มายาคติชาติพันธุ์: ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ข้ามมาทำไม?

เจอบทความดีๆ ก็นำมาฝากไว้ที่บอร์ดนี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นบทความที่ท่านเขียนเอง หรือบทความจากแหล่งอื่นๆ และอย่าลืมให้เครดิตกับบทความที่ท่านนำมาด้วยนะคะ ทางเราจะพิจารณาเพื่อนำลงเว็บไซต์ http://www.jpthai.org อีกทีค่ะ

มายาคติชาติพันธุ์: ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ข้ามมาทำไม?

โพสต์โดย crystalline_quartz » จันทร์ 07 ม.ค. 2008 11:55 am

มายาคติชาติพันธุ์: ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ข้ามมาทำไม ?

การย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติระดับล่างในสังคมไทย

อดิศร เกิดมงคล : เขียน
Advocacy and Research Officer
International Rescue Committee-Thailand

บทความวิชาการต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการเมืองและสถานการณ์โลกาภิวัตน์ ที่ส่งผลให้เกิดแรงงานย้ายถิ่นที่เข้ามาในประเทศไทย แรงงานข้ามชาติเหล่านี้นำมาซึ่งความห่วงใย
ในหลายด้าน เช่นปัญหาความมั่นคง ปัญหาสาธารณสุข ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ
บทความชิ้นนี้ได้พยายามที่จะให้ภาพข้อเท็จจริง และภาพมายาคติต่างๆ
ที่ถูกสร้างขึ้น โดยได้นำเสนอข้อมูลตามลำดับดังต่อไปนี้...
1. ภาพรวมของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
2. การย้ายถิ่นของคนข้ามชาติจากประเทศพม่า
3. ตัวเลขแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า
4. สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติ
5. ตัวอย่างการละเมิดสิทธิต่อแรงงานข้ามชาติ : การออกประกาศจังหวัด
6. มายาคติที่กดทับตัวตนแรงงานข้ามชาติ
7. เราจะอยู่ร่วมกับแรงงานข้ามชาติได้อย่างไร?

1. ภาพรวมของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
"แรงงานข้ามชาติ" หรือที่เรียกตามภาษาราชการว่า "แรงงานต่างด้าว" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่ง โดยมีลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับอีกสังคมและ/หรืออีกวัฒนธรรมหนึ่ง ผ่านการว่าจ้างแรงงาน ซึ่งการเคลื่อนย้ายลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในแทบทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่การสื่อสาร คมนาคม มิได้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของมนุษย์ดังเช่นอดีต ผนวกรวมกับปัจจัยทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่มีความรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า "แรงงานข้ามชาติ" เป็นอาการอย่างหนึ่งอันเกิดจากภาวะ "ทุนนิยมโลกาภิวัตน์"

ในกรณีของประเทศไทยการย้ายถิ่นข้ามพรมแดนไปมาระหว่างประชาชน 2 ประเทศที่พรมแดนติดต่อกัน เช่น ไทย-พม่า, ไทย-ลาว, ไทย-กัมพูชา, และไทย-มาเลเซีย เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตการย้ายถิ่นเป็นไปเพื่อการกวาดต้อนประชาชนของฝ่ายที่ปราชัยจากการรบพุ่งไปเป็นประชาชนของประเทศตนเอ ง แต่ในปัจจุบันการย้ายถิ่นเป็นเรื่องของการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุนของประเทศที่มีความพร้อมมากกว่า

รัฐบาลไทยได้เริ่มมีนโยบายอนุญาตให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายโดยอาศัยอำนาจตาม พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และ พรบ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 อนุญาตให้จ้างผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอยู่ระหว่างรอการส่งกลับ แต่อนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยเริ่มให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจากพม่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-พม่า 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ กาญจนบุรี ตาก ระนอง ประจวบคีรีขันต์ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี (ภายหลังเพิ่มอีก 1 จังหวัด)

หลังจากนั้นก็เปิดให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นเป็นสามสัญชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ที่ขาดแคลนแรงงาน เช่น จังหวัดที่มีการประกอบกิจการประมงทะเล ในปี พ.ศ.2539 จำนวน 43 จังหวัด 7 กิจการ และขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในปี 2541 เป็น 54 จังหวัด 47 กิจการ โดยหลังจากปี 2541 นโยบายแรงงานข้ามชาติเป็นนโยบายปีต่อปีมาโดยตลอด

ในปี 2542-2543 ให้จ้างงานได้ 43 จังหวัด 18 กิจการ จนครบ 76 จังหวัดในปี 2544 และมีกิจการที่อนุญาตทำงานทั้งสิ้น 10 กิจการ. ปี 2545 ได้รวมกิจการที่อนุญาตให้ทำเข้าเป็น 6 กิจการ จนกระทั่ง ปี 2547 รัฐบาลไทยได้มีแนวนโยบายการจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบโดยให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเคยขออนุญาตทำงานหรือไม่ รวมทั้งครอบครัวผู้ติดตาม มาขึ้นทะเบียนรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทย และขออนุญาตทำงานกับกระทรวงแรงงาน โดยมีจุดประสงค์ที่ต้องการทราบจำนวนแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อนำไปสู่กระบวนการทำให้ถูกกฎหมาย (Legalization) โดยการให้ประเทศต้นทางพิสูจน์สัญชาติและออกเอกสารแทนหนังสือเดินทางต่อไป

2. การย้ายถิ่นของคนข้ามชาติจากประเทศพม่า
สำหรับประเทศพม่า การย้ายถิ่นค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากปัจจัยจากประเทศต้นทางที่ อันได้แก่ รัฐบาลได้นำนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพม่ามาใช้ทำให้ประชาชนต้องอดอยากยากแค้น เกิดภาวะเงินเฟ้อ และเกิดภาวะความยากจนอัตคัดขึ้นในทุกพื้นที่ ปัจจัยทางด้านการเมืองก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการย้ายถิ่น โดยเฉพาะในเรื่องของความไม่ปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น การที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศเบ็ดเสร็จ มีการปกครองแบบรัฐบาลเผด็จการทหาร ปฏิเสธบทบาทพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ปราบปรามขบวนการนักศึกษาระหว่างมีการชุมนุมประท้วงของประชาชน ในวันที่ 8 สิงหาคม 1988, การต่อสู้ระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลทหารพม่าในช่วง 10-15 ปี ที่ผ่านมา และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ

นอกจากปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ปัจจัยในประเทศไทยก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการการย้ายถิ่น คือ การที่ประเทศไทยมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก จนทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

การอพยพย้ายถิ่นจากประเทศพม่าไม่ใช่ลักษณะของการเข้าตามตรอกออกตามประตู ไม่ใช่การเดินอย่างสง่าผ่าเผย ข้ามด่านที่เปิดอย่างเป็นทางการ แต่เป็นลักษณะของการลอดรัฐเข้ามาตามช่องทางต่างๆ กล่าวคือ ชนกลุ่มน้อยจากพม่ายังคงถูกบีบบังคับให้ลี้ภัยออกนอกประเทศอย่างไม่ขาดสาย เพราะรัฐบาลพม่ามีนโยบายในการเข้าไปจัดการและควบคุมพื้นที่ที่ชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่อย่างเข้มข้น อาทิเช่น โครงการโยกย้ายถิ่นฐานใหม่ (Resettlement Programs) ซึ่งมุ่งเน้นบังคับให้ชาวบ้านต้องโยกย้ายออกจากที่อยู่เดิม โดยที่บางครั้งก็ไม่ได้จัดหาที่อยู่ใหม่ให้ หรือจัดสรรที่อยู่ซึ่งง่ายต่อการควบคุม หรือเป็นพื้นที่ซึ่งมีสภาพแย่กว่าที่อยู่เดิม เป็นต้น. นอกจากนี้ยังมีปฏิบัติการที่เข้าไปจัดการกับชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น การเกณฑ์แรงงานหรือไปเป็นลูกหาบให้ทหารพม่า หรือทหารพม่าเข้าไปทำร้ายร่างกายของประชาชน โดยที่กฎหมายไม่สามารถคุ้มครองใดๆ ได้. สิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

เมื่อมีการเคลื่อนย้ายคนกลุ่มนี้เข้ามามาก นอกเหนือจากสถานภาพการเข้ามาเป็นแรงงานแล้ว นัยสำคัญของการเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายก็ติดตามมาอย่างยากจะหลุดพ้น. ผู้เขียนพบว่า รัฐราชการไทยได้เกิดการตื่นตระหนกและลุกขึ้นมาจัดการกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้มุมมองที่เริ่มต้นจากปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหา การจัดการกับปัญหาหรือสภาวการณ์ดังกล่าวของรัฐราชการไทย ได้วางอยู่บนพื้นฐานที่สำคัญอยู่สองประการ คือ

- ความต้องการจัดการกับปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคง และ
- ความต้องการแรงงานไร้ฝีมือทดแทนแรงงานไทยที่ขาดแคลน ในภาคการผลิตบางส่วน

ซึ่งในส่วนหลังนี้เองก็มีการตั้งคำถามที่สำคัญว่าแรงงานที่นำมาทดแทนนั้น จะต้องเป็นแรงงานราคาถูกด้วยใช่หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการในประเทศไทย

สิ่งที่สำคัญก็คือ ทั้งสองความต้องการนี้ก็ได้กลายเป็นแนวคิดสำคัญในการจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่าน มา

อย่างไรก็ตามภายใต้ภาวการณ์ที่สังคมไทยยังให้ความสำคัญกับวาทกรรมความมั่นคงแห่งชาติที่มุ่งเน้นการจัดระเ บียบเพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายใน นโยบายของรัฐไทยต่อผู้ย้ายถิ่นเองก็มีความไม่ต่อเนื่อง ขลุกขลัก ลักลั่น ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน และมักจะนิยมใช้นโยบายลดจำนวนผู้ย้ายถิ่นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือมีนโยบายผลักดันกลับไปสู่ภูมิลำเนา เมื่อโอกาสเอื้ออำนวย

แต่ขณะเดียวกัน ด้วยสถานภาพของการเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง อคติของสังคมไทยต่อแรงงานข้ามชาติ ประกอบกับแนวคิดในการจัดการของรัฐไทยที่ผ่านมา ได้วางอยู่บนฐานแนวคิดเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติ และเรื่องของการต้องการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงเท่ากับเปิดโอกาสให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิทธิแรงงาน อันเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของแรงงานเหล่านี้ และเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข

3. ตัวเลขแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า
ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน ได้ให้รายละเอียดเรื่องตัวเลขของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า

ในปี 2549 รัฐไทยได้ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในปี 2548 จำนวน 705,293 คน อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับและทำงานต่อไปได้อีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 พบว่า

(1) มีแรงงานข้ามชาติมาต่ออายุใบอนุญาตทำงานจำนวน 460,014 คน
(2) แรงงานข้ามชาติได้รับการพิสูจน์สัญชาติจำนวน 80,811 คน
(3) แรงงานข้ามชาติไม่มาเข้าสู่ระบบการจ้างงานจำนวน 166,770 คน

และการเปิดให้แรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ได้จดทะเบียน มาจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม 2549 พบว่า

(1) มีแรงงานข้ามชาติมาจดทะเบียนกับกรมการปกครอง 256,899 คน
(2) แต่มาขอรับใบอนุญาตทำงานจำนวน 208,562 คน
(3) ไม่มาเข้าสู่ระบบการจ้างงานจำนวน 48,337 คน เนื่องจากมีสถานะเป็นผู้ติดตามแรงงาน

ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เห็นชอบแนวทางการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวปี 2550 ซึ่งเป็นการดำเนินการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ต่อเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2547 และ 2548 โดยผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานปี 2549 จำนวน 668,567 คน (กลุ่มแรกใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 208,562 คน และกลุ่มสองใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 30 มิถุนายน 2550 จำนวน 460,014 คน) สามารถทำงานต่อได้อีก 1 ปี โดยการต่ออายุครั้งใหม่นี้ใบอนุญาตกลุ่มแรกจะสิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 และกลุ่มสองจะหมดอายุวันที่ 30 มิถุนายน 2551 โดยกำหนดให้กลุ่มแรกมายื่นขอใบอนุญาตทำงานตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 และกลุ่มสองวันที่ 15 มกราคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550

ทั้งนี้มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้กระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำการสกัดกั้น และปราบปรามจับกุมการลักลอบเข้ามาของแรงงานต่างด้าวรายใหม่ และแรงงานต่างด้าวที่อยู่เก่าแต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ทั้งทางด้านสาธารณสุข ด้านอาชญากรรม ความสงบเรียบร้อยในสังคมและความมั่นคงของประเทศ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจากการสัมมนาเนื่องในวันผู้ย้ายถิ่นสากลเรื่องการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน การละถิ่นฐาน และความเสี่ยงเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา ได้ชี้ให้เห็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งว่า รัฐบาลไทยได้กำหนดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวทุกปี โดยดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 14 ปี ซึ่งปีนี้ได้ผ่อนผันต่ออายุแรงงานออกไปอีก 1 ปี แต่พบว่าการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวยังมีน้อยมาก มีการโกงค่าแรง การยึดบัตร มีปัญหาการรักษาพยาบาล การคลอดบุตร เดิมแรงงานต่างด้าวได้มาจดทะเบียนไว้ประมาณ 1,200,000 คน แต่ตอนนี้มีแรงงานที่หายไปจากระบบกว่า 700,000 คน ซึ่งกำลังตรวจสอบว่า แรงงานกลัวการจับกุม หรือเป็นเพราะนายจ้างไม่พาไปจดทะเบียน

สอดคล้องกับที่นายวสันต์ สาธร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารแรงงานต่างด้าว มองว่า "ตัวเลขข้อมูลแรงงานต่างด้าวในแต่ละปีหดหายไปถึง 30% โดยไม่สามารตรวจสอบถึงต้นตอที่มาได้ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา ตัวเลขข้อมูลแรงงานต่างด้าวหายไปถึง 2 แสนคน ซึ่งจากตัวเลขที่มีการสำรวจในปีก่อนหน้านี้ มีข้อมูลตัวเลขแรงงานต่างด้าวอยู่ในไทยถึง 8 แสนคน เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการขณะนี้ คือ การตรวจสอบตัวเลขข้อมูลแรงงานต่างด้าวจากหน่วยงานต่างๆ ในเขตจังหวัดชายแดนทั่วประเทศ เพื่อหาต้นตอที่ชัดเจนว่า ตัวเลขที่หายไปเป็นการกลับประเทศ หรือเป็นแรงงานแฝงที่แอบหลบหนีซุกซ่อนทำงานอยู่ในประเทศ หรือได้ข้ามไปทำงานในประเทศที่สามแล้ว"(หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 7 พฤษภาคม 2550)

4. สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้น ได้แก่

1. การถูกขูดรีดจากนายหน้าในระหว่างการขนย้ายแรงงานข้ามประเทศ
การเดินทางเข้ามาเป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยนั้น กลุ่มนายหน้าเป็นบุคคลสำคัญที่จะนำพาพวกเขาเดินทางเข้ามาแสวงหาชีวิตใหม่ในประเทศไทยได้ นายหน้าเหล่านี้จะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการเดินทางทั้งหมดของแรงงานข้ามชาติ เริ่มตั้งแต่เรื่องการเดินทาง จัดหาที่พัก และการหางานให้ทำ แรงงานที่เข้ามาหางานทำในประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพิงนายหน้าเหล่านี้ คนพม่าที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าส่วนใหญ่ บ้างก็เป็นคนที่แรงงานรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง เพื่อน หรือคนในหมู่บ้านเดียวกัน หรือเป็นคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน แต่ได้รับการแนะนำให้ไปติดต่อ หรือนายหน้าเองเป็นผู้ที่เข้าไปชักชวนและเสนองานให้ทำ ซึ่งมีทั้งแบบที่ไปหาถึงหมู่บ้านหรือนัดหมายให้มาเจอกันที่ชายแดน

ในขบวนการนายหน้ารวมทั้งที่เป็นคนพม่าและคนไทย นายหน้าทำงานได้ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีความสามารถในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น การจ่ายส่วยค่าผ่านทาง จนถึงการเป็นหุ้นส่วนในการนำพาแรงงานเข้าเมือง หลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐเองเป็นผู้นำแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ เดินทางข้ามชายแดนเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ๆ การจ่ายเงินให้นายหน้าเพื่อหลบหนีเข้าเมืองมาหางานทำ มิได้เป็นหลักประกันความปลอดภัย เพราะแรงงานข้ามชาติต้องเดินทางแบบหลบซ่อนในรูปแบบต่างๆ เช่น ซ่อนตัวอยู่ในรถขนส่งสิ่งของ พืชผักต่างๆ ซึ่งค่อนข้างยากลำบากอันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต

แรงงานหญิงหลายคนเสี่ยงต่อการถูกข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศจากนายหน้าหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อถูกจับกุมได้ ขบวนการนายหน้าบางส่วนทำหน้าที่เป็นเสมือนพวกค้าทาสในอดีต แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะผู้หญิง มักจะถูกนายหน้าหลอกไปขายให้แก่สถานบริการ และบังคับให้แรงงานหญิงเหล่านี้ค้าบริการทางเพศ หรือขายบริการให้แก่ชาวประมงที่ต้องออกทะเลเป็นเวลานาน

การจ่ายค่านายหน้า นายหน้าโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีเก็บเงินโดยตรงที่นายจ้าง และนายจ้างจะหักจากค่าแรงของแรงงานอีกต่อหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างของนายจ้างที่จะไม่จ่ายค่าแรงให้แก่แรงงาน ทำให้หลายกรณีที่แรงงานข้ามชาติทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเลย

2. ต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่เลวร้าย
ลักษณะงานที่แรงงานข้ามชาติเข้ามารับจ