หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow การเมืองภาคประชาชนว่าด้วยการเลือกตั้ง โดย ศราวุฒิ ประทุมราช
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 58 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การเมืองภาคประชาชนว่าด้วยการเลือกตั้ง โดย ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Thursday, 15 June 2006


ยุติธรรมนำสันติ
ศราวุฒิ ประทุมราช

การเมืองภาคประชาชนว่าด้วยการเลือกตั้ง


กว่าที่ผู้ไถ่ฉบับนี้จะถึงมือผู้อ่าน ก็คงทราบกันแล้วว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาในรูปใด พรรคใดจะได้เป็นรัฐบาลและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากเด็ดขาดหรือไม่ อย่างไรก็ตามบทความนี้คงต้องขอเท้าความถึงบทบาทของประชาชนต่อการเลือกตั้ง เพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับการมองการเมืองไปข้างหน้า


ภาพจาก www.asoke.info การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 นับแต่เราได้ใช้รัฐธรรมนูญเมื่อปี 2540 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างน้อย 3 ประการ กล่าวคือ
1. การรับรองสิทธิเสรีภาพใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ง่าย เช่น สิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิในการเป็นเจ้าของและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม เป็นต้น
2. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองทุกระดับ ตั้งแต่การปกครองส่วนท้องถิ่น จนถึงการตรวจสอยการใช้อำนาจรัฐระดับชาติ
3. การลดอำนาจรัฐโดยการทำให้ระบอบการเมืองมีความเข้มแข็ง ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ นายกรัฐมนตรีถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ยากขึ้น การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีกลไกใหม่ๆในการตรวจสอบอำนาจรัฐ และกลไกในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น อันจะทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น

ถามว่าภาคประชาชนมีความเข้มแข็งมากพอหรือยัง ในการที่จะปกครองตนเองและใช้อำนาจใหม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือไม่

คำตอบคือ ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ซึ่งสาเหตุมาจากประเด็นต่อไปนี้
1. ประชาชนโดยทั่วไปยังถูกครอบงำทางความคิด โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักการเมืองในกระแสหลัก ทั้งนี้ข้าราชการยังเป็นผู้กุมอำนาจไม่ยอมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม โดยมีนักการเมืองเป็นผู้สนับสนุน สังเกตได้จากนโยบายสงครามปราบปรามยาเสพติด ที่ประชาชนไม่มีส่วนเริ่มต้นว่าจะทำอย่างไร มีแต่นายกทักษิณออกมาเตือนผู้ค้า ผู้จำหน่ายว่า "ให้ระวังตัวเพราะรัฐจะปราบปรามอย่างเด็ดขาด" และรัฐบาลก็ทำอย่างที่ว่าจริงๆ ความเด็ดขาดในการใช้อำนาจรัฐดังเช่นการ “ฆ่าตัดตอน” โดยไม่สามารถจับกุม "ผู้ฆ่า" ได้ นั้นด้านหนึ่งประชาชนเห็นด้วยกับการกระทำของรัฐ ซึ่งไม่ต่างจากสมัย “เผด็จการสฤษดิ์ ถนอม ประภาส” ในอดีตที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจเบ็ดเสร็จตามรัฐธรรมนูญ ในการเข่นฆ่าผู้วางเพลิง หรือนักเลงอันธพาลได้ โดยไม่ต้องนำตัวมาขึ้นศาล ฝ่ายราชการเองก็ไม่กล้าขัดขวางนโยบายนี้ เพราะมีการเชือดไก่ให้ลิงดู ด้วยการย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตั้งคำถามต่อการปราบปรามโดยไม่ผ่านกระบวนการยุตอธรรม และการที่ไม่สามารถจับกุมหรือให้ข้อมูลว่าในจังหวัดนั้นๆมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กี่รายได้

สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำและบอกว่านี่คือการมีส่วนร่วม ก็ คือ การจัดประชุมประชาคมป้องกันยาเสพติด การให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านส่งรายชื่อลูกบ้านที่ "น่าสงสัย" ว่ามีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ถามว่านโยบายนี้ ได้ถอนรากถอนโคนขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่ได้บ้างหรือไม่ และความยั่งยืนของสังคมในการปกป้องมิให้เยาวชนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้มลายหายไปจากสังคมไทยหรือไม่ นี่คือความล้มเหลวของนโยบาย เร่งรีบ เพื่อประกาศว่ารัฐบาลได้ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ จะได้มีเสียงดีขึ้นในการเลือกตั้งสมัยหน้า นั่นเอง

