หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow รัฐบาลทักษิณ กับกรณีคนหาย โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 75 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


รัฐบาลทักษิณ กับกรณีคนหาย โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Thursday, 15 June 2006


ยุติธรรมนำสันติ

ศราวุฒิ ประทุมราช

รัฐบาลทักษิณ กับกรณีคนหาย


ภาพจาก www.thaingo.orgหากกล่าวในแง่สิทธิมนุษยชนแล้ว สิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในชีวิตและร่างกาย ไม่มีใครมีสิทธิในการทำร้ายร่างกายผู้อื่นหรือไม่มีสิทธิในการฆ่าผู้อื่น แต่สิทธิมนุษยชนประการนี้ก็ยังได้รับการละเมิดอยู่ในทุกสังคมทั่วโลก เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเคิร์ต การบุกรุกเข้ายึดครองอิรัก หรือ อาฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร การปราบปรามชนกลุ่มน้อยในพม่า ในอินเดียหรือในอินโดนีเซีย เป็นต้น เมื่อหันมามองในประเทศไทย การฆ่าตัดตอนผู้ที่ถูกหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับค้ายาเสพติด การลอบสังหารรายวันในภาคใต้ การถูกอุ้มหายตัวไปของผู้ที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการฆ่ารายวันและการเผาสถานที่ราชการในภาคใต้ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในชีวิตและร่างกายอย่างร้ายแรงทั้งสิ้น


ในที่นี้ขอกล่าวถึงการหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความนักสิทธิมนุษยชนที่ได้เป็นปากเสียงให้แก่ผู้ต้องหาในคดีสำคัญที่เกี่ยวกับความไม่สงบในภาคใต้

เป็นที่ทราบกันดีว่านายสมชาย นีละไพจิตรได้หายตัวไปอย่างลึกลับเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ โดยได้ปรากฏตัวครั้งสุดท้ายที่ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ สาเหตุที่นายสมชายหายตัวไปสันนิษฐานว่ามาจากการรับว่าความให้แก่ผู้ต้องหา ๕ คนที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันการปล้นปืนที่กองพันทหารพัฒนาที่ ๔ (ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส) ซึ่งนายสมชายได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพฯว่ามีการซ้อมทรมานผู้ต้องหาทั้ง ๕ คนดังกล่าว และได้ไปอภิปรายในหลายเวทีว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวข้องกับการซ้อมทรมานให้มีการรับสารภาพ และนายสมชายจะเปิดเผยเรื่องดังกล่าวในศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องไม่พอใจสาเหตุประการที่สอง ก็คือ นายสมชายเป็นตัวตั้งตัวตีในการรวบรวมรายชื่อประชาชน เพื่อขอให้รัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนายสมชายได้กระทำในนามชมรมนักกฎหมายมุสลิม การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้กฎอัยการศึกในการปฏิบัติหน้าที่ไม่พอใจ เพราะหากมีการยกเลิกกฎอัยการศึกจริงๆ ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างยากลำบากขึ้น แต่ขณะเดียวกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการเคารพมากขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงได้การจับตัวนายสมชายมาเพื่อขอความร่วมมือ ไม่ให้ดำเนินการตามสิทธิและหน้าที่ของทนายความ แต่ไม่สามารถขอร้องนายสมชายได้ จึงมีการ ลงไม้ลงมือ เพื่อกำจัดนายสมชาย

ภาพจาก www.thaingo.orgพลเอกชวลิต ยงใจยุทธรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ว่า ”ผมมีข้อมูลว่านายสมชายได้พูดคุยกับใครในทำเนียบรัฐบาลก่อนเสียชีวิต” แต่เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษากรณีการหายไปของนายสมชาย วุฒิสภาได้ทำหนังสือเรียกให้มาให้ถ้อยคำ ชี้แจงข้อเท็จจริง แต่มิได้รับความร่วมมือแต่อย่างใด

๒๘ มีนาคม ๒๕๔๗ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในการประชุมหน่วยงานความมั่นคงตอนหนึ่งว่า “... เท่าที่ทราบได้รับข่าวในทางลับว่ามีเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง นำตัวนายสมชาย นีละไพจิตรไปดำเนินการบางอย่างที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้วเงียบหายไป...”

๘ เมษายน ๒๕๔๗ พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขออนุมัติหมายจับจากศาลอาญา ในการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๕ นาย ว่ามีส่วนร่วมในการหายตัวไปของนายสมชาย ได้แก่
๑) พ.ต.ต. เงิน ทองสุก สารวัตรประจำ กอ.รมน. ช่วยราชการกองปราบ
๒) พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์
๓) จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง
๔) ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต
๕) พ.ต.ท. ชัดชัย เลี่ยมสงวน

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้าคนได้รับการประกันตัว เพื่อต่อสู้คดี ในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด จำยอมต่อสิ่งใด โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้นและจำยอมต่อสิ่งนั้น โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป

จากการประมวลข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้เกิดคำถามถึงการดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้ ในกรณีนายสมชาย นีละไพจิตร ดังนี้
๑. พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในการเข้ารับตำแหน่งในการบริหารประเทศเป็นครั้งที่ ๒ ว่า จะตั้งศูนย์ติดตามคนหาย ตามที่ได้มีข้อมูลว่ามีผู้สูญหายไปเป็นจำนวนมากในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการหายไปของนายสมชาย นีละไพจิตรด้วย แต่ยังไม่มีความคืบหน้าหรือมีการแถลงผลการดำเนินงานในเรื่องนี้แต่อย่างใด

