
วารสารผู้ไถ่
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑๑๘ ม.ค. - เม.ย. ๒๕๖๕
ความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง โจทย์ที่เด็กรุ่นใหม่ตั้งคำถาม
และเลี้ยงลูกอย่างไร ในสังคมแห่งความอยุติธรรม?
ผ่านบทสัมภาษณ์ หมอโอ๋ เพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน'
องอาจ เดชา สัมภาษณ์
ออกซ์แฟม (Oxfam)
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานขับเคลื่อนเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วโลก
เปิดเผยรายงานสถานการณ์ความยากจนของโลกในช่วงปีที่ผ่านมา ว่า การระบาดของโควิด-๑๙ ทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำห่างกว้างมากขึ้น
โดยขณะที่บรรดาเศรษฐีมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมหาศาล แต่ผู้คนทั่วโลกมากถึง ๑๖๐ ล้านคน
กลับตกอยู่ในความยากจนและหิวโหย
รายงานสถานการณ์ความยากจนประจำปีที่ Oxfam
จัดทำขึ้นและมักจะเผยแพร่ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำบนเวที World
Economic Forum ซึ่งปีนี้จะยังคงจัดประชุมทางไกลขึ้นจากเมืองดาวอส
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า ในขณะที่ ๑๐ มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยติดอันดับโลก มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วง
๒ ปีแรกหลังโลกเผชิญกับวิกฤติโควิดระบาด
แต่คนยากจนกลับยากจนลงเป็นจำนวนมากขึ้นและเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด
เพราะไม่ได้รับหรือเข้าไม่ถึงวัคซีนป้องกัน ทำให้มีรายงานว่า
มีคนยากจนทั่วโลกอย่างน้อย ๒๑,๓๐๐ คน เสียชีวิตจากโควิดต่อวัน
รายงาน Inequality
Kills ฉบับล่าสุดของ Oxfam ระบุอีกว่า
โลกก้าวเข้าสู่ปี ค.ศ.๒๐๒๒
ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่น่าวิตกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พร้อมเตือนว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความรุนแรงทางเศรษฐกิจจากความเหลื่อมล้ำ
เพราะคนยากจนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุข
และตกเป็นเหยื่อจากความรุนแรงของความอดอยากหิวโหย
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความแตกต่างของเพศภาวะ
ขณะเดียวกันท่ามกลางคนยากจนที่มีมากขึ้นราว
๑๖๐ ล้านคนทั่วโลก
ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่คนขาวและกลุ่มผู้หญิงได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากภาวะความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
ก่อนย้ำว่า ในโลกที่ความไม่เท่าเทียมในเชิงโครงสร้าง ระบบนโยบาย
และทางเลือกทางการเมืองบิดเบี้ยวจนเอื้อประโยชน์คนมั่งมี
ผลลัพธ์ดังกล่าวทำให้คนธรรมดาทั่วโลกตกอยู่ภายใต้ความยากจนในสภาพจำยอม
ซึ่งกรณีของวัคซีนโควิด-๑๙ เป็นตัวอย่างภาพสะท้อนที่ทำให้เห็นสถานการณ์ดังกล่าวชัดเจนที่สุด
และคนหลายร้อยล้านคนจะไม่ตายจากไปหากได้รับวัคซีนทันเวลา
ด้านสถานีโทรทัศน์ CNN
รายงานด้วยการหยิบยกประเด็นที่คนรวยรวยขึ้นมาเป็นตัวนำ
โดยระบุชัดว่า มูลค่าทรัพย์สินของมหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุด ๑๐ อันดับแรกของโลก ตามการจัดอันดับของนิตยสาร
Forbes นำโดย อีลอน มัสก์ แห่ง Tesla และ
เจฟฟ์ เบโซส์ แห่ง Amazon นั้นพุ่งขึ้นจาก ๗
แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น ๑.๕ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีอัตราทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย
๑.๓ พันล้านดอลลาร์ต่อวัน หรือเฉลี่ยนับตั้งแต่เกิดโควิด-๑๙ จนถึงขณะนี้
มหาเศรษฐีระดับพันล้านสามารถเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตนได้ร่วมประมาณ ๕
ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้
ความมั่งคั่งร่ำรวยของมหาเศรษฐีกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นในช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ มากกว่าในช่วง ๑๔ ปีที่ผ่านมา
ที่ในช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจโลกเผชิญภาวะถดถอยครั้งเลวร้ายที่สุดนับจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี
ค.ศ.๑๙๒๙ หลังตลาดหุ้น Wall Street ตกครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
(ที่มา: THE STANDARD
WEALTH)
จากประเด็นข้างต้น ทำให้ ‘ภู เชียงดาว' คุณพ่อคนหนึ่งที่มีลูกเรียนโฮมสคูล
ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยสนทนากับ แพทย์หญิงจิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น
โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนาม "หมอโอ๋" เจ้าของเพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน'
เป็นบทสนทนาว่าด้วยเรื่องชีวิต
และแรงบันดาลใจ ที่สั่งสมประสบการณ์การทำงานของคุณหมอ ร่วมกับเพื่อนมนุษย์
จนเข้าใจ มองเห็นปัญหาโครงสร้างของสังคม และพยายามใช้ทักษะในการสื่อสารเพื่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ในท่ามกลางความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง และสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำสูงมากในขณะนี้ ...
เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น) |