ตัวอย่างอีกหลายเรื่องที่ประชาชนถูกครอบงำทางความคิด เช่น การมอบให้จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่เกิดขึ้น ฝ่ายราชการยังคงมองว่าภาคประชาชนยังไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะดูแลรักษาป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร การออกกฎหมายป่าชุมชนจึงยังถูกผูกขาดองค์ความรู้ในหมู่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ หรือ กฎหมายที่ดิน

การจัดการคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ ยังไม่เกิดขึ้น แต่การจัดการกิจการโทรคมนาคม กลับไปอยู่ในมือ ของอดีตข้าราชการที่ทำงานเกี่ยวกับโทรคมนาคมและนักธุรกิจที่เคยทำงานในกิจการโทรคมนาคม ทำให้ กทช.หรือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีความไม่ชอบธรรมในการดำเนินการ นอกจากนี้เพียงเดือนแรกของการเข้ารับตำแหน่ง คณะกรรมการกทช.ยังสวนกระแสด้วยการขอขึ้นเงินเดือนตัวเอง เป็นเดือนละ 1 ล้านบาท โดยอ้างว่าเพราะรายได้ที่เคยได้รับในธุรกิจโทรคมนาคมนั้นมากกว่านี้ และต้องดูแลธุรกิจที่มีเม็ดเงินกว่า แสนล้านต่อปี ทำให้ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นต้น


2. คนไทยจำนวนหนึ่งไม่รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารและได้รับผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลพรรคไทยรักไทยใช้นโยบายประชานิยม ทุ่มเงิน ทุ่มงบประมาณลงไปในชุมชน เพื่อให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในชุมชนทำให้ประชาชนบางกลุ่มได้รับประโยชน์ การพยายามโฆษณาว่าประชาชนรากหญ้าสามารถผลิตสินค้าของท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพ จึงเกิดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นมามาก ซึ่งอ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยพบว่า กว่า 50 % ของสินค้าโอท็อป เป็นพ่อค้าขนาดใหญ่ที่ไปจดทะเบียนหวังงบสนับสนุนจากรัฐ และไปจ้างเหมาช่วงให้ ชาวบ้านในชุมชนเป็นผู้ผลิต ทำนองเดียวกับการผลิดเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบลนเนมน์ ยี่ห้อดังๆ ผู้ผลิต หรือบริษัทที่ได้รับลิขสิทธิ์จากเจ้าของยี้ห้อ จะไปจ้างร้านเล็กๆ หรือคนงานรายย่อยให้ผลิตสินค้าให้ โดยจ่ายค่าจ้างแบบเหมาโหล ซึ่งจะทให้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่คุณภาพดี ขายได้ในราคาแพง

ส่วนชาวบ้านที่ต้องการผลิตสินค้าของชุมชนบางส่วนไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องแข่งขันกับผู้ผบิตสินค้ามืออาชีพ จึงไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร หรือ นโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ประชาชนในชนบทมักไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ทราบแต่เพียงว่า ทรัพย์ที่มีอยู่อาจมีค่านำไปจำนอง จำนำ ค้ำประกันหนี้เงินกู้ได้ แม้แต่ชายทะเลที่น้ำท่วมถึงภายในระยะ 3 กิโลเมตรริมฝั่งอันเป็นเขตประมงชายฝั่ง ก็ถูกนำไปศึกษาว่าจะสามารถแบ่งตารางกันเพื่อแบ่งเขตการจับปลา คล้ายๆกับชาวนาต้องมีที่ทำกินของตนเอง ที่ในทะเลนั้น ชาวประมงก็ต้องทำแบบนั้น ใครจะจับปลานอกเขตที่นาของตนย่อมไม่ได้ และสามารถนำที่นา ในทะเลไปค้ำประกันได้ เพราะเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาแล้ว เป็นต้น

ภาพจาก www.asoke.infoจากสาเหตุที่ยกตัวอย่างมาเพียง 2 ประการ ทำให้สังคมไทยในวันนี้ การเมืองภาคประชาชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ยังเป็นจริงได้ค่อนข้างช้า มีอยู่เรื่องเดียวที่ยังพอมีความหวัง นั่นคือ การตรวจสอบทุจริต ภาคประชาชน โดยกลุ่มคุณรสนา โตสิตระกูล ที่เคยทำกรณีการทุจริตในกระทรวงสาธารณสุขเมื่อหลายปีก่อน จนสามารถนำนักการเมืองติดคุกได้ แต่ยังคงเกาะติดการนำตัวข้าราชการในกรณีเดียวกันมาลงโทษอีก
นี่คือตัวอย่างของการเมืองภาคประชาชนที่เป็นจริง เพราะไม่เพียงการไปหย่อนบัตรเพื่อเลือกนักการเมืองและพรรคการเมืองในดวงใจแล้ว ยังต้องดูว่าพรรคนั้นๆ สามารถนำประเทศไปสู่ความเจริญรุดหน้า โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนด้วย ที่สำคัญ นโยบายของพรรคการเมืองเป็นนโยบายที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือ ว่าเป็นนโยบายที่มาจากนักการเมืองหรือ กลุ่มคนผู้ต้องการได้รับประโยชน์จากการเข้ามาเล่นการเมือง

แม้ว่าองค์การพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนจะพยายามมีส่วนร่วมในการนำเสนอนโยบายให้พรรคการเมือง เช่น องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เสนอให้ออกกฎหมายป่าชุมชนโดยเร็ว รัฐวิสาหกิจก็เสนอนโยบายไม่ให้ขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน (แต่ อ.ส.ม.ท. ได้ดำเนินการไปล่วงหน้าแล้ว) องค์การพัฒนาเอกชนในภาคอีสานเสนอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครการพัฒนาของรัฐ ส่งเสริมการจัดการลุ่มน้ำ ไม่สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ไม่นำเข้าปุ๋ยเคมีแต่ส่งเสริมกาทำปุ๋ยชีวภาพ

ที่สำคัญจิตวิญญาณของการระดมทุนในหมู่ประชาชนในรูปของสหกรณ์ ได้หายไปแล้ว เพราะการทุ่มเม็ดเงินลงไปให้ประชาชน ตามนโยบายการตลาดเพื่อประชาชนของพรรคไทยรักไทย จึงส่งผลให้ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างคนในชุมชนสั่นคลอนลง การเก็บออมเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การใช้จ่ายเงินเพื่อให้ทันกระแสสังคมได้เข้ามาแทนที่

หากเราต้องการเห็นการเมืองภาคประชาชนที่มีประสิทธิภาพ เราคงต้องใช้เวลาในการในการมองการเมืองว่าเป็นเรื่องของอนาคตของคนในรุ่นต่อๆไป มิใช่การเมืองเพื่อความอยู่ดี กินดีในชั่วปีนี้หรือ 4 ปีข้างหน้า แต่การวางรากฐานของการจัดการคุณภาพชีวิต คุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพทางความรู้ของประชาชนจะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเป็นไปของผู้คนในโลก โดยเฉพาะเพื่อนบ้านรอบๆตัวเรา ว่าเราจะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนรอบบ้านเราอย่างไร เพื่อให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ทัดเทียมกับเรา เพื่อนบ้านไม่ใช่คู่แข่งของเรา และเพื่อนร่วมโลกที่อื่นๆก็ไม่ใช่คู่แข่งของเราเช่นกัน

การเมืองภาคประชาชน อาจไม่ประสบผลในอีก 4 ปี ที่เราจะมีรัฐบาลใหม่ แต่การเมืองภาคประชาชนจะประสบผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามจังหวะก้าวของสำนึกของทุกกลุ่มในสังคม แล้ววันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่านมีส่วนในการสร้างสรร การเมืองภาคประชาชนหรือไม่?

(จาก วารสารผู้ไถ่ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๖๗ ม.ค. - เม.ย ๒๕๔๘ หน้า ๖๘-๗๐)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า