั้น ความพยายามของสันนิบาตชาติจึงล้มเหลวและจบลงที่สงครามโลกครั้งที่สอง 

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ชาวโลกต้องตกตะลึงและสะเทือนใจต่อสิ่งที่ได้ค้นพบ นั่นคือ ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน (ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่ยังไม่เป็นวัยรุ่นกว่าล้านคน) ถูกฆ่าตายในค่ายกักกันของนาซี นอกจากการกำจัดชาวยิวให้หมดไปจากยุโรปแล้ว นาซียังได้พยายามสังหารหรือกักขังชาวโปแลนด์ พวกยิปซี ชาวโซเวียตที่ถูกจับกุมในสงคราม ผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศ ผู้พิการทางร่างกายและสมอง ตลอดจนผู้ที่มีความคิดเห็นตรงข้ามในทางการเมืองด้วย 

เหตุการณ์นี้ได้ให้กำเนิดคำว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ขึ้น และนี่เองเป็นสาเหตุหลักที่เปลี่ยนทัศนคติในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน คือ ขยายการปกป้องจากภายในขอบเขตประเทศของตนไปสู่การปกป้องที่มีความเป็นสากลมากขึ้น นับเป็นแนวคิดการปกป้องสิทธิที่ครอบคลุมถึงคนทุกคน และแนวคิดดังกล่าวนี้เองได้รวมรวมบรรดาชาติต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกันอีกครั้งเพื่อต่อต้านระบบฟาสซิสม์ (ชาตินิยมขวาจัด) และสร้างปราการอันมั่นคงในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่มนุษย์ทุกคนในทุกหนแห่ง

 

คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังถึงความพยายามดังกล่าวซึ่งก็คือ จุดเริ่มต้นของสหประชาชาตินั่นเอง

 

ตอนต่อไป

จากพันธมิตรยามสงคราม...มาเป็นองค์การระหว่างประเทศ



ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >