หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ศึกษาสารวันสันติภาพสากล “สันติภาพ ดำรงอยู่ในความจริง”
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 63 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ศึกษาสารวันสันติภาพสากล “สันติภาพ ดำรงอยู่ในความจริง” พิมพ์
Friday, 23 June 2006


รายงานสรุป

ศึกษาสารวันสันติภาพสากล “สันติภาพ ดำรงอยู่ในความจริง”
และเสวนา “อำนาจ ความจริง และสันติภาพ”

วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙
ณ ห้องประชุมชั้น ๑๐ อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย


ศึกษาสาร “สันติภาพ ดำรงอยู่ในความจริง” โดยคุณอัจฉรา สมแสงสรวง : เลขาธิการ ยส.
     เริ่มด้วยความเป็นมาของสารวันสันติภาพสากล ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสังคายนาวาติกันครั้งที่ ๒ ระหว่างปี ๑๙๖๒-๑๙๖๕ โดยพระสันตะปาปายอห์น ที่ ๒๓ ได้นำพระศาสนจักรออกไปสู่ความเป็นจริงของสังคม แต่Imageความพยายามของท่านกลับได้รับการขานรับโดยพระสันตะปาปาปอล ที่ ๖ ในช่วงปี ๑๙๖๗ ได้ออกสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าโลกไม่มีความสมดุล มีการเอาเปรียบกันในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวเองจากสงครามโลกครั้งที่ ๒  และก็เกิดภาวะของประเทศโลกที่ ๑ เข้ามากดขี่ประเทศโลกที่ ๓ ทำให้เกิดปัญหาความยากจนในมิติของงานพัฒนา และประเทศโลกที่ ๑ ได้ใช้อำนาจของตนเองในการครอบครองทรัพยากร โดยเฉพาะในสงครามเย็น ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีนิยม ขณะนั้นพระสันตะปาปาปอล ที่ ๖ ทรงแสดงความห่วงใย   และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่พระศาสนจักรจะต้องมีองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการแสดงความห่วงใยและแสดงจุดยืนของพระศาสนจักร รวมทั้งประณามเหตุการณ์ต่างๆ ของโลกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

     จึงเกิดการตั้งคณะกรรมการยุติธรรมและสันติขึ้น และในขณะเดียวกันพระสันตะปาปาปอล ที่ ๖  ได้ออกเอกสารวันสันติภาพสากล ในวันที่ ๑ มกราคม ๑๙๖๘ ซึ่งถือว่าเป็นฉบับที่ ๑ จนถึงปัจจุบันสารวันสันติภาพสากล ได้ผ่านความรับผิดชอบของผู้นำพระศาสนจักร ๓ พระองค์ คือพระสันตะปาปา ปอล ที่ ๖ ออกสารฯ ๑๑ ฉบับ พระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ ๒ ออกสารฯ ๒๗ ฉบับ และพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ ๑๖ เป็นปีแรก ซึ่งเป็นฉบับที่ ๓๙

     ในปีนี้พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ ๑๖ ได้แสดงความห่วงใยต่อเหตุการณ์ของโลก ซึ่งมาจากที่พระองค์อ่านเหตุการณ์ของสังคม โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง อิรัก ระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นผลพวงของความขัดแย้งเรื่องของการมองเห็นผลประโยชน์ของตัวเองในเรื่องดินแดนและทรัพยากร และนี่คือความจริงของสังคมโลกที่ศาสนจักรจะต้องเข้าถึงและปฏิเสธไม่ได้

     พระองค์ได้พูดถึงการเลือกใช้ชื่อเบเนดิกต์ ซึ่งเป็นชื่อที่พระองค์ได้รับแรงบันดาลใจจาก ๒ เหตุการณ์ คือ เบเนดิกต์เป็นชื่อนักบุญองค์อุปถัมภ์ของทวีปยุโรป ผู้เป็นแรงบันดาลใจแก่อารยธรรมสันติภาพของทั้งทวีป และพระองค์ทรงชื่นชมต่อพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๕ ซึ่งเป็นพระสันตะปาปาที่ศาสนจักรและโลกแทบจะลืมพระองค์ โดยในช่วงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ทรงออกจดหมายคัดค้านและแสดงจุดยืนของพระศาสนจักร ในการที่ไม่เห็นด้วยต่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกกลาง และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ที่ช่วยชาวเติร์กหรือตุรกี โดยเปิดสถานที่ในโรมให้ผู้ลี้ภัยเข้าอยู่ พระองค์ถือว่าเป็น Peace Maker คนแรก ที่พยายามสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ดี Mrs.Golda Meir (อดีตนายกรัฐมนตรีของอิสราเอล) เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้กล่าวสรรเสริญพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๕ ว่าเป็นผู้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนของพระศาสนจักร ในการประณามสิ่งที่ไม่ถูกต้องในสังคม

     ในสารวันสันติภาพสากล ปี ๒๕๔๙ การเขียนของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๖ แบ่งออกเป็น ๔ ส่วนใหญ่ๆ 
     ส่วนแรก เป็นเรื่องของจุดยืนพระศาสนจักร เทววิทยาและความเชื่อ 
     ส่วนที่สอง พูดถึงสันติภาพในท่ามกลางสงคราม โดยเฉพาะเหตุการณ์ของอิรัก ปาเลสไตน์ พระองค์ได้พูดชัดเจน ทำให้รู้เบื้องหลังความคิดต่อเหตุการณ์ของโลกที่เกิดขึ้น 
    ส่วนที่สาม การประณามในเรื่องลัทธิการก่อการร้าย 
    ส่วนที่สี่ควรจะต้องหันมาเจรจากันและเรียกร้องเรื่องการไม่สะสมอาวุธ

     ส่วนที่หนึ่ง ที่ว่าสันติภาพ ดำรงอยู่ในความจริง (In Truth is Peace) โดยอ้างถึงประวัติศาสตร์ใน สังคายนาวาติกันครั้งที่ ๒ พระศาสนจักรได้เปลี่ยนแปลงทัศนะของตนเองต่อโลก สังคมโลกจะผ่านพ้นความยุ่งยาก และเกิดสันติสุขได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์ทุกคนต้องฟื้นฟูจิตใจของตนเองเสียก่อน และแสวงหาความจริงของสันติภาพ พระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ ๒ ได้กล่าวว่าสันติภาพไม่ใช่ภาวะที่ปราศจากสงครามและความขัดแย้ง แต่สันติภาพเป็นผลของระเบียบแบบแผนที่พระเจ้าได้ทรงวางรากฐานไว้ในสังคมมนุษย์ ระเบียบแบบแผน คือสถานการณ์ที่ช่วยให้ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ได้รับการยอมรับและตระหนักว่ามนุษย์เป็นลูกของพระเจ้า มนุษย์มีสิทธิและศักดิ์ศรี มีความแตกต่างกัน การเคารพซึ่งกันและกันจะเป็นการปฏิบัติบนพื้นฐานของความยุติธรรม แต่ถ้าเราไม่ยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์ ก็จะเป็นสาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปัญหาของสังคมโลกในปัจจุบันนี้

     ในส่วนที่สอง พระองค์ยืนยันว่าความคิดของพระสันตะปาปายอห์นที่ ๒๓ นั้นถูกต้อง ที่ทรงเขียนสารในช่วงเหตุการณ์วิกฤติคิวบา ปี ๑๙๖๓ ในเรื่องความขัดแย้งระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิเสรีนิยม พระองค์เป็นผู้ที่แสดงจุดยืนของพระศาสนจักร ว่าไม่เห็นชอบกับการแข่งขันทางด้านอุดมการณ์ซึ่งจะนำไปสู่การสะสมImageอาวุธนิวเคลียร์ พระองค์บอกว่ารากฐานของสันติภาพ ประกอบด้วยความจริง ความยุติธรรม เสรีภาพ และความรัก สิ่งนี้คือสิ่งที่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ ๑๖ ยืนยัน ความจริง คือการตระหนักรู้ และยอมรับในศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งความแตกต่างที่ทุกคนมีอยู่ รวมทั้งการรู้ถึงหน้าที่ของตนที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นในมิติศาสนสัมพันธ์ ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เราเท่านั้นที่ตระหนักรู้ในความจริงและคนอื่นไม่ตระหนักรู้ แต่ด้วยความถ่อมตน เราต้องกล่าวว่าชาวพุทธ คริสต์ อิสลาม ต่างก็แสวงหาความจริง จากเหตุการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเรามักจะมองข้ามสิ่งที่เป็นความจริงของสังคม ความยุติธรรม คือการที่ทุกคนปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพต่อสิทธิของเขาอย่างไม่เลือกปฏิบัติ ยิ่งกว่านั้นถ้าเราจะปฏิบัติความยุติธรรม หมายความว่าเราต้องอ่อนไหวต่อสิ่งที่จะทำให้ความยุติธรรมนั้นถูกบั่นทอนลง ความรัก คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา แบ่งปันในสิ่งที่เรามีให้แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะการแบ่งปันในเรื่องความคิด ปัญญาและคุณธรรม ช่วง ๒-๓ เดือนที่ผ่านมา เป็นบทสะท้อนว่าเราได้ใช้ความรักเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติต่อกันหรือไม่ ในสังคมไทย เสรีภาพ คือการที่เราแต่ละคนมีอิสระในการกระทำตามเหตุผลของตน เสรีภาพไม่ได้หมายถึงการทำตามอำเภอใจหรือตกเป็นทาสของอารมณ์ตนเอง เสรีภาพในมิติของศาสนาคือการเป็นอิสระหลุดพ้นจากสิ่งที่เป็นกิเลส สิ่งที่ทำให้เราเห็นแก่ตัว คิดแต่เรื่องที่จะนำมาสู่ประโยชน์ของตนเอง เสรีภาพคือการหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ และเสรีภาพเรียกร้องให้เรามีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เรากระทำด้วย เราคริสตชนต้องให้ความหมายและปฏิบัติเสรีภาพในลักษณะนี้

     ใครและอะไรเป็นตัวขัดขวางสันติภาพ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๖ ผ่านประวัติศาสตร์ของตนเอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผ่านความเจ็บปวดในสมัยนาซี เพราะฉะนั้นพระองค์จึงประณามต่อเหตุการณ์ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ว่ามาจากอุดมการณ์และอำนาจการเมืองที่จงใจสร้างความเท็จ เพื่อบิดเบือนความจริง ความจริงเท็จเหล่านี้นำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบ การทำลายล้างชีวิต อย่างอุดมการณ์ของนาซี การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อคิดว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรู ในปัจจุบันนี้โลกมหาอำนาจก็ใช้กลไกของอุดมการณ์ทางการเมืองมาบิดเบือนความจริง ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างไม่สิ้นสุด พระองค์ทรงประณามขบวนการก่อการร้าย ลัทธิคลั่งศาสนา พระองค์บอกว่ามนุษย์กำลังโกหกตนเอง ให้หลงติดไปกับการต่อสู้ในลัทธิก่อการร้ายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ เราหลงติดกับความเท็จที่ถูกปั้นแต่งบนความจริง ว่าการทำสงครามคือความชอบธรรม อาวุธนิวเคลียร์เป็นเครื่องมือให้หลักประกันในสันติภาพ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ในเวลาที่เราอ้างความชอบธรรมที่จะแก้ไขปัญหา และหาคำตอบในสันติภาพ เรามักจะใช้ความรุนแรงมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม นักปราชญ์พระศาสนจักรท่านหนึ่งบอกว่า มารเป็นราชันของความจริงเพียงครึ่งเดียว ณ ปัจจุบัน มารคือการโฆษณา การศึกษา สื่อต่างๆ พวกนี้เป็นเครื่องมือของอุดมการณ์ที่ทำให้เกิดความจริงเพียงครึ่งเดียว เราต้องตระหนักว่าเราต้องหาความจริงแท้มากกว่าไปยึดติดกับความจริงเพียงครึ่งเดียว พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๖ เชิญชวนพระศาสนจักรและสังคมโลกให้ช่วยกันสร้างสันติภาพ โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเรียนรู้จากบทเรียนในประวัติศาสตร์ ว่าสงครามเกิดจากความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิด อุดมการณ์ พระองค์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเปิดหัวใจของตัวเองเข้าหาความจริง ทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์ และยอมรับในความจริงนั้นว่าทุกคนมีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ความแตกต่างเหล่านี้ต้องไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง แต่นำไปสู่ความร่วมมือกัน ในขณะนี้เราตกอยู่ในสังคมที่แบ่งแยก เราหลงติดกับมายาคติเรื่องปัจเจกนิยม สถานการณ์ในภาคใต้และความขัดแย้งทางด้านการเมืองในสังคมไทยก็มาจากปัจเจกนิยม สิ่งเหล่านี้ตรงข้ามกับคำสอนทางด้านสังคมของพระศาสนจักร เรื่องคุณประโยชน์ของความดีส่วนรวม (Common Good) ซึ่งเป็นหัวใจของพระศาสนจักรที่ควรนำมาปฏิบัติให้ได้ ที่สุดแล้วพระศาสนจักรเรียกร้องให้เราทุกคนสร้างความดีเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่ทำความดีเพื่อตัวเอง

     ลัทธิเสรีนิยมสร้างอคติและความขัดแย้ง พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ ๑๖ ยังประณามลัทธิเสรีนิยม ว่าคือต้นเหตุของการโกหก สร้างอคติและความขัดแย้ง พระองค์วิเคราะห์ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างลัทธิเสรีนิยม หรือฝ่ายที่ปกป้องตนเองจากการก่อการร้ายซึ่งเป็นชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา กับลัทธิคลั่งศาสนาที่เป็นชาติทางตะวันออกกลาง ที่ถูกมองว่าเป็นพวกก่อการร้าย ความขัดแย้งเหล่านี้มีต้นเหตุมาจากลัทธิเสรีนิยม ที่เป็นตัวสร้างอคติ อคติเหล่านี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในเบื้องต้น คือผู้นำประเทศ เพราะเมื่อผู้นำประเทศอยู่ในกระแสของลัทธิเสรีนิยม ทำให้มีอคติในลักษณะการหวาดวิตกว่าผู้อื่นจะมีอำนาจ มีสถานะทางสังคมและความมั่นคงที่ดีกว่าตนเอง อคติที่เต็มไปด้วยความหวาดวิตกเหล่านี้ทำให้ผู้ที่เป็นผู้นำประเทศใช้อำนาจที่ตนเองมีอยู่สร้างความจริงเทียมขึ้นมา และสร้างความชอบธรรมว่าสงครามเป็นหนทางในการแก้ไขเพื่อนำไปสู่สันติ พระองค์ชี้ต่อไปว่าผู้นำประเทศยังหลงติดกับอคติ และใช้อำนาจมาบิดเบือนความจริง ผลักให้คนในประเทศของตนเป็นอริกับคนในประเทศอื่น หรือคนในศาสนาและวัฒนธรรมอื่นๆ ในประเทศเดียวกัน เช่น บทเรียนในภาคใต้และความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ถ้าไม่แก้ไขอนาคตอาจจะเกิดความขัดแย้งในเรื่องภูมิภาค ซึ่งเป็นผลมาจากอำนาจที่ผู้นำทางการเมืองใช้บิดเบือนความจริง ผลักให้คนในสังคมเป็นศัตรูต่อกัน

     เสถียรภาพทางสังคมมาจากการแก้ไขความยากจน พระองค์กล่าวว่าเสถียรภาพทางสังคมไม่ได้มาจากการสะสมอาวุธ แต่มาจากการแก้ไขปัญหาความยากจน นี่คือการย้ำถึงสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ ซึ่งจะฉลองครบรอบ ๔๐ ปีในปีหน้านี้ ว่าปัญหาและความไม่สมดุลของโลก ไม่ได้มาจากประเทศมหาอำนาจที่ครอบครองอาวุธได้มากกว่า แต่มาจากเรื่องความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้สังคมโลกขาดเสถียรภาพ กว่า ๔๐ ปีมาแล้ว เรายังแก้ไขความยากจนไม่ได้ พระองค์จึงนำเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีกครั้ง เสถียรภาพของโลกมิใช่มาจากการที่มุ่งสะสมอาวุธโดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์ ตรงนี้การที่ประเทศต่างๆ มุ่งสะสมเสถียรภาพ โดยบอกว่าการที่มีอาวุธแล้วทำให้ประเทศตนเองมั่นใจ ซึ่งในการทำสงครามที่ผ่านมา บทเรียนสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒ ก็ดี ที่สุดแล้วไม่มีใครชนะมีแต่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ดังนั้น จึงเรียกร้องว่าแทนที่จะใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่แปลงเป็นมูลค่าเพื่อการได้มาซึ่งอาวุธนิวเคลียร์ครอบครอง ควรนำไปพัฒนาเป็นแผนการในการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นมากกว่า

     ความจริงแห่งสันติภาพ สุดท้ายพระองค์พูดถึงความจริงแห่งสันติภาพ ว่าต้องมาจากการก้าวข้ามอคติ เรียกร้องการให้อภัยและการคืนดี ตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีอคติต่อกันคือ อุดมการณ์ คุณค่าและระบอบการเมือง ซึ่งผู้นำประเทศยังใช้อุดมการณ์และอำนาจทางการเมืองมาสร้างความชอบธรรมและผลประโยชน์ให้ตนเอง ขณะเดียวกันก็สร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นในหัวใจมนุษย์ ทำให้มนุษย์ทะเลาะและขัดแย้งกัน ที่สุดแล้วทั้งหมดนำไปสู่การใช้กลไกอุดมการณ์ การเมือง มาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และลืมผลประโยชน์ของส่วนรวม พระองค์เรียกร้องให้ทุกสังคมเอาจริงเอาจังในเรื่องของการศึกษา ทำหน้าที่เป็นประจักษ์พยาน ต้องตระหนักว่าสันติภาพจะดำรงอยู่ได้ด้วยการที่มนุษย์เคารพในความจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนแม้แตกต่างกัน แต่ทุกคนคือลูกของพระที่เท่าเทียมกัน หากการยึดถือและปฏิบัติในความจริงนี้ได้ จะทำให้เราเป็นอิสระต่อความกลัว ปฏิเสธต่อการใช้ความรุนแรง นั้นคือการดำรงตนอยู่ในหนทางแห่งสันติภาพ

     คุณอังคณา นีละไพจิตร กล่าวไว้เมื่อวันที่ได้รับรางวัลจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งควรจะได้รับการไตร่ตรองในสถานการณ์สังคมไทยขณะนี้ ที่ว่ารัฐไทยพยายามสร้างอำนาจแห่งความกลัว ซึ่งเป็นความจริงเท็จ ให้ประชาชนอยู่ในความกลัว ไม่กล้าที่จะปกป้อง ไม่กล้าที่จะคิดและพูด ทำให้คนเห็นแก่ตัว ดูแลเฉพาะตนเอง ครอบครัว สถาบัน ไม่ใส่ใจคนรอบข้างและสังคม ที่สุดแล้วสังคมก็ไม่มีใครช่วยใครได้

     ทั้งหมดนี้คือการยืนยันในสิ่งที่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ ๑๖ ได้แสดงความห่วงใยต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ลัทธิเสรีนิยมที่กำลังเข้ามาทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยังมีสิ่งหนึ่งที่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ ๑๖ ไม่ได้พูดโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่เราจะละทิ้งไม่ได้ คือเรื่องอำนาจและการใช้อำนาจ สถานการณ์ของโลกที่เกิดขึ้น ลัทธิการก่อการร้าย ลัทธิเสรีนิยม ทั้งหมดมีสาเหตุมาจากการใช้อำนาจ อำนาจเป็นทั้งเครื่องมือและเป็นเป้าหมายที่หอมหวาน อำนาจอยู่ตรงข้ามกับความจริง ทำให้จริงถูกบิดเบือนและถูกปฏิเสธตลอดเวลา เราซึ่งอยู่ในพระศาสนจักร ควรรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมศาสนาในประเทศไทยและสังคมศาสนาในที่อื่นๆ มาจากเรื่องการใช้อำนาจ อำนาจกำลังเข้ามาเป็นเครื่องมือในการที่ทำให้สมาชิกศาสนจักรมองเห็นเฉพาะเรื่องที่เป็นพิธีการ เรื่องของเปลือก โดยลืมเนื้อสาระที่แท้จริงของศาสนา อำนาจควรจะต้องใช้มาเพื่อให้เราค้นหาสิ่งที่เป็นแก่นแท้ ความจริงที่เป็นความจริง ซึ่งเป็นเนื้อหาของพระศาสนจักรที่เราควรปฏิบัติ อำนาจจะต้องใช้มาเพื่อความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์ครบครัน สำหรับการเป็นคริสตชนที่แท้จริงในสังคมไทยและสังคมโลก


เสวนา “อำนาจ ความจริง และสันติภาพ”

     คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : บรรณาธิการ นิตยสารสารคดี
     กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ตนเองเป็นแบบนี้  ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของโรงเรียนคาทอลิกเนื่องจากเรียนในโรงเรียนอัสสัมชัญมาโดยตลอด ได้ทำกิจกรรมต่างๆ และที่สำคัญคือได้ร่วมกลุ่มค่ายอาสาพัฒนา ที่ก่อตั้งโดยบราเดอร์วิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย ทุกปีจะมีการออกค่าย สร้างโรงเรียนในต่างจังหวัด สิ่งแรกที่ทำให้รู้สึกแตกต่างจากคนอื่น คือ บราเดอร์สอนให้เรารู้จักเสียสละ อ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้เด็กค่ายอาสาหลายคนเกิดความสนใจงานสังคมมากขึ้น จนมีเด็กอัสสัมชัญจำนวนหนึ่งดำเนินตามเจตนารมณ์ และสิ่งสำคัญที่ได้รับจากการสอนของบราเดอร์ในสมัยนั้นคือการตั้งคำถาม เพื่อแสวงหาความจริง ซึ่งสอดคล้องกับนักปราชญ์ชาวกรีก ที่ชื่อ เพลโต ได้กล่าวว่าสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของปรัชญากรีก คือการตั้งคำถาม เพื่อแสวงหาความจริง

     อาชีพสื่อมวลชนก็เช่นกัน คือการแสวงหาความจริงให้ผู้อ่าน จากการใช้วิธีตั้งคำถาม ซึ่งความเชื่อส่วนตัว เชื่อว่าความจริงเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เชื่อว่าความจริงไม่ถาวร ที่พูดเช่นนี้เพราะสมัยก่อนพระศาสนจักรบอกว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่ในศตวรรษที่ ๑๕ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ Imageเป็นผู้ประกาศว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และในศตวรรษที่ ๑๖ กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี พยายามพิสูจน์ว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาล ๑๐๐ ปีต่อมา นักดาราศาสตร์คนหนึ่งบอกว่าสิ่งที่โคเปอร์นิคัสและกาลิเลโอพูดนั้นเป็นความจริง ที่ว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เพราะฉะนั้นความจริงจึงเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ไม่ควรยึดมั่นกับความจริงใดๆ ว่าเป็นความจริงตลอดกาล ความจริงสัมพัทธ์กับเวลา อาจจะเป็นจริงในเวลานี้ วันนี้ ศตวรรษนี้  ใช่ว่าจะดำรงอยู่ได้นานตลอดไป แต่จะไม่ไปเปรียบเทียบกับความจริงในความเชื่อทางศาสนา แต่จะพูดถึงความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ข่าวในหนังสือพิมพ์ คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ เปลี่ยนไปตามกาลเวลา สื่อมีหน้าที่นำเสนอข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ในฐานะผู้รับสารต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ คือต้องบริโภคข่าวสารอย่างรอบด้าน ทุกวันนี้มีข้อเท็จจริงเข้ามามากมาย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงระดับหนึ่งเท่านั้นที่ยังไม่ถูกวิเคราะห์ แต่ปัญหาของผู้บริโภคคือจะวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารได้อย่างไรบ้าง

     อำนาจทำให้ความจริงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ทำให้ความจริงเปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่าง กรณีคอร์รัปชั่น CTX ในสนามบินสุวรรณภูมิ รัฐบาลเลือกที่จะให้ข่าวกับประชาชนชุดหนึ่ง ถึงความพยายามที่จะต้องรีบเปิดสนามบิน ว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ละเลยที่จะเปิดเผยความจริงให้ประชาชนได้รับทราบเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะรัฐบาลมีอำนาจที่จะเลือกนำเสนอความจริง อำนาจทำให้ความจริงถูกบิดเบือนตลอดเวลา ในช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเมือง สื่อพยายามนำเสนอความจริง แต่ก็ถูกอำนาจคุกคาม เพราะฉะนั้นการเสนอความจริงในโลกทุกวันนี้ ก็เป็นความจริงที่ค่อนข้างลำบาก แต่ยิ่งอำนาจบิดเบือนความจริงมากเท่าไร ก็ยิ่งมีช่องโหว่ให้เห็นความจริงมากยิ่งขึ้น

     ที่ใดที่ไม่มีความจริง ก็ไม่มีสันติภาพ มีการเรียกร้องสันติภาพใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะรัฐไม่ยอมรับความจริงว่ามีขบวนการแบ่งแยกดินแดน รัฐไม่ยอมรับความจริงว่ามีการอุ้มฆ่าประชาชน รัฐไม่ยอมรับความจริงว่ามีการเลือกปฏิบัติ การที่ไม่ยอมรับความจริงหรือเลือกปฏิบัติ บีบให้คนมุสลิมจำนวนหนึ่งต้องใช้ความรุนแรง แต่ถ้านำความจริงมาพูดกันใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สันติภาพก็เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะปัญหาชายแดนภาคใต้มีมาตลอด แต่ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ปัญหาเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เพราะรัฐไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในภาคใต้

     พระไพศาล วิสาโล : เจ้าอาวาส วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ
     ประเด็นแรก คำว่าอำนาจและความจริง เป็นคำที่อยู่ตรงกันข้ามกัน อำนาจต้องการบังคับให้ทุกอย่างเป็นไปในแนวเดียวกัน แต่ความจริงต้องอาศัยเสรีภาพ เพราะความจริงไม่ใช่สิ่งที่จะเสนอหน้ามาให้เราเห็น แต่ต้องใช้กระบวนการทางปัญญาในการค้นหา ไม่ว่าจะเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ทางโลก แม้กระทั่งทางธรรมก็ต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญา

     การแสวงหาความจริงต้องอาศัยเสรีภาพ เพราะว่ามนุษย์มีความจำกัด มีอคติ แต่ถ้ามีเสรีภาพก็เปิดโอกาสให้คนสามารถแสวงหาความจริงได้ โต้เถียงได้ เพื่อพิสูจน์ว่าอะไรคือความจริงกันแน่ ต้องอาศัยเสรีภาพและความหลากหลาย แต่อำนาจต้องการทำให้ทุกอย่างอยู่ในแนวเดียวกัน อำนาจไม่ชอบเสรีภาพ เพราะฉะนั้นอำนาจจึงเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงความจริง

     ประเด็นที่สอง ความจริงต้องอาศัยการตั้งคำถาม ซึ่งเป็นกระบวนการหรือศิลปะในการเข้าถึงความจริง ถ้าตั้งคำถามถูกก็สามารถค้นพบความจริง แต่อำนาจไม่ต้องการการตั้งคำถาม เพราะว่าอำนาจต้องการให้ทุกคนเชื่อ หรือสยบ เช่น การที่ทุกคนเชื่อนายกฯ เพราะมีอำนาจ แต่เมื่อมีใครที่ไม่เชื่อในนายกฯ ก็เพราะว่าอำนาจถูกลดทอนลง

     ประเด็นที่สาม อำนาจจะภูมิใจและเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจัดการได้ ถ้ามีเงินและมีอำนาจทางการเมือง ก็สามารถจัดการใครก็ได้ แต่ความจริงไม่ยอมให้ใครจัดการ ความจริงก็คงอยู่เช่นนั้น เพียงแต่ว่าเราจะเข้าถึงความจริงได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่อำนาจยอมรับไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะพยายามบิดเบือนความจริง อันที่จริงความจริงบิดเบือนไม่ได้ แต่การสร้างความจริงที่บิดเบือนได้ เรียกว่าความเท็จ หรือการสร้างความเท็จเข้ามาแทนความจริง เรียกว่าความจริงเท็จ

     อำนาจ เกลียดและกลัวความจริง เพราะอำนาจทำอะไรความจริงไม่ได้ ได้แต่เพียงแค่สร้างความเท็จเข้ามาทดแทนความจริง อำนาจและความจริงก็เหมือนอยู่คนละขั้ว ผลก็คือผู้มีอำนาจจะเกลียดและกลัวความจริง แต่ไม่สำคัญเท่ากับอำนาจที่เข้าไปผูกขาดความจริง เพราะเมื่อผูกขาดความจริงก็จะรู้สึกว่าอยู่ในฝ่ายที่ถูกต้อง และคิดว่าเข้าถึงความจริงสูงสุดแล้ว ซึ่งสามารถทำให้เกิดการทำลายล้างมากมาย ในสารวันสันติภาพสากล ปี ๒๕๔๙ Imageได้กล่าวถึงกลุ่มที่คลั่งศาสนา กลุ่มก่อการร้ายว่าอันตรายอย่างไร ส่วนหนึ่งคนเหล่านี้เชื่อว่าเขาเข้าถึงความจริงแล้วและเขาเท่านั้นที่เข้าถึงความจริง คนอื่นไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ฉะนั้นถ้าไม่เชื่อเขาก็ต้องตายหรือถูกจับกุม นี่คืออำนาจที่น่ากลัวยิ่งกว่าอำนาจใดๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้สันติภาพไม่เกิดขึ้น เมื่อผู้มีอำนาจเชื่อว่าเขาคือผู้ผูกขาดความจริง ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่คลั่งศาสนาหรือคลั่งอุดมการณ์เท่านั้น ในสมัยสตาลิน เลนิน หรือพอลพต คนเหล่านี้เชื่อว่าเขาผูกขาดความจริงเกี่ยวกับกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้น ความจริงที่จะนำไปสู่โลกอุดมคติ ความจริงเหล่านี้เขาเข้าถึงแล้ว และเป็นความจริงสูงสุดที่ไม่มีใครเข้าถึง เพราะฉะนั้นใครที่ตั้งคำถามหรือปฏิเสธก็จะถูกกำจัด นี่คืออำนาจที่ผูกขาดความจริง ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมาก ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าความยึดติดในทิฐิอุดมการณ์ ภาษาบาลีเรียกว่าทิฐิปาทาน ยึดติดในทิฐิความเห็นหรือทฤษฎี ที่ยึดติดเพราะคิดว่าตัวเองเข้าถึงความจริงแล้ว และสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่การทำลายล้างได้ โลกนี้ไม่มีสันติภาพเพราะเกิดจากผู้มีอำนาจต้องการจะสถาปนาความจริงในแบบฉบับของตนเอง และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือสงครามระหว่างศาสนา สงครามระหว่างอุดมการณ์ เพราะต่างเชื่อว่าตนเองได้ผูกขาดความจริง ตั้งแต่สงครามครูเสด สงคราม ๓๐ ปีในยุโรป สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงครามเย็น และยังคงมีอย่างนี้เรื่อยไป

     ในพุทธศาสนามีคำหนึ่งเรียกว่าสัจจานุรักษ์ หมายถึงผู้ที่เชื่อมั่นหรือรักษาสัจจะ ในแง่ที่ว่าแม้ตัวเองเชื่อว่าตนเองเข้าถึงความจริง รู้ความจริง แต่ก็ไม่ผูกขาดว่าตนเองเท่านั้นที่ถูกต้อง คนอื่นก็สามารถที่จะเข้าถึงความจริงโดยใช้วิธีการที่ต่างกัน ความใจกว้างและรับฟังคนที่คิดแตกต่างกันเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนัก ซึ่งอำนาจกับความจริงเป็นสิ่งที่อยู่กันคนละฝั่ง เมื่อมีอำนาจมาก ความจริงก็จะถูกบิดบัง แต่ไม่ใช่ว่าความจริงจะไม่มีอำนาจ

     ประเด็นที่สี่ ความจริงก็มีอำนาจ อย่างที่มหาตมา คานธี เรียกว่าสัตยาเคราะห์ คือ กระบวนการที่เอาความจริงมาแสดง โดยการยึดมั่นในความจริงอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะโดนกระทำทารุณต่างๆ ก็จะไม่ถอย ในแนวทางสันติวิธีให้ปรากฏในการท้าทายความจริงที่มีการเสกสรรขึ้นมา ซึ่งสามารถสั่นคลอนระบอบกฎหมายและโครงสร้างที่อยุติธรรมได้ ทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังแห่งสัจจะ แต่ไม่ใช่การใช้พลังแห่งการพูดเพียงอย่างเดียว    ยังต้องเอาตัวเข้าไปขวางโครงสร้างที่ อยุติธรรม ดังกรณีที่มาร์ติน ลูเธอร์คิง ให้คนดำไปนั่งในสถานที่ของคนขาว ซึ่งหมายถึงการนำเอาความจริงมาเปิดเผยว่าคนดำถูกยัดเยียดให้ยอมรับว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง ถูกเลือกปฏิบัติได้ ในการทำเช่นนี้ จะถูกมองว่าก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม แต่ที่จริงแล้วเป็นการสถาปนาสันติภาพให้เกิดขึ้น คือโครงสร้างที่ตั้งบนสัจจะและความยุติธรรมอย่างแท้จริง การยึดมั่นในความจริง โดยไม่ใช่กำลังอาวุธ ใช้สันติวิธีและหลักอหิงสา จะเป็นการเขย่าโครงสร้างที่ อยุติธรรมและไม่มีสันติ และสามารถก่อให้เกิดสันติภาพได้ในที่สุด เพราะสังคมได้ยอมรับความแตกต่างอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ความจริงมีพลัง โดยไม่ต้องอิงอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ต้องระวัง คืออย่าไปยึดมั่นในความจริงของตน จนกระทั่งไม่รับรู้ความจริงของผู้อื่น โดยเฉพาะศาสนิกชนซึ่งจะเป็นที่มาของความรุนแรง ความไม่มีสันติ

     ความจริงมีหลายระดับ ความจริงที่ดีก็มี ความจริงที่ไม่อยากเปิดเผยก็มี ผู้มีอำนาจจึงเลือกที่จะเปิดเผยความจริงเพียงด้านเดียว และไม่เปิดเผยความจริงที่เป็นผลเสีย ความจริงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีปัญญามองไปได้ในระดับใด

     นอกจากนี้ยังมีความจริงที่มีประโยชน์ และความจริงที่ไร้ประโยชน์ ตรงนี้คือสิ่งที่เราต้องใช้ปัญญาแยกแยะ จากสื่อต่างๆ เราจะเข้าถึงความจริงได้อย่างไร  การโยงเข้าถึงสันติภาพ ต้องมีความจริงถึงจะเกิดสันติภาพ และต้องเป็นความจริงที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ที่ใดที่มีการสกัดกั้นความจริง ที่นั้นไม่มีสันติภาพ เวลานี้มีการกล่าวหากลุ่มที่คลั่งศาสนาหรือกลุ่มที่ก่อความรุนแรง ว่าเป็นพวกที่ทำลายสันติภาพ แต่เราต้องมองอีกด้านหนึ่งว่าคนเหล่านี้ก็เป็นผลพวงจากสังคมและโครงสร้างทางการเมือง ซึ่งไม่อนุญาตให้ความจริงหรือเสรีภาพเกิดขึ้น กระบวนการก่อการร้ายไม่ใช่ตัวก่อการ แต่เป็นเหยื่อของความอยุติธรรมและอำนาจนิยมที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสวงหาความจริง เพราะฉะนั้นการจะต่อสู้กับขบวนการเหล่านี้ต้องไม่สู้ด้วยอาวุธ แต่จะเป็นการสู้ด้วยการเปิดเผยความจริง และใช้เสรีภาพในการแสวงหาความจริง ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขความอยุติธรรมได้

     ความจริงเป็นกุญแจไปสู่สันติภาพ ทำให้ความเลวร้าย ความอยุติธรรม ไม่สามารถหลบซ่อนอยู่ได้ เพราะความจริงได้เปิดโปงสิ่งเหล่านี้ออกมา ความจริงทำให้การจัดการแก้ไขได้ถูกต้อง ความจริงเป็นสะพานไปสู่สันติภาพได้ โดยเฉพาะเมื่อความจริงนั้นเป็นความจริงที่เป็นสาระ และความจริงยังนำไปสู่ความรักได้ด้วย ซึ่งความรักนำไปสู่สันติภาพ ถ้าเราเข้าใจคนอย่างครบถ้วนรอบด้าน จะทำให้เราเกลียดกันน้อยลง ความรักและความเมตตาเกิดขึ้น สันติภาพก็จะสามารถเกิดขึ้นได้

      คุณชื่นสุข อาศัยธรรมกุล : ผู้ดำเนินรายการ
     ในฐานะคาทอลิก ได้ตั้งคำถามว่าพระศาสนจักรคาทอลิกไทยทำให้เราอยู่ในความกลัวด้วยหรือไม่ เพราะหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง จะเห็นว่าในความเป็นคาทอลิก เราเข้ามามีส่วนร่วมในการแสวงหาความจริงซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพมากน้อยแค่ไหน หลายๆ ครั้งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในบ้านเมือง สิ่งที่เรามักจะทำคือเราจะอยู่ในที่ที่ปลอดภัย 

     การภาวนาพอหรือเปล่า การภาวนาทำให้เราเข้าถึงความจริงได้มากพอไหม ถ้าเราไม่มีโอกาสได้รับรู้ความจริง หรือเราไม่ได้เข้าไปในเหตุการณ์ที่จะได้รับรู้ความจริงมากขึ้น การภาวนานั้นจะนำเราไปสู่สันติภาพได้จริงหรือไม่ สิ่งที่พระเยซูเจ้าทำในก่อนวันที่จะสิ้นพระชนม์ พระเยซูต่อสู้กับโครงสร้างสังคมและการเมืองอย่างแรง โดยการประกาศยืนยันความจริง ที่พระองค์ยืนยันมาตลอด ความจริงในตัวของพระองค์เอง และความจริงที่พระองค์ค้นพบ เรียกร้องการย้อนกลับมามองตัวเราผู้เป็นคาทอลิกว่าจะกล้ายืนยันความจริง กล้าที่จะตีแผ่ความจริงในสังคม เพื่อเปิดหนทางสู่สันติภาพได้หรือไม่

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า