หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 69 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ชีวิตที่มีศักดิ์ศรีเป็นของมนุษย์ทุกคน (ตอนที่ 1) โดย กล้วยกัทลี พิมพ์
Wednesday, 25 January 2017


การเข้าใจและเคารพในสิทธิมนุษยชนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราเริ่มเข้าใจที่จะอยู่ร่วมกัน (เช่น บนความต่างของศาสนา) ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นแนวทางที่ทุกคนและทุกประเทศควรส่งเสริม  การเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สะท้อนแนวทางของพระเยซูผู้นำของเรา

และในความเป็นจริง การเคารพสิทธิมนุษยชนยังช่วยให้เราอยู่ร่วมกันได้ โดยอาศัยความพยายามที่จะไม่นำความต่างในทุกๆ เรื่อง มาเป็นข้ออ้าง ไม่ว่าจะต่างเพราะความเป็นหญิง-ชาย ต่างเพราะเด็ก-ผู้ใหญ่ ต่างเพราะจน-รวย ต่างเพราะมีการศึกษาหรือไม่มี ต่างเพราะเชื้อชาติ วัฒนธรรม ต่างเพราะอยู่ในเมือง -ชนบท ต่างเพราะเป็นลูกจ้าง-นายจ้าง ต่างเพราะความไม่ปกติของร่างกาย ฯลฯ

บทความชุดนี้ โดย กล้วยกัทลี จะถูกนำเสนอเป็นตอนๆ ต่อเนื่องไปในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้ความกระจ่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวแต่ยังไกลใจหลายๆ คน อย่าง “สิทธิมนุษยชน” เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในสังคม       

ตอนที่ 1

ชีวิตที่มีศักดิ์ศรีเป็นของมนุษย์ทุกคน

Imageเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้ ไม่บาป” ไหม? ได้อ่านเจอประโยคทำนองนี้ในหนังสือพิมพ์ แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิด คนเขียนอ้างว่าประโยคนี้เกิดขึ้นในยุคหนึ่ง และผู้เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไม่ได้มีความเชื่อดังปรากฏบนตัวอักษรนั้น

คนที่กล่าวประโยคนี้ไม่ได้เป็นฆราวาสเช่นเราๆ แต่เป็นผู้นำในแวดวงศาสนา ถ้าหากคนระดับผู้นำกล่าวเช่นนี้ ผู้ติดตามจะเชื่อและปฏิบัติตามอย่างไม่ลืมหูลืมตาดอกหรือ?  แล้วจะเกิดอะไรขึ้น คงมีคนมากมายถูกฆ่าตายด้วยข้อกล่าวหาว่า “เป็นคอมมิวนิสต์” โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์  คงมีคนจำนวนหนึ่งที่ล้างแค้นคนอื่นๆ ที่ตนไม่ชอบแล้วอ้างว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์”

ลองถามตนเองดูว่า เราคล้อยตามประโยคที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้ ไม่บาป” ในระดับใด (ติ๊ก  ต็อก..ติ๊กต็อก...ให้เวลาคิด)

การเคารพสิทธิมนุษยชน คือ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของบุคคล แต่เป็นไปได้หากจะโต้ว่า “คอมมิวนิสต์” ไม่ใช่บุคคล ดังนั้นการ “ฆ่าคอมมิวนิสต์” คงไม่ผิดและไม่บาป.. จะจริงละหรือ?

เอาใหม่...สำหรับคนที่ไม่รู้จักคอมมิวนิสต์ควรต้องรู้จัก “ยาเสพติด”  ลองถามตัวเองดูว่า “ฆ่าคนค้ายาหรือติดยาได้ ไม่บาป”  เหมือนกรณีที่รัฐบาลปราบปรามยาเสพติดจนมีคนตายไปกว่า 2,000 คนนั่นไง ไม่บาปจริงหรือ? คนค้ายาและคนติดยาไม่ใช่ลูกแกะที่หลงทาง หรือลูกล้างผลาญที่รอเวลากลับคืนสู่พ่อแม่ดอกหรือ?

แล้วถ้าโยงให้ใกล้ตัวเข้าไปอีกว่า “ฆ่า อุ้มฆ่า พวกแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ไม่บาป” ล่ะ  เรารู้บ้างไหม ว่าพวกแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ถูกตราหน้าให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดตลอดเวลาว่าเป็น “มุสลิม”  (หรือคนอื่นๆ ที่นับถือศาสนาต่างจากเรา) เราเคยพยายามที่จะทำความเข้าใจศาสนาอิสลาม และคนมุสลิม บ้างหรือไม่?

แล้วเราจะสรุปว่า “กลุ่มบางกลุ่ม”  “พวกบางพวก” นั้นฆ่าได้ ไม่บาป จริงๆ ล่ะหรือ?

สังคมคงอยู่ไม่รอด หากเรามองไม่ทะลุเพื่อให้เห็นถึงคำว่า “คน” ที่อยู่เบื้องหลังประโยคเหล่านั้น  “คน” ที่มีศักดิ์ศรีของความเป็น “ลูกของพระ”  เมื่อมองไม่เห็น จึงไม่พยายามใช้แนวทางที่พระเยซูได้ปูเอาไว้ คือ แนวทางที่ไม่ใช้ความรุนแรง หรือ สันติวิธี 

สมัยคอมมิวนิสต์ การติดต่อสื่อสารทำได้ยากเย็น การเดินทางยังเป็นอุปสรรค แต่ความพยายามที่จะนำ “คน” ที่คิดเป็นอย่างอื่น ให้หันหน้ามาเจรจาและร่วมมือกันแก้ปัญหา ยังทำได้ดีจนบรรลุผล

ปัจจุบัน โลกอยู่ในสถานการณ์ที่ก้าวหน้ากว่ายุคก่อนๆ มากนัก แล้วทำไมวิธีการแก้ปัญหาจึงได้ถอยหลังเข้าคลอง กลับใช้ความรุนแรง เข่นฆ่ากันราวกับยุคมืดก็ไม่ปาน

คำตอบคงอยู่ที่ “คน” นี่เอง คนแก้ปัญหาไม่สามารถมองเห็น “คน” เป็น “คน” ไม่เข้าใจและเห็นใจในความทุกข์ยากของคนอื่นๆ ในสังคม ไม่มีความเที่ยงตรงที่จะแก้ไขความอยุติธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม ไม่มีความอดทนอดกลั้น มีแต่ความต้องการที่จะใช้และแสดงอำนาจ ไม่ศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างและการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย

สังคมจะอยู่รอดได้ หากเราแต่ละคนเริ่มที่ตัวเองก่อน เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะอยู่ข้างพระเยซู หรือผู้ที่ประหารพระองค์  เรามองเห็นศักดิ์ศรีความเป็นลูกของพระในมนุษย์ทุกคนไหม?  เราพยายามที่จะเข้าใจผู้อื่นไหม? และเรายึดมั่นในแนวทางแก้ปัญหาโดยสันติวิธีของพระองค์หรือไม่? 

การเข้าใจและเคารพในสิทธิมนุษยชน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เราเริ่มเข้าใจที่จะอยู่ร่วมกัน (เช่น บนความต่างของศาสนา) ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นแนวทางที่ทุกคนและทุกประเทศควรส่งเสริม การเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นวิธีการหนึ่งที่สะท้อนแนวทางของพระเยซูผู้นำของเรา

 

ติดตามตอนต่อไป

การทำลายชีวิต...บทเรียนในอดีต - เพื่อยุติสงคราม
ความร่วมมือจึงถือกำเนิด



ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >