หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 117 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง โจทย์ที่เด็กรุ่นใหม่ตั้งคำถาม และเลี้ยงลูกอย่างไรในสังคมแห่งความอยุติธรรม พิมพ์
Wednesday, 11 May 2022

Image
วารสารผู้ไถ่
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑๑๘ ม.ค. - เม.ย. ๒๕๖๕


ความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง โจทย์ที่เด็กรุ่นใหม่ตั้งคำถาม
และเลี้ยงลูกอย่างไร ในสังคมแห่งความอยุติธรรม?
ผ่านบทสัมภาษณ์ หมอโอ๋ เพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน'

องอาจ เดชา สัมภาษณ์


‘ภู เชียงดาว' คุณพ่อคนหนึ่งที่มีลูกเรียนโฮมสคูล ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยสนทนากับ แพทย์หญิงจิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนาม "หมอโอ๋" เจ้าของเพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน'

เป็นบทสนทนาว่าด้วยเรื่องชีวิต และแรงบันดาลใจ ที่สั่งสมประสบการณ์การทำงานของคุณหมอ ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ จนเข้าใจ มองเห็นปัญหาโครงสร้างของสังคม และพยายามใช้ทักษะในการสื่อสารเพื่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในท่ามกลางความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง และสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำสูงมากในขณะนี้ ...

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
ถอด ‘คลังความทรงจำ' ของปราชญ์ผู้รู้ ผู้สูงวัย กับคนรุ่นใหม่ จะเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร... พิมพ์
Friday, 06 May 2022

Image
วารสารผู้ไถ่
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑๑๘ ม.ค. - เม.ย. ๒๕๖๕

 

ถอด ‘คลังความทรงจำ' ของปราชญ์ผู้รู้ ผู้สูงวัย กับคนรุ่นใหม่
จะเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร ไม่เดินหลงทาง

องอาจ เดชา เรื่อง/สัมภาษณ์



 

เพราะกระบวนการสร้างสันติภาพ จำเป็นต้องพูดคุยกันระหว่าง ‘ผู้เป็นคลังรักษาความทรงจำ' คือ ผู้สูงอายุ และ ‘ผู้ที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ไปข้างหน้า' คือ คนหนุ่มสาว ดังนั้น การถอด ‘คลังความทรงจำ' จากคนรุ่นก่อน สู่คนรุ่นใหม่นั้นจึงมีความสำคัญ มีคุณค่าความหมายต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะทุกกิจกรรม ทุกการก้าวย่าง ทุกประสบการณ์ ล้วนมีคุณค่า มีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว การฝึกฝน การเรียนรู้ และการทำงาน ที่ช่วยหล่อหลอมความเป็นตัวตนและเชื่อมให้เกิดการสร้างสังคมที่ดีขึ้นได้ ...

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
กินเปลี่ยนโลก ด้วยวิถีการกิน เพื่อสร้างโลกที่เท่าเทียมและเป็นธรรม พิมพ์
Wednesday, 19 January 2022

Image
วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๑๑๗ ก.ย. - ธ.ค. ๒๕๖๔

 

กินเปลี่ยนโลก
ด้วยวิถีการกิน เพื่อสร้างโลกที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี สัมภาษณ์/เรียบเรียง


 

ทุกวันนี้ เห็นได้ว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการกินอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดี ประกอบกับกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิต เป็นความตระหนักและตื่นรู้ของเรามากขึ้น ทำให้เราใส่ใจเรื่องที่มาของอาหารการกินว่าผลิตจากไหน ผลิตอย่างไร กระบวนการผลิตส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อโลกของเราอย่างไรมากขึ้น และนั่นทำให้เราตระหนักถึงเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์มากขึ้นด้วย เช่น เนื้อสัตว์ที่เรากิน ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น เนื้อไก่ที่เรากินมีส่วนทำให้เกิดฝุ่น P.M.2.5 มากขึ้น เป็นต้น

เมื่อเร็วๆ นี้มีแคมเปญหนึ่งบนหน้าเพจเพซบุ๊ก ‘ผู้บริโภคที่รัก' ที่ชวนชาวโซเชียล ร่วมสนับสนุนแคมเปญ "ไก่ไร้ฝุ่น" [๑] โดยเข้าลงชื่อใน change.org ที่ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมไก่ เป็นวงจรสร้างฝุ่นพิษ PM 2.5 ผ่านกระบวนการเผาในไร่ข้าวโพดที่นำมาเป็นอาหารสัตว์ และมีการรณรงค์ให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในไทย นำ ‘ไก่ไร้ฝุ่น' มาขายให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้บริโภคและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าสำหรับโลกใบนี้ พร้อมเสนอทางออกให้ผู้บริโภคหันมาเลือกรับประทานไก่บ้าน ไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารไม่สร้างมลพิษ ปลอดสารเคมีและยาปฏิชีวนะ จากกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ใส่ใจอยากส่งไก่ดีๆ ถึงผู้บริโภค อีกทั้งยังพาเชฟร้านอาหารดังมาแนะนำเมนูที่ทำจากไก่บ้านหลากหลายเมนูอีกด้วย ...

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
ร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ "เราต้องการยืนยันสิทธิความมีตัวตนของคนชาติพันธุ์ในไทย" พิมพ์
Wednesday, 12 January 2022

Image
วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๑๑๗ ก.ย. - ธ.ค. ๒๕๖๔

 

ร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ
"เราต้องการยืนยันสิทธิความมีตัวตนของคนชาติพันธุ์ในไทย"

องอาจ เดชา : รายงาน/เรียบเรียง


 

เป็นที่รับรู้กันดีว่า ประเทศไทย เรามีชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ที่หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์และกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค จากข้อมูลของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ในประเทศไทย ปี ๒๕๖๔ ได้มีการสำรวจจำนวนประชากรที่ยอมรับว่าตนเองเป็นชนเผ่าพื้นเมืองประมาณ ๔๓ กลุ่มชาติพันธุ์ มีจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ ๔ ล้านกว่าคน กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อาทิ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง, เย้า, กะเหรี่ยง, อาข่า, ลีซู, ลาหู่, คะฉิ่น, ไทใหญ่, ดาระอั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคเหนือ นอกจากนั้น จะมีกลุ่ม มอญ อยู่ในแถบภาคกลาง ตะวันออก มีลาวโซ่ง, กูย ที่อยู่ทางภาคอีสาน หรือกลุ่มชาวเล ชนเผ่าพื้นเมือง มอแกลน อูรักลาโว้ย อยู่ในแถบจังหวัดภูเก็ต พังงา และระนอง เป็นต้น

และแน่นอนว่า ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเหล่านี้ ยังคงประสบปัญหาจากสถานการณ์ความขัดแย้ง ความไม่เป็นธรรมอยู่มากมาย ทั้งในเรื่องนโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่ถูกนำไปปฏิบัติแบบไม่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนและขัดกับหลักเจตนารมณ์ของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองที่รัฐบาลไทยร่วมรับรองไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ จนทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ มีการข่มขู่ จับกุม คุมขัง และเรียกค่าปรับอยู่บ่อยครั้ง ...

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
<< หน้าแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 หน้าถัดไป > หน้าสุดท้าย >>

ผลลัพธ์ 19 - 22 จาก 22