ภาพจาก www.thaingo.orgอย่าลืมว่าทั้งพลเอกชวลิต และนายกทักษิณ ได้ยอมรับต่อวุฒิสภาและที่ประชุมฝ่ายความมั่นคงแล้วว่า ได้พบเบาะแสของการหายตัวไปของนายสมชาย ตั้งแต่สัปดาห์แรกๆ ของการหายตัวไป แต่เมื่อมีการขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กลับไม่มาให้ข้อเท็จจริงตามที่วุฒิสภาเรียก จึงมีข้อน่าสงสัยว่า รัฐบาลจะรู้เห็นเป็นใจให้มีการ “อุ้ม”นายสมชายหรือไม่

๒. รัฐบาลไม่สามารถปัดความรับผิดชอบโดยอ้างว่า เรื่องนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของศาล แม้ว่าจะมีการฟ้องรองนายตำรวจ ๕ นายที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไป ก็ตาม

ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้แสดงความเห็นว่า “... การแสดงออกของผู้ใหญ่ในรัฐบาลไทยไม่โปร่งใสในหลายส่วน และถึงแม้มีการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ระดับกลาง-เล็ก แต่คำถามคือว่าแล้วใครรับผิดชอบกันแน่ในระดับที่สูงกว่านี้ ... กระบวนการ(สอบสวน)เจ้าหน้าที่มีความโปร่งใสตามหลักนิติธรรมหรือเปล่า ถ้าเป็นกรณีเจ้าหน้าที่ถูกกล่าวหา ก็ไม่น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มเดียวกันที่มาสอบสวน อันนี้ขัดกับหลักนิติธรรม โอกาสที่ลำเอียงมีเยอะ น่าจะเป็นฝ่ายอื่นมากกว่า แล้วก็น่าจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม” ประเด็นต่อมาศ.วิทิต ได้ตั้งข้อสังเกตว่า จะมีผู้ทำงานพิเศษของสหประชาชาติในเรื่อง การถูกบังคับให้หายสาบสูญ หรือ UN Working Group on Enforced Disappearance จะขอเดินทางเข้ามาในเมืองไทยในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่ตามธรรมเนียมแล้ว UN จะขอให้รัฐบาลเจ้าของประเทศที่จะเข้าไปตรวจสอบทำจดหมายเชิญ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้กลายเป็นการเข้าแทรกแซงโดยสหประชาชาติ แต่ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลไทยได้แสดงท่าทีเชื้อเชิญคณะทำงานชุดนี้ แต่อย่างใด

๓. นายสมชาย นีละไพจิตร ถือเป็นนักต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน คนหนึ่งที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการปกป้องสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้ต้องหา ในฐานะทนายความ ซึ่งมิได้รับผิดชอบคดีที่เกี่ยวกับปัญหาในภาคใต้เท่านั้น มีคดีอีกมากมายที่นายสมชายได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากสภาทนายความ แต่รัฐบาลนี้ไม่สามารถปกป้องสิทธิในชีวิตของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนได้เลย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายเจริญ วัดอักษร แกนนำกลุ่มอนุรักษ์หินกรูด หรือกรณีอื่นๆอีกกว่า ๑๕ คดีที่นักต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ถูกลอบสังหารจนเสียชีวิต รัฐบาลไม่มีมาตรการในการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพในการปกป้องนักต่อสู้เหล่านี้

จากข้อสังเกตของคำถามถึงรัฐบาลดังกล่าวจึงขอเสนอทางออกของกรณีการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ดังนี้

ภาพจาก www.thaingo.org๑. รัฐบาลต้องเชื้อเชิญให้คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการถูกบังคับให้หายสาบสูญ เข้ามาตรวจสอบการหายตัวไปของนายสมชายและกรณีอื่นๆที่เกิดขึ้นในภาคใต้ เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจและเต็มใจว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายไปของนายสมชาย และรัฐบาลพร้อมที่จะหาตัวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสูญหายของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาดำเนินการตามหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรม

๒. คณะกรรมการติดตามผู้สูญหายที่รัฐบาลได้แต่งตั้งขึ้นใหม่ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นประธานนั้น ต้องมีผู้แทนของภาคประชาชน องค์กรประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมด้วย เพื่อความหลากหลายของผู้คนในสังคม และการมีส่วนร่วมของประชาชน อันเป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐตามแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๖ ที่ว่า "รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ"

๓. รัฐบาลต้องถือเป็นภารกิจเร่งด่วนในการปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ทั้งในแง่การถอนรากถอนโคนผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในช่วงที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ และสร้างหลักประกันและมาตรการที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพื่อมิให้มีการลอบสังหาร การข่มขู่ คุกคามบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนอีกต่อไป


วิทิต มันตาภรณ์ คำอภิปรายในงานเสวนาเรื่อง "นโยบายการเมือง ปัญหาภาคใต้ และสมชาย นีละไพจิตร" วันที่ 28 มกราคม 2548

 

(จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๖๘ พ.ค. - ส.ค. ๒๕๔๘ หน้า ๖๖-๖๘)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >