วิศวะ ม.เกษตร ขานรับ Creative Economy เน้นสร้าง “คน” อย่างยั

ขอเชิญฝากข่าว หรือกิจกรรมด้านสิทธิฯ และสันติภาพ ที่ท่านต้องการประชาสัมพันธ์ต่อผู้ที่สนใจได้ที่นี่ค่ะ

วิศวะ ม.เกษตร ขานรับ Creative Economy เน้นสร้าง “คน” อย่างยั

โพสต์โดย somzing » พฤหัสฯ. 25 ก.พ. 2010 1:32 pm

วิศวะ ม.เกษตร ขานรับ Creative Economy เน้นสร้าง “คน” อย่างยั่งยืน


การออกมาชูธง Creative Economy หรือเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของรัฐบาล คงเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะการจัดสรรงบประมาณ ราว 3,800 ล้านบาท เพื่อผลักดันโครงการนำร่อง สำหรับโครงการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ของกระทรวงพาณิชย์ ที่มีรมช.อลงกรณ์ พลบุตร พูดเสียงดังว่า เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ จะสามารถเพิ่ม GDP ของประเทศได้ถึง 20% ในปี 2555 หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้โมเดลดังกล่าวจับต้องได้ และต้องไม่ลืมว่า ความเข้าใจต่อ Creative Economy ต้องถูกทำความเข้าใจ ขยายความและส่งต่อถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างจะแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไกสำคัญนั่นคือ “คน”

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Creative Economy กลายเป็นทางเลือกสำหรับทางรอดที่พอจะฝากความหวังไว้หลังเกิดวิกฤติต่อเศรษฐกิจโลก และมนุษย์คือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดที่จะช่วยทำให้ Creative Economy เกิดขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้นภาคการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจต่อโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่นี้โดยตรง เพราะนี่คือ แกนหลักที่จะถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งจะเริ่มต้นในปี 2555

ด้วยเหตุนี้โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม ภาคพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต เพื่อให้สอดรับกับสภาพที่แท้จริงของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะ พึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่บางครั้ง ต้องนำเข้าเครื่องจักร ในราคาสูง แต่ยังไม่สามารถทำความเข้าใจและใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการต้องพึ่งพาการเทรนนิ่งจากบริษัทผู้ผลิตซึ่งบางครั้ง ค่าใช้จากนำเข้าผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมนี้สูงกว่าราคาเครื่องจักรที่นำเข้ามา ตรงนี้จึงเป็นจุดอ่อนสำคัญในการแข่งขันที่ผู้ประกอบการไม่สามารถลดต้นทุนเพื่อแข่งขันได้

“จริงๆแล้ว บ้านเราพูดถึงเรื่องของนวัตกรรมการผลิต การลดต้นทุนการผลิต การผลิตเครื่องจักรทดแทนการนำเข้ามาระยะหนึ่งก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งคณะวิศวกรรมของเราก็พัฒนาหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปีที่ 2551 นั้น เรื่องของคนถูกมองก่อนเป็นอันดับแรกเมื่อคำสั่งซื้อลดลง แต่ความเข้าใจต่อการปลดพนักงานของผู้ประกอบการไทยดีขึ้น เพราะตัวอย่างวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40 เป็นบทเรียนอย่างดีสำหรับโรงงานที่เลย์ออฟคนออก เมื่อเศรษฐกิจกลับมาดีขึ้น เขาขาดคนที่จะพัฒนาและผลิตสินค้าให้ทันตามคำสั่งซื้อ ดังนั้นวิกฤติรอบนี้เขาจึงเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อม เพื่อรอวันที่เศรษฐกิจกลับมาดีดตัวอีกครั้ง”

โดย ผศ.ดร.ชัชพล (ประธานโครงการเปิดสอนหลักสูตร ป.โท สาขาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม ภาคพิเศษ) เปิดเผยถึงภาพรวมของหลักสูตรที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของผู้เรียน และตลาดแรงงานในภาพรวม โดยทั้งนี้ผู้เรียนส่วนใหญ่ของโครงการมาจากภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการเรียนการสอน เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์

“โรงงานต่างๆ ส่วนใหญ่หวังว่าสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี จะผลิตบุคลากรที่มีทักษะและองค์ความรู้ที่เพียบพร้อมออกป้อนโรงงานอุตสาหกรรม แต่ในสภาพความเป็นจริงสถานศึกษาเหล่านั้น กลับไม่สามารถผลิตแรงงานคุณภาพออกไปได้อย่างเพียงพอยกตัวอย่างเช่น เดิมเทคโนโลยีการผลิตเป็นเทคโนโลยีหนึ่ง มาวันนี้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งหลักสูตรการศึกษาปรับไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลง หลักสูตร ป.โท สาขาเทคโนโลยีการผลิตฯของมหาวิทยาลัยเกษตรให้คนที่ทำงานแล้วได้กลับเข้ามาพัฒนาทักษะและความรู้ใหม่เพื่อจะได้นำไปใช้ในการแก้ไขสถานการณ์การทำงานจริง โดยทั้งนี้โครงการ ป.โท สาขาเทคโนโลยีการผลิต ได้เน้นหนักที่ให้นิสิต/นักศึกษา นำปัญหาที่พบในการทำงานมาใช้เป็นกรณีศึกษาในการทำการค้นคว้าอิสระ/วิทยานิพนธ์ร่วมกับอาจารย์ของม.เกษตรศาสตร์เพื่อให้ได้ผลการทำงานร่วมกันที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงอันจะเป็นส่วนช่วยลดต้นทุนและพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการได้อย่างมาก "

ซึ่งในภาพรวมแล้ว เนื้อหาของหลักสูตร ป.โท สาขาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม จะครอบคลุมองค์ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตใน 3 ด้านคือ คน (Man) เครื่องจักร (Machine) และวิธีการใช้งาน (Method) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับไปเป็นหัวหน้างานในกระบวนการผลิต

โดยในเรื่องของคน จะเรียนเกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ส่วนด้านเครื่องจักรจะเน้นสอนเรื่องการใช้งานเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและการบำรุงรักษาเครื่องจักรและท้ายสุดจะเป็นการเรียนรู้การวางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้เนื้อหาหลักจะมุ่งเน้นการสอนให้เกิดการประยุกต์ใช้เครื่องจักรให้เหมาะสมในแต่ละอุตสาหกรรม ยกตัวอย่าง เช่น CAD/CAM/CAE เป็นการสอนการออกแบบ วิเคราะห์ และผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น จากเดิมที่เคยออกแบบด้วยมือก็เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกแบบ ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์และทำโมเดล หรือในขั้นตอนการผลิต ก็คำนวณผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อลดการสูญเสีย ทำให้สามารถลดระยะเวลาและต้นทุนการผลิตได้ (เช่น การทำแม่พิมพ์ จากเดิมใช้เวลาทำแม่พิมพ์ละ 1 ปี ตอนนี้ใช้ระยะเวลาทำแค่ 3 เดือน) หรืออีกหนึ่งตัวอย่างคือ เนื้อหาด้าน Logistic โดยประเด็นหลักของการเรียนรู้จะอยู่ที่การวางแผนด้าน Logistic เพื่อลดต้นทุนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

และตัวอย่างสุดท้ายคือ CNC/Robotic เป็นการสอนเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องจักรที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์
และแขนกลในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ ไปใช้เพิ่มผลผลิตให้กับแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางความพยายามของภาครัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้มีการเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิต (OEM) ไปเป็นการออกแบบและผลิต (ODM) ให้ได้

ซึ่งที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดสอนในหลักสูตรนี้มาแล้วทั้งหมด 6 รุ่น รุ่นละประมาณ 40 คน โดยในปีการศึกษา 2553 นี้ จะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 24 เมษายน 2553 ซึ่งหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรมภาคพิเศษ จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับ Creative Economy อย่างแท้จริงตราบใดที่ “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณเพ็ญสุดา โหมลา หน่วยทะเบียนฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 0-2942-8555 ต่อ 1137 หรือที่คุณวรารัตน์ ศรีวิเศษ, คุณวรรณิภา เครือแก้ว สถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม (RDiRT) ชั้น 4 โทร 0-2942-8567-70 ต่อ 507, 0-2940-5822 โทรสาร 0-2940-5823 หรือที่ http://www.eng.ku.ac.th , http://www.meipt.eng.ku.ac.th
ภาพประจำตัวสมาชิก
somzing
Newbie
Newbie
 
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 25 ก.พ. 2010 1:25 pm
ที่อยู่/Country: bangkok

ย้อนกลับไปยัง ฝากข่าวประชาสัมพันธ์

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน

cron