หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 241 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สารวันสิทธิฯ วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2546 "การฟื้นคืนศักดิ์ศรีของมนุษย์" พิมพ์
Friday, 19 May 2006

  

“การฟื้นคืนศักดิ์ศรีของมนุษย์”
สารเนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนในพระศาสนจักรไทย
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2546


 

นับตั้งแต่รัฐบาลได้ใช้มาตรการประกาศสงครามยาเสพติด ไปจนถึงการจัดระเบียบบ้านเมืองให้สวยงาม เพื่อต้อนรับการประชุมเอเปค (การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค) ทำให้คริสตชนเราต้องมาไตร่ตรองให้ชัดเจนถึงความหมายของสิทธิมนุษยชนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างสันติขึ้นในสังคมประเทศชาติของเรา

ในการทำสงครามเพื่อเอาชนะยาเสพติดให้หมดไปนั้น เราคริสตชนเห็นด้วยในหลักการและพยายามร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถ แต่เราไม่เห็นด้วยกับวิธีการบางประการในการแก้ไขปัญหานี้ กล่าวคือการวิสามัญฆาตกรรมผู้ที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งตัวชี้วัดจากการฆ่าตัดตอน ส่งผลให้มีการตายเกิดขึ้น โดยอ้างว่าเป็นการฆ่าตัดตอนกันอย่างกว้างขวาง ปรากฏเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า ผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะเหตุนี้มีมากกว่า ๒,๕๐๐ คน และจนบัดนี้ยังไม่มีการสืบสวนให้ชัดเจน ว่าผู้ที่ถูกฆ่าตายไปนั้นมีสาเหตุมาจากเรื่องอะไรและถูกต้องหรือไม่ จนถึงตอนนี้ดูเหมือนว่า เรื่องนี้กำลังถูกละเลยให้เป็นปมที่ลึกลับของสังคมไทยต่อไป

สำหรับการจัดระเบียบบ้านเมืองให้ดูสวยงามเพื่อต้อนรับชาวต่างชาติ ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ที่มาร่วมประชุมเอเปค ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น รัฐบาลโดยกรุงเทพมหานคร ได้ทำการกวาดล้างสุนัขจรจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่ระคายสายตาแก่แขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ จากนั้นเมื่อเห็นว่ามีคนไร้ที่อยู่หรือคนไร้บ้าน ซึ่งได้อาศัยถนนหนทาง สนามหลวงหรือที่สาธารณะเป็นที่พักผ่อนหลับนอนก็แลดูเกะกะตาเช่นกัน จึงได้ทำการกวาดต้อนคนไร้บ้านเหล่านี้ไปไว้ยังเขตรอบนอกกรุงเทพฯ เช่น ที่บ้านพักคนเดินทางจังหวัดปทุมธานีบ้าง หรือที่จังหวัดสระแก้วซึ่งได้กวาดต้อนสุนัขจรจัดไปอยู่ก่อนแล้ว จนดูราวกับว่าคนไร้บ้านกับสุนัขจรจัดนั้นไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนั้นยังเห็นว่าคนไร้บ้านเหล่านี้ มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นชาวกัมพูชา รัฐบาลจึงจัดการส่งขึ้นเครื่องบินกลับไปยังประเทศของเขา ส่วนพวกเขาจะเป็นตายร้ายดีอย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลจะต้องสนใจ

ประเด็นเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับของสังคมไปแล้ว ตัวอย่างเช่น มีผู้ที่สังคมเคารพนับถือถึงกับออกมาพูดว่า การที่รัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดในการปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมให้มีการวิสามัญฆาตกรรม ตลอดจนปล่อยให้มีการฆ่าตัดตอนกันอย่างกว้างขวาง เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว คนค้ายาบ้าต้องตายสถานเดียว สังคมจึงจะสงบสุข ฯลฯ

ส่วนคนไร้บ้านที่ถูกจับต้อนไปอยู่ต่างจังหวัด ทางฝ่ายรัฐบาลก็บอกว่าจะนำไปฝึกอาชีพ ก็ขอให้เป็นไปอย่างที่กล่าวอ้าง หวังว่าจะไม่เป็นการกำจัดให้พ้นหูพ้นตาเฉพาะช่วงการประชุมเอเปคเท่านั้น

เรื่องที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เราคริสตชนถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะคำสอนทางคริสตศาสนานั้นสอนว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน ทุกคนเป็นฉายาของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้รวมทั้งคนดีและคนไม่ดีก็มีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนอื่นในสังคม
ในพระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า “… พระเจ้าทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและชั่วเสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม...” (มัทธิว 5:45) เราคริสตชนคาทอลิกจะนิ่งดูดายต่อเหตุการณ์อันน่าห่วงใยในสังคมของเรามิได้ ตามคำสอนแห่งพระสมณสาสน์ “สันติภาพบนแผ่นดิน” เราต้องมีส่วนร่วมช่วยกันทำสถาบันทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองของเราให้เป็นไปในทางส่งเสริมและพัฒนามนุษย์ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นพลังสร้างสันติภาพขึ้นในสังคมโลกบนพื้นฐานความจริง ความยุติธรรม ความรัก และเสรีภาพ

ดังนั้นผู้ต้องสงสัยว่าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วถูกวิสามัญฆาตกรรม หรือถูกฆ่าตัดตอนจะต้องได้รับการสืบสวน สอบสวน เพื่อหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีอย่างถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม การฆ่าตัดตอนหรือการฆ่าโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นมนุษย์ของบุคคลนั้น และละเมิดสิทธิของผู้ต้องหาซึ่งต้องได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีความผิด ตามนัยของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาตรา 33

ส่วนคนไร้บ้านนั้นพวกเขามีสิทธิในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หากพวกเขาไม่มีที่อยู่อาศัยก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดระเบียบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพวกเขาในการกำหนดนโยบายเพื่อการมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง

ถ้าเกิดคิดที่จะให้พวกเขามีอาชีพควรต้องมีการวางแผน มีการศึกษาวิจัยว่าอาชีพอะไรที่พวกเขาต้องการทำ พร้อมทั้งจัดสรรการฝึกอบรมให้เหมาะสมแก่พวกเขา ไม่ใช่บังคับย้ายคนเหล่านี้ออกไปให้พ้นหูพ้นตาของสาธารณะ โดยที่เขาไม่เต็มใจและไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง ตามหลักการของสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ให้การยอมรับ

พระศาสนาจักรไทยขอยืนยันในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่พระเป็นเจ้ามอบให้อย่างเท่าเทียมกัน และยืนยันในความร่วมมือกัน ทำให้สังคมประเทศชาติของเราเจริญพัฒนาทั้งทางโลกและทางธรรม มีสุขสันติ

ขอให้พี่น้องคริสตชนร่วมใจกันภาวนาเพื่อระลึกถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และร่วมแสดงจุดยืนถึงการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ รวมทั้งยืนยันถึงการไม่เห็นด้วยในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่กำลังเผชิญกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขอให้สันติสุขจงบังเกิดขึ้นในใจของพวกเราทุกคนที่ยอมรับและปฏิบัติตามคำสอนของพระเป็นเจ้า เพื่อว่าเมื่อทุกคนมีสันติสุขในใจ ย่อมจะนำสันติภาพมาสู่สังคมที่เราอยู่สืบไป

 

ด้วยความรักในพระคริสตเจ้า

มีคาแอลบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
พระสังฆราชสังฆมณฑลอุบลราชธานี
มุขนายกคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ
 

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
สารวันสิทธิฯ วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2545 "ยุุติความรุนแรงในครอบครัว" พิมพ์
Friday, 19 May 2006

  

"ยุติความรุนแรงในครอบครัว"
สารเนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนในพระศาสนจักรไทย
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2545


เจริญพรมายังพี่น้องที่รักทุกท่าน…

ชีวิตครอบครัว เป็นสิ่งที่พระศาสนาจักรถือว่าสูงค่ายิ่ง เป็นสิ่งซึ่งได้รับพระพรพิเศษของพระผู้เป็นเจ้าจากศีลกล่าว อันเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่คู่แต่งงานได้ให้คำปฏิญาณต่อกันว่าจะร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นครอบครัวเดียวกันตลอดไป คำปฏิญาณนี้รวมไปถึงการทำนุบำรุงครอบครัวและหน่อเนื้อเชื้อไขที่จะเกิดมาด้วยความรัก ความเสียสละ ด้วยการอุทิศชีวิตให้แก่กันด้วยความเข้าใจและรับใช้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าศีลกล่าวจะทำให้ชีวิตการอยู่ร่วมกันของครอบครัวเป็นเรื่องง่ายและราบรื่นเสมอไป แต่ศีลกล่าวเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความช่วยเหลือของพระผู้เป็นเจ้าที่จะมาสู่คู่สามีภรรยา เป็นกำลังใจให้สามารถเอาชนะอุปสรรค ความยากลำบากต่างๆ เมื่อพวกเขามีความพยายามและตั้งใจจริงที่จะอุทิศตัวเพื่อสร้างครอบครัวของพวกเขาให้เป็นครอบครัวศักดิ์สิทธิ์

ครอบครัว แม้เป็นเพียงหน่วยเล็กๆ แต่ก็เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม ซึ่งถ้าหน่วยเล็กๆของสังคมเหล่านี้มีความสุข ก็จะทำให้สังคมมีความสุขไปด้วย นอกจากนั้นครอบครัวที่อบอุ่น ยังเป็นที่อบรมบ่มเพาะสมาชิกของสังคมให้เป็นผู้มีคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม ไม่ก่อปัญหา หรือนำความเลวร้ายต่างๆ มาสู่สังคมที่เขาอยู่

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตครอบครัว พระศาสนจักรจึงเฝ้ามองปรากฏการณ์ความรุนแรงหลายรูปแบบที่กำลังเกิดขึ้นกับครอบครัวในปัจจุบัน ด้วยความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง เช่น ปัญหาเรื่องการทำแท้ง ที่มีมากขึ้น จนถึงขั้นมีการพิจารณากันว่าควรจะแก้ไขกฎหมายให้มีช่องทางทำแท้งได้โดยเสรีหรือไม่? ปัญหาเรื่องยาเสพติด ในหมู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า มีสาเหตุมาจากการแตกสลายของครอบครัว ข่าวเรื่อง ‘เด็ก’ ถูกทำร้าย อย่างทารุณ โดยพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว บ่อยครั้งถึงแก่ชีวิต ก็มีให้เห็นอยู่เนืองๆ และยังมีความรุนแรงอีกมากมายหลายรูปแบบ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเหล่านี้ ล้วนคือผู้ที่อ่อนแอกว่าในครอบครัว โดยทั่วไปจะเป็นผู้หญิงหรือเด็ก ซึ่งนอกจากจะถูกทำร้ายทารุณทางกายภาพแล้ว เหยื่อของความรุนแรงยังต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว แทนที่ครอบครัวจะเป็นที่แห่งความรักและให้ความอบอุ่นแก่ชีวิตและจิตใจ สำหรับพวกเขาครอบครัวกลับกลายเป็นที่แห่งความหวาดกลัว ปราศจากความปลอดภัยและยังอาจจะถูกทำร้ายอย่างทารุณได้ทุกเมื่อ
ความรุนแรงในครอบครัว ที่เกิดขึ้นนี้ มักจะถูกถือว่าเป็นเรื่องภายในของครอบครัว คนภายนอกจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้นเหยื่อของความรุนแรงจึงตกอยู่ในสภาวะแห่งความทุกข์ทรมานนี้ตลอดเวลา ที่น่าสลดใจก็คือ ความรุนแรงนี้ได้เกิดขึ้นใน ‘ครอบครัวคริสตชน’ ไม่น้อยกว่าที่อื่นๆ

ดังนั้น พระศาสนจักรจึงเรียกร้องให้คริสตชนตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตครอบครัว พิจารณาถึงความศักดิ์สิทธิ์ของครอบครัว มีความเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกที่อ่อนแอที่สุด และเนื่องจากครอบครัวเป็นชีวิตใหม่ที่เกิดจากการร่วมชีวิตของชายและหญิง ดังที่พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า “แต่แรกเริ่มที่พระเจ้าทรงสร้า้งโลก พระเจ้าทรงสร้า้งมนุษย์เป็นชายและหญิง ด้วยเหตุนี้เองบุรุษจะละบิดามารดาไปอยู่กับภรรยา ทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นเขาก็ไม่เป็นสองคนอีกต่อไป แต่จะเป็นเหมือนคนๆ เดียวกัน ในเมื่อพระเจ้าได้รวมเขาเข้าด้วยกันแล้ว มนุษย์ต้องไม่แตกแยกกัน” (มาระโก10:6-9) สมาชิกในครอบครัวจึงต้องเรียนรู้ถึงความรักของพระคริสตเจ้า ที่ทรงสอนให้เรารู้จักรักอย่างไม่เห็นแก่ตัว สมาชิกในครอบครัวจะต้องมีชีวิตอยู่เพื่อกันและกัน ไม่ใช่มีชีวิตอยู่เพื่อตนเองอีกต่อไป และให้ตระหนักว่า การทำร้ายสมาชิกในครอบครัวของตนก็คือ… การทำร้ายตนเอง

ครอบครัวของคริสตชน จะต้องเป็นแบบอย่างแห่งความรักและความสมานฉันท์แก่ครอบครัวอื่นๆในสังคม ภารกิจนี้เป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของคริสตชน โดยเฉพาะในยุคสมัยปัจจุบันที่สถาบันครอบครัวในสังคมค่อยๆ ล่มสลายลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังตัวอย่างปัญหาสังคมที่พ่อได้กล่าวมาแล้ว ภารกิจนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่เราต้องไม่ลืมว่าพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานพระพรและความช่วยเหลืออันสำคัญนี้ให้กับครอบครัวคริสตชน แล้ว ในวันที่สามีภรรยาได้ให้คำปฏิญาณแก่กันและกัน ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าในวันที่รับศีลกล่าว ดังนั้น หากเพียงแต่ครอบครัวคริสตชนมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามคำปฏิญาณนั้น พระผู้เป็นเจ้าก็จะช่วยเหลืออย่างแน่นอน เพราะไม่มีอะไรที่จะยากเกินไปสำหรับพระองค์ และพระองค์สถิตอยู่กับเราเสมอ


ขอพระเยซูคริสตเจ้าอวยพรมายังพี่น้องและผู้มีน้ำใจดีทุกท่าน


ด้วยความรักในพระคริสตเจ้า


(มีคาแอลบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์)
พระสังฆราชสังฆมณฑลอุบลราชธานี
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
สารวันสิทธิฯ วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2543 พิมพ์
Friday, 19 May 2006

  

สารเนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนในพระศาสนจักรไทย
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2543


พี่น้องคริสตชนที่เคารพรักทั้งหลาย

วันนี้เป็นวันที่พระศาสนาจักรในประเทศไทยเรียกร้องให้คริสตชนร่วมกันสร้างจิตสำนึก และเตือนให้เราเคารพในสิทธิมนุษยชน ร่วมกับพระศาสนาจักรสากลและมวลมนุษย์ทั้งหลาย

คำว่า "สิทธิมนุษยชน" นี้มักจะทำให้คริสตชนมีความรู้สึกแตกต่างกันไป บางคนรู้สึกว่าดี บ้างก็กลัว บ้างก็โกรธตามมายาคติที่ได้รับมา ปัจจุบันสิ่งที่เคลือบแฝงมากับคำคำนี้ได้ถูกกำจัดออกไปมากแล้ว คำว่าสิทธิมนุษยชนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการกำหนดให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้รับรองสิทธิพื้นฐานของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนลงไว้ในรัฐธรรมนูญไทย ดังนั้นจึงควรที่คริสตชนเราจะมาพิจารณาถึงสิทธิมนุษยชนโดยปราศจากอคติ

ความหมายของสิทธิมนุษยชนหยั่งรากลึกลงไปในพระคัมภีร์ตั้งแต่เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงให้ชีวิตกับมนุษย์ (ปฐก. 2:7) และพระเป็นเจ้ายังให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันโดยทรงสร้างทั้งหญิง และชายตามพระฉายาของพระองค์ (ปฐก. 1:26–27) สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่จึงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และมนุษย์แต่ละคนจึงควรเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน เพราะแต่ละคนนั้นมีชีวิตที่พระเป็นเจ้าประทานให้ และเป็นฉายาของพระเจ้า

นอกจากนั้นการที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ก็ต้องมีอาหาร พระผู้เป็นเจ้าก็ให้อาหารอย่างเพียงพอแก่มนุษย์ (ปฐก. 1:29)
นอกจากอาหารแล้วก็จำเป็นที่มนุษย์ต้องมีปัจจัยสี่เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ สิ่งประกอบที่จำเป็นแก่ชีวิตนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิที่มนุษย์ต้องมีด้วย อิสระภาพก็เป็นพระพรที่พระเป็นเจ้าทรงประทานให้แก่มนุษย์ตั้งแต่ทรงสร้างมนุษย์มา มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์อื่นๆที่เกิดมาเพื่อมีชีวิตอยู่เท่านั้น มนุษย์มีความคิด มีจิตสำนึก และต้องพัฒนา เพราะเป้าหมายของมนุษย์คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระผู้เป็นเจ้า ตามแผนการกอบกู้ของพระองค์ มนุษย์ยังมีสังคม และวัฒนธรรม ดังนั้นนอกจากมนุษย์มีสิทธิที่จะมีชีวิต ก็ยังต้องมีสิทธิอื่นๆอีกที่จะทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้นตามแผนการณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

เราสามารถแบ่งสิทธิต่างๆของมนุษย์ออกเป็นสามกลุ่มคือ 1)สิทธิพื้นฐานที่จะมีชีวิตอยู่เยี่ยงมนุษย์ 2)สิทธิทางสังคม ทางวัฒนธรรม และการเมือง 3)สิทธิทางเศรษฐกิจอันเกี่ยวโยงถึงสิ่งแวดล้อม และ การพัฒนา

องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนนี้ จึงไดัประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติขึ้นเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว ปฏิญญาฯนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่มนุษย์ เพียงแต่ได้รับรองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์มีอยู่ เพราะที่แท้สิทธิของมนุษย์มาจากพระผู้เป็นเจ้า เป็นพระพรที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษย์แต่ละคน ซึ่งจะตัดทอนและถ่ายโอนให้แก่ใครไม่ได้ พระพรของพระผู้เป็นเจ้านี้เป็นสากล สำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา

ในพระสมณสาสน์ "พระศาสนาจักร กับ สิทธิมนุษยชน" ได้กล่าวว่า เมื่อมนุษย์ตระหนักในสิทธิที่เขามี และมีหน้าที่จะเรียกเรียกร้องสิทธิเหล่านั้น คนอื่นๆ มีหน้าที่ที่จะยอมรับ และเคารพสิทธิเหล่านั้นในเวลาเดียวกัน มนุษย์ก็จะมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อมนุษย์เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีสิทธิเขาผู้นั้นก็จะต้องมองเห็นหน้าที่ของตนควบคู่กันไปด้วย ความรับผิดชอบ และหน้าที่ เป็นลักษณะสองประการของสิทธิซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง กล่าวคือเมื่อมีสิทธิก็มีความรับผิดชอบตามมาด้วย

การมีสำนึกในสิทธิมนุษยชนจึงไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวเรียกร้องเอาแต่ได้ แต่เป็นการเข้าใจในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และอยู่ร่วมกันโดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานของสันติภาพ และความสงบสุขในสังคม สังคมจะสงบสุขไม่ได้ถ้ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ใช่เฉพาะกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง พวกเราคริสตชนต้องมาช่วยกันสร้างจิตสำนึกนี้ และร่วมกันเรียกร้องเมื่อมีการละเมิด ดังที่พระสันตปาปาปอลที่ 6 ได้ตรัสไว้ว่า "คริสตชนไม่อาจที่จะอยู่นิ่งเฉย และทำไม่รู้ไม่ชี้ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่หนักหน่วง และไม่คำนึงถึงเหตุผล, เราไม่อาจที่จะปกปิดความกระวนกระวาย และความเศร้าสลดใจ เมื่อเห็นสภาพการณ์(ละเมิดสิทธิ)ที่คงอยู่ และเลวร้ายลงทุกวัน" (พระศาสนาจักร และสิทธิมนุษยชน)

ดังนั้นในวันสิทธิมนุษยชนนี้ให้เราภาวนาเพื่อให้คนไทยทุกคนและโดยเฉพาะคริสตชนคนไทยมีความเคารพในสิทธิ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมาช่วยกันสร้างสังคมที่สงบสุขบนพื้นฐานของความเคารพในสิทธิมนุษยชน

ขอพระเยซูคริสตเจ้าอำนวยพรมายังพี่น้อง และผู้มีน้ำใจดีทุกท่าน

มีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
พระสังฆราชสังฆมณฑลอุบลราชธานี
มุขนายกคณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
Landmine News พิมพ์
Friday, 19 May 2006


- เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของข้อต่อเทียมต่างๆ รวมไปถึงหัวเข่ากลไกอัตโนมัติ 

- ที่ทางของคนพิการ: ‘พื้นที่’ ที่ไม่มีอยู่จริงในสนามบิน ‘สุวรรณภูมิ’ 

- ทหารพรานสั่งห้าม ทำกินเขตชายแดน หวั่นเหยียบระเบิด 

- Young elephants continue to fall victims to anti-personnel landmines in Burma/Myanmar

- มูลนิธิ"น้าชาติ"พร้อมคณะทูต ส่งมอบพื้นที่"ปลอดทุ่นระเบิด" 

- FOCUS / BURMA : Minorities fear being dammed and damned 

- US bucks pledge, continues to pursue new landmines : Christian Avard

- SECURITY / INTERNATIONAL COOPERATION; Thailand to push landmine ban (THAILAND)

- ทุ่นระเบิดสังหาร

ไทยเร่งผลักดันการแก้ไขปัญหาด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

- รายการกบนอกกะลา ตอน กู้ชีวิตพิชิตระเบิด (ชมรายการย้อนหลังได้ที่ http://hiptv.mcot.net/hipPlay.php?id=5307 )

- First mine action day to be marked at UN toward ending scourge

- Thailand: Government of Japan provides assistance for landmine clearance in Sa Kaew Province

จนท.ลำเลียงพนักงาน กฟผ.ซึ่งได้รับบาดเจ็บมาถึง จ.เมียวดีแล้ว

จนท.กฟผ.เหยียบกับระเบิด ขณะเข้าสำรวจโครงการสาละวินที่ชายแดนไทย - พม่า

- ICBL News, March 2006

- ยึดระเบิดฝังใกล้ชายแดนไทย-พม่า คาดเป็นของขบวนการค้ายานรก 

- ชาวเขมรเสี่ยงเก็บระเบิดแลกเงินประทังชีวิต

- Time to get serious about removing land-mines - May 22, 2006

- Myanmar, the world's landmine capital : Asia Times Online

Landmine Report พิมพ์
Friday, 19 May 2006


A New Director for the Challenges Ahead


Author(s): Liz Bernstein < > . Wednesday 19 January 2005
As the worldwide mine ban movement prepares to embrace the challenges that lie ahead on the road to a “mine free world”, the International Campaign to Ban Landmines (ICBL) is pleased to announce the appointment of its new Executive Director, Anne Capelle.

เขียนความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
<< หน้าแรก < ย้อนกลับ 91 92 93 94 95 หน้าถัดไป > หน้าสุดท้าย >>

ผลลัพธ์ 820 - 828 จาก 847