หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความหลากหลายทางวัฒนธรรม : ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 99 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความหลากหลายทางวัฒนธรรม : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Thursday, 15 June 2006


เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
: บทเรียนจากกรณีการ์ตูนล้อเลียนศาสดา มูฮัมหมัด

ศราวุฒิ ประทุมราช


เมื่อเดือนกันยายนปี ๒๕๔๘ หนังสือ พิมพ์รายวันของเดนมาร์กชื่อ Jyllands – Posten ได้ลงภาพการ์ตูนกว่า สิบภาพ ล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด ต่อมาหนังสือพิมพ์ในยุโรปได้ตีพิมพ์ซ้ำ การ์ตูนดังกล่าว ในเดือนมกราคม ที่ออสเตรียและอีกหลายประเทศ ทั้งเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน


Imageภาพล้อเลียนดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาการเมืองระหว่างโลกมุสลิมและโลกตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง มีการประท้วงของชาวมุสลิมในหลายประเทศ ต่างไม่พอใจที่รัฐบาลเดนมาร์ก ปล่อยให้มีการล้อเลียนองค์ศาสดาของตน และดูเหมือนว่าจะค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่ถึงขั้นที่รัฐบาลของประเทศมุสลิมหลายประเทศ ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตด้วยการปิดสถานทูตในเดนมาร์ก และในปาเลสไตน์มีการข่มขู่ประชาชนที่มาจากประเทศตะวันตกที่ตีพิมพ์ภาพดังกล่าว จนถึงกับขู่ว่าจะฆ่าศิลปินเจ้าของภาพด้วย

วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ นายก รัฐมนตรีเดนมาร์ก นายแอนเดอร์ส โฟจห์ ราสมูเซน (Anders Fogh Rasmussen)ได้ออกโทรทัศน์ ในประเทศกลุ่มอาหรับ กล่าวขอโทษชาวมุสลิมที่การ์ตูนได้พาดพิงล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด แต่ก็ยังยืนยันว่านี่คือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ที่นานาอารยประเทศต่างให้การรับรองคุ้มครอง

นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาการประท้วงเดนมาร์กและประเทศตะวันตกที่ตีพิมพ์การ์ตูนดังกล่าว ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งในประเทศไทยก็เคยมีการชุมนุมหน้าสถานทูตเดนมาร์ก ในกรุงเทพฯ มาแล้วเช่นกัน

ความเห็นของชาวมุสลิมส่วนหนึ่ง แสดงทัศนะว่า การ์ตูนภาพหนึ่งเป็นภาพศาสดา โพกศีรษะลักษณะคล้ายรูปทรงของระเบิด ได้สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวมุสลิม คล้ายกับเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าชาวตะวันตกมีความหวาดกลัวชาวมุสลิม ชาวมุสลิมบางกลุ่มเห็นว่าการ์ตูนได้มุ่งโจมตีความเชื่อของอิสลามและสร้างวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังขึ้น นักวิชาการด้านวัฒนธรรมอิสลาม ให้ความเห็นว่า “...สื่อมวลชนตะวันตกได้สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวมุสลิม เพราะชาวมุสลิมมีความรักในองค์ศาสดา ชาวมุสลิมรักศาสดามากกว่าครอบครัวของเขาเองและมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า ศาสดามูฮัมหมัดเป็นผู้รับโองการมาจากพระผู้เป็นเจ้า... สื่อมวลชนกำลังสร้างวัฒนธรรมแห่งการลดค่าของเกียรติภูมิและเหยียดหยามทางเชื้อชาติ” สมาชิกองค์กรการกุศลอิสลามแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน ถึงกับกล่าวว่า แม้จะเห็นด้วยกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่เสรีภาพนี้ต้องมีความรับผิดชอบด้วย “...ผมเห็นว่ามีหลายวิธีที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถาม หรือถกเถียงกันเกี่ยวกับความเชื่อแบบอิสลาม มีความชอบธรรมที่จะกระทำเช่นนั้น แต่การวิจารณ์ด้วยภาพการ์ตูน ไม่น่าจะเป็นหนทางหนึ่งในวิธีการนั้น”

ขณะเดียวกันชาวมุสลิมที่ค่อนข้างเป็นเสรีนิยม เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในจอร์แดน กลับตีพิมพ์ซ้ำการ์ตูน และเห็นว่าศาสนาและศาสดาควรได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้ชาวมุสลิม มีเหตุผลบ้าง หรือ ในเว็บไซต์บางแห่งที่ดำเนินการโดยชาวมุสลิมก็เห็นว่า การ์ตูนในประเทศอาหรับ และสื่อมวลชนในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามก็ได้ลงภาพ ศาสนายิวและชาวอิสราเอล เป็นเหมือนปีศาจหรือวิญญาณชั่วร้าย เช่นเดียวกัน นักวิจารณ์ด้าน Multicultural and Islamophobia ให้ความเห็นว่า ในโลกสมัยใหม่ที่เสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้ ชาวมุสลิมแต่ละคนต้องใช้วิจารณญาณและตัดสินด้วยตนเองว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้หรือไม่ เราไม่ใช่เด็กๆ ที่ต้องเชื่อสิ่งที่ผู้ใหญ่สอน เราทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ทุกๆ คนต้องปฏิบัติต่อคนอื่นและก็ต้องการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ชาวมุสลิมก็เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่ต้องการเสรีภาพ ในการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ และท้าทายศาสนาของตนเอง

ประเด็นสำคัญของกรณีนี้อยู่ที่ว่าการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่สามารถกระทำได้หรือไม่ หรือทำได้ภายใต้ขอบเขตของการเคารพ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย หรือไม่สามารถกระทำได้ อะไรคือเส้นแบ่งหรือตัวชี้วัดของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

หากพิจารณาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๙ เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในข้อ ๑๙ เช่นกัน ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานของสิทธิมนุษยชน ดังนี้

บทบัญญัติข้อ ๑๙ กำหนดให้คุ้มครอง “สิทธิที่จะมีความเห็นโดยไม่มีการแทรกแซง” ข้อนี้มุ่งหมายมิให้รัฐบาล จำกัดเสรีภาพทั้งปวงของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น โดยกติกาไม่ยอมให้มีข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดใดๆ ในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว

บทบัญญัติข้อ ๑๙ (๒) กำหนดให้คุ้มครองสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก ซึ่งไม่เพียงรวมถึงเสรีภาพในการ “รับและเผยแพร่ข้อสนเทศและความคิดทุกประเภท” เท่านั้น แต่รวมถึงเสรีภาพในการ “แสวงหา” และ “รับ” ข้อมูลข่าวสาร โดย “ไม่มีพรมแดน” และด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่ว่าด้วย “วาจา ลายลักษณ์อักษร การพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่ออื่นตามที่ตนเลือก”

บทบัญญัติข้อ ๑๙ (๓) เน้นชัดเจนว่า การใช้สิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออกย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนั้น จึงยอมให้มีการจำกัดสิทธิที่อาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือชุมชนส่วนรวม อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกไม่ควรจะกระทบกระเทือนการได้รับสิทธินั้น ซึ่งเมื่ออ่านข้อความ ในข้อ ๑๙ (๓) แล้วจะเห็นว่า แม้ประชาชนจะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มากมาย โดยไม่จำกัด และไม่คำนึงถึงเขตแดน แต่การใช้เสรีภาพดังกล่าวต้อง “มีความรับผิดชอบ” ควบคู่ไปด้วย เพื่อการ “รักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมของประชาชน”

แสดงว่าเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความสงบเรียบร้อย และศีลธรรม ตามนัยนี้ การที่สื่อมวลชนในเดนมาร์ก หรือในยุโรป สามารถใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน ตามข้อ ๑๙ ได้เต็มที่ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ถ้าเรื่องที่แสดงความเห็นนั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และศีลธรรม ตรงนี้เองที่ประเทศในตะวันตกไม่มีข้อจำกัด ต่างจากประเทศในภูมิภาคตะวันออก และตะวันออกกลาง ที่สิทธิมนุษยชนมีข้อจำกัดทางด้าน ”วัฒนธรรม” เข้ามาเกี่ยวข้อง

การปฏิบัติศาสนกิจ การแสดงออกในความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา และการแสดงออกทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการแต่งกาย การใช้ภาษาถิ่น การร้องรำทำเพลง ประเด็นเหล่านี้ มีความละเอียดอ่อนที่ต้องได้รับการเคารพ จากทุกฝ่าย ที่มีภาษา วัฒนธรรมที่แตกต่างหรือหลากหลาย

จุดนี้เองที่เป็นข้ออ่อนของสังคมตะวันตก ที่มักอ้างประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างไม่คำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในบ้านเรา มีคำพูดหรือการแสดงออกที่เคารพความหลาก หลายทางวัฒนธรรมอยู่หลายเรื่อง เช่น “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” หรือ “ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นต้น

บทเรียนจากกรณีการ์ตูนนี้ น่าจะทำให้ประเทศตะวันตกมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น และควรกลับไปพิจารณาข้อบัญญัติของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๙ (๓) ที่ว่า รัฐภาคีอาจตั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อ “คุ้มครองสิทธิหรือชื่อเสียงของผู้อื่น ความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน” โดยพิจารณาออกข้อจำกัดเป็นกฎหมายว่า “การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้จะต้องบังคับใช้เพื่อจุดประสงค์ตามบทบัญญัติข้อ ๑๙ (๓) หากมีการใช้เสรีภาพไปกระทบกระเทือนถึงสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นที่มี ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รัฐสามารถจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพนี้ได้ ตามที่จำเป็น”

อย่างไรก็ตามประชาชนในประเทศต่างๆ ที่มีภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เมื่อถูกพาดพิงถึง หรือเมื่อมีการแสดงความคิดเห็นกระทบถึงกลุ่มตน ย่อมสามารถแสดงออกถึงการคัดค้านหรือแสดงความไม่เห็นด้วย ภายใต้กรอบของการแสดงความคิดเห็นอย่างเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น เช่นเดียวกัน ในกรณีการ์ตูนนี้ ชาวมุสลิมที่ไม่เห็นด้วยกับการตีพิมพ์ ย่อมประท้วงสื่อมวลชนที่ตีพิมพ์ ด้วยการแสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชน ด้วยการประท้วงบรรณาธิการ ด้วยการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย ไม่จำเป็นต้องแสดงอาการโกรธกริ้ว เผา ทำลายสัญลักษณ์หรือทรัพย์สินของผู้อื่นดังที่ผ่านมา เพราะในโลกสมัยใหม่ย่อมถือว่า บุคคลทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเท่าเทียมกัน บนพื้นฐานของการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

นับว่ายังดีที่รัฐบาลเดนมาร์กได้ออกมาขอโทษชาวมุสลิม แต่เนิ่นๆ แม้ว่าจะไม่ทำให้ชาวมุสลิมพอใจเท่าใดนัก แต่เมื่อรัฐบาลกระทำผิด นักการเมืองในประเทศที่มีวัฒนธรรมของประชาธิปไตยที่ดี ยินดีออกมากล่าวคำ “ขอโทษ”ประชาชน แต่อนิจจา เมืองไทย ยังไม่เคยเห็นนักการเมือง หรือนายกรัฐมนตรีคนไหน ออกมากล่าวคำขอโทษประชาชน แม้แต่คนเดียว


Dr.Yunes Teinaz,spokesman for the London Mosque and Islamic Culture Centre ให้สัมภาษณ์ใน BBC
Al-Khoei Foundation, คำให้สัมภาษณ์ของ Sayeed Nadeem สมาชิกขององค์กร กับ BBC
Munira Mirza.commentator on Multicultual issues and Islamophobia, ให้สัมภาษณ์  bbc
ข้อ ๑๙ ๑. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
             ๒. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวง หา
รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่น ตามที่ตนเลือก
             ๓. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค ๒ ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ
               (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
               (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน

ความคิดเห็น
เห็นด้วย
เขียนโดย มาโคร เปิด 2012-04-04 10:32:09
เห็นด้วยจริงๆ

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >