หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 212 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) พิมพ์
Wednesday, 07 June 2006


อาสาว่าด้วยเรื่อง UN กันอีกหน คราวนี้ว่าด้วยเรื่อง

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

ทุกรูปแบบ (CEDAW)

อาสามาเล่าโดย ชื่นสุข อาศัยธรรมกุล


Image

“ผู้ไถ่” ฉบับที่แล้ว คุณต้นกล้วยได้เล่าถึงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษากลไกการทำงานขององค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) และกรอบของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) รวมถึงการส่งผู้แทนจากภาคประชาชนไทย (ประกอบด้วยตัวแทนจาก NGOs 4 คน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4 คน และสื่อมวลชน 2 คน) ไปร่วมสังเกตการณ์การพบปะซักถามระหว่าง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(Human Rights Commission - HRC) กับผู้แทนรัฐบาลไทย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปแล้ว

มาคราวนี้คุณตุ่ม (ชื่นสุข อาศัยธรรมกุล) ขอมาเล่าเรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) บ้าง ซีดอนี้ก็เป็นอนุสัญญาหนึ่งภายใต้ร่มองค์การสหประชาชาติ และมีกลไกและขั้นตอนการดำเนินงานคล้ายกับอนุสัญญา หรือกติการะหว่างประเทศอื่นๆ เนื่องจาก UNIFEM หรือกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ สำนักงานเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโครงการ CEDAW เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CEDAW SEAP) คุณตุ่ม (ในนามแนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง) ได้มีโอกาสเดินทางไปกับคุณอุษา เลิศศรีสันทัด จากมูลนิธิผู้หญิง เป็นผู้แทนภาคประชาชนของไทยไปร่วมในการอบรม เพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการซีดอ (CEDAW Commission) ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้แทนภาคประชาชนจะได้นำเสนอประเด็นสถานการณ์ และปัญหาเกี่ยวกับผู้หญิงไทยจากมุมมองของภาคประชาชน ให้คณะกรรมการซีดอได้รับทราบ รวมทั้งการได้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์การนำเสนอรายงานของผู้แทนรัฐ(State Party) ต่อคณะกรรมการซีดอ(CEDAW Commission) และติดตามรับฟังการซักถาม การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการซีดอมีต่อผู้แทนรัฐด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคประชาชนจะต้องให้ความสนใจเพื่อติดตามการทำงานของรัฐให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะนั้นต่อไป

Imageการอบรมครั้งนี้ชื่อว่า “From Global to Local” จัดโดย INTERNATIONAL WOMEN’S RIGHTS ACTION WATCH - ASIA PACIFIC (IWRAW Asia Pacific) ระหว่างวันที่ 1 - 9 กรกฎาคม 2548 ณ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา มีผู้เข้าร่วมจาก 9 ประเทศ รวม 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นตัวแทนจากประเทศที่มีผู้แทนรัฐมานำเสนอรายงานระหว่างวันที่ 5 - 14 กรกฎาคม 2548 นี้ คือ ประเทศ เบนิน แกมเบีย กูยานา ไอร์แลนด์ อิสราเอล และเลบานอน ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ผู้แทนรัฐจะมานำเสนอรายงาน ในเดือนมกราคม 2549 มีประเทศกัมพูชา ไทย ออสเตรเลีย และมาเซโดเนีย โดยผู้จัดมีความมุ่งหวังว่าจะสามารถเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นประเทศ กับกระบวนการรายงานอย่างเป็นทางการในระดับนานาชาติขององค์การสหประชาชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้พันธกิจของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ(ซีดอ) และยังเป็นโอกาสที่จะสร้างเครือข่ายความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่ NGOs ด้านผู้หญิงทั่วโลกด้วย

การอบรมครั้งนี้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ใช้เวลา 3 วัน เป็นการอบรมและฝึกปฏิบัติ มีเนื้อหาประกอบด้วย อนุสัญญาซีดอในระบบสิทธิมนุษยชน บทบาทของ NGOs และคณะกรรม การซีดอ ทำความเข้าใจความหมายของความเท่าเทียม รายละเอียดเนื้อหาของอนุสัญญาซีดอ และการใช้อนุสัญญาซีดอ และฝึกการล็อบบี้ ส่วนที่สอง เป็นการเข้าไปร่วมในที่ประชุมคณะกรรมการซีดอ ในอาคารที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ เป็นเวลา 10 วัน (หากประเทศใดเสร็จก่อนก็กลับก่อน รวมทั้งผู้ที่จะต้องมาอีกครั้งในเดือนมกราคมปีหน้าด้วย แต่ทุกคนก็อยู่ร่วมกระบวนการอย่างน้อย 4 วัน เพื่อร่วมสังเกตการณ์ และช่วยเพื่อนๆ ในการเตรียมตัวนำเสนอรายงาน และล็อบบี้คณะกรรมการ) โดยก่อนที่จะมีการประชุมอย่างเป็นทางการ 1 วัน (ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการซีดอจะรับฟังการรายงานของผู้แทนรัฐประเทศ (State Party) จะมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างคณะกรรมการซีดอกับผู้แทน NGOs ที่มาจากประเทศที่มีผู้แทนรัฐประเทศมานำเสนอรายงานในการประชุมครั้งนี้ ส่วนผู้แทน NGOs คนอื่นๆ ก็เป็นผู้สังเกตการณ์ เพื่อเรียนรู้และเตรียมตัวเมื่อถึงเวลาของตัวเอง

(แม้การประชุมระหว่างคณะกรรมการซีดอและตัวแทน NGOs นี้จะเรียกว่า “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ” แต่วิธีการเป็นทางการมาก โดยผู้แทนNGOs ที่ต้องการลุกขึ้นพูดในที่ประชุม จะต้องแจ้งชื่อต่ออนุกรรมการล่วงหน้า เมื่อประธานที่ประชุมประกาศชื่อของผู้นั้นในที่ประชุม เจ้าหน้าที่จึงจะเปิดไมโครโฟนให้ และผู้พูดต้องพูดให้จบภายในเวลาที่ประธานฯ กำหนด เช่น หากมีการกำหนดเวลาให้ 5 นาที เมื่อผู้พูดเริ่มพูด ไฟเขียวที่โต๊ะประธานจะติดขึ้น เมื่อครบ 5 นาที จะเปลี่ยนเป็นไฟแดง ผู้พูดควรจะหยุดพูดหรือรีบสรุป หากพูดเกินเวลามากๆ ประธานอาจจะสั่งให้ปิดไมโครโฟน หรือประธานอาจจะตำหนิผู้พูดในที่ประชุมได้)

ในการร่วมประชุมนี้ NGOs ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของภาคประชาชนจะต้องกล่าวถ้อยแถลง ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งที่เป็นภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติ (ภาษาอังกฤษ เรียกว่า make statement) ถึงสถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง ที่ภาคประชาชนเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญหรือเร่งด่วน โดยจะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาให้ตรงกับมาตราต่างๆ ในอนุสัญญาซีดอ พร้อมทั้งต้องเสนอแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหานั้นๆ อย่างชัดเจนพอสมควร หลังจากนั้นกรรมการบางท่านอาจจะซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม ก็เป็นโอกาสที่ตัวแทน NGOs จะได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนั้นสิ่งที่ตัวแทน NGOs มีโอกาสและควรจะทำคือ การล็อบบี้กรรมการนอกห้องประชุม อาจจะเป็นระหว่างอาหารเช้าก่อนเริ่มการประชุม ระหว่างเวลาอาหารกลางวัน หรือตอนเย็นหลังเลิกประชุม ต้องกระตือรือร้นและทำงานหนักเอาการอยู่นะคะตัวแทน NGOs เนี่ยะ (วิทยากรบอกเคล็ดลับว่า ไม่ควรเข้าไปหากรรมการขณะที่ท่านลุกจากที่ประชุมไปห้องน้ำ เป็นเวลาที่ไม่เหมาะสม ...อืม ! เป็นคำแนะนำที่น่ารับฟังอย่างยิ่ง)

เมื่อเสร็จกระบวนการ 9 วันนี้แล้ว เราขอบอกว่าเรามีความมั่นใจขึ้นมาก ที่จะเล่นบทบาทตัวแทนภาคประชาชนในการประชุมระดับนานาชาติขององค์การสหประชาชาตินี้ และเรามีงานที่ต้องทำเพื่อเตรียมตัวก่อนไปร่วมประชุมซีดออีกครั้งในเดือนมกราคม 2549 คือ

- ติดตามคำถามที่คณะกรรมการซีดอจะส่งมาที่ผู้แทนรัฐไทย ซึ่งผู้แทนรัฐไทยจะต้องเตรียมไปตอบคำถามในเดือนมกราคมปีหน้า คำถามนี้เกิดขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการซีดอได้อ่านรายงานและได้มีการประชุมเตรียมล่วงหน้า(เรียกว่า pre-session โดยคณะกรรมการชุดเล็ก 5 ท่าน ประชุมกันไปเมื่อวันที่ 25 – 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา) NGOs ต้้องเตรียมข้อมูลจากภาคประชาชนเพื่อไปนำเสนอตามคำถามของคณะกรรมการเช่นกัน

- ประชุมผู้ร่วมเขียนรายงานภาคประชาชน หรือ Shadow Report เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเตรียมการนำเสนอประเด็นสำคัญหรือข้อเรียกร้องในถ้อยแถลง (statement) ที่จะไปนำเสนอในการประชุมเดือนมกราคมปีหน้าด้วย

- เรามีข้อตกลงร่วมกับเพื่อนจากประเทศอื่นคือ ประเทศกัมพูชา และออสเตรเลีย ที่จะทำ Regional Statement ในประเด็นการค้ามนุษย์ด้วย

- เราจะล็อบบี้รัฐไทยให้เห็นความสำคัญของการประชุมนี้ และส่งผู้แทนระดับสูงไปร่วมการประชุมที่กำลังจะมาถึงนี้

- และเมื่อไปร่วมประชุมในเดือนมกราคมปีหน้ากลับมาแล้ว เรามีงานต้องทำอีกอย่างน้อย 2 อย่าง คือการติดตามให้รัฐไทยปฏิบัติตามข้อแนะนำของคณะกรรมการซีดอ โดยถือเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน และเตรียมทำรายงานภาคประชาชน (Shadow Report) ฉบับต่อไปด้วย


ซีดอ เป็นอนุสัญญาเกี่ยวกับผู้หญิง

อนุสัญญาฉบับนี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW) จึงมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “ซีดอ”

อนุสัญญาซีดอเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีบรรทัดฐานสากลว่าถึงแนวทางปฏิบัติอันควรต่อสตรีทั่วโลก รัฐภาคีมีข้อผูกพันในการที่ต้องนำอนุสัญญาฯ ไปปฏิบัติ แม้ไม่มีบทลงโทษ โดยคำนึงถึงปัญหารายละเอียดที่ต้องแก้ไขในแต่ละประเทศ เพื่อให้ผู้หญิงมีโอกาสบรรลุซึ่งสิทธิของตนอย่างแท้จริง โดยมีคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี แห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “คณะกรรมการซีดอ” ทำหน้าที่เป็นกลไกติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานของรัฐประเทศต่างๆ ประเทศที่ลงนามในอนุสัญญานี้จะต้องส่งรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้หญิงในประเทศของตนให้คณะกรรมการซีดอ และต้องไปนำเสนอรายงานในที่ประชุม พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการซีดอ ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ทุก 4 ปี


คณะกรรมการซีดอ

คณะกรรมการซีดอมีสมาชิก 23 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาของผู้หญิงจากทั่วโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียมีผู้เชี่ยวชาญจาก 6 ประเทศคือ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์

คณะผู้เชี่ยวชาญจะมาทำงานร่วมกัน ในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ของทุกปี โดยคณะกรรมการต้องรับฟังรายงานของรัฐบาลแต่ละประเทศที่มาเสนอรายงานทุก 4 ปี ขณะเดียวกันก็เลือกผู้เชี่ยวชาญ 1 คน เพื่อทำหน้าที่จัดทำข้อสรุป รายงาน และข้อเสนอแนะให้แก่ประเทศที่เสนอรายงาน ข้อสรุปรายงานและข้อเสนอแนะต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการทั้ง 23 คน โดยรัฐประเทศนั้นๆ ถูกคาดหวังว่าต้องปฏิบัติตาม

ในขั้นตอนนี้ทางคณะกรรมการได้เปิดโอกาสให้มีการทำรายงานภาคประชาชน จากองค์กรอิสระแต่ละประเทศเข้านำเสนอด้วย จึงเป็นโอกาสให้ผู้แทนภาคประชาชนจะทำการล็อบบี้เพื่อชูประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญมาก ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งควรมีข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในสิ่งที่ภาคประชาชนต้องการ


ฐานะของประเทศไทยในอนุสัญญา

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยวิธีภาคยานุวัติ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2528 โดยจนถึงปัจจุบัน ยังคงมีข้อสงวนที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้เพื่อขอเป็นการยกเว้นไม่ผูกพันตามอนุสัญญาฯ 2 ข้อ คือข้อ 16 (เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส) และข้อ 29 (เรื่องการให้อำนาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท)

กรณีประเทศไทย เมื่อรัฐให้สัตยาบันว่าจะนำ ซีดอ มาใช้ ดังนั้นถ้ามีการส่งเสริมสถานภาพสตรีจริง ก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้ เช่น

- มีการแก้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง
- มีหลักสูตรเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิมนุษยชนของสตรีในการศึกษาทุกระดับ
- ให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในงานระดับบริหาร ในทุกส่วนของสังคม
- ในการออกกฎหมาย โดยเฉพาะที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้หญิง ต้องให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วม หรือปรึกษาหารือผู้หญิง



ภาคประชาชนใช้ประโยชน์จากซีดอได้อย่างไรบ้าง

- เข้าร่วมในการจัดทำรายงานภาคประชาชน หรือ Shadow Report
- มีประเด็นปัญหาสตรีมากมายที่เราน่าจะนำอนุสัญญามาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเคลื่อนไหว
- อาจเสนอให้ใช้มาตรการพิเศษชั่วคราว ในการบรรลุความเสมอภาค ซึ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขในการเข้าถึงสิทธิของผู้หญิง
- เข้าไปล็อบบี้คณะกรรมการซีดอที่นิวยอร์ค
- ใช้อนุสัญญาเข้าไปล็อบบี้หน่วยงานรัฐและราชการ ให้เปิดช่องทางเอื้อต่อการสร้างความเสมอภาค
- ใช้รายงานของรัฐบาลที่มีอยู่ในการกดดันให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐให้สัญญาว่าจะทำให้เกิดขึ้น


การเลือกปฏิบัติ หมายความว่าอย่างไร

การเลือกปฏิบัติ หมายถึง การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจำกัดใดๆ เพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งมีผล หรือมีความประสงค์ที่จะทำลาย หรือทำให้เสื่อมเสียต่อการยอมรับที่จะให้ผู้หญิงได้ใช้สิทธิของตนเองโดยไม่เลือกสถานภาพด้านการสมรส บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรีของสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเมือง หรือด้านอื่นๆ

อนุสัญญาซีดอ พูดถึงการขจัดการเลือกปฏิบัติและการสร้างความเท่าเทียม ระบุชัดถึงผลที่ต้องการให้สตรีได้รับ เช่น ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมถึงการรับรองสิทธิและความเสมอภาคของสตรีในฐานะมนุษยชนผู้หนึ่งด้วย

การขจัดการเลือกปฏิบัติมิได้ขจัดเพียงเฉพาะสิ่งที่มีเขียนไว้ในกฎหมาย หรือระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ เท่านั้น แต่ย้ำถึงการเลือกปฏิบัติที่มีผลในทางปฏิบัติ และมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของชายและหญิงในสังคมและครอบครัว เพื่อให้บรรลุถึงความเสมอภาคอย่างเต็มที่ โดยตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมและประเพณี ที่มีผลต่อการจำกัดโอกาสที่ผู้หญิงจะได้รับสิทธิพื้นฐานของตน ข้อจำกัดเหล่านี้มีในรูปแบบหลากหลายทั้งทางด้านกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ และเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่ของรัฐเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่องค์กรต่างๆต้องให้ความสนใจด้วย

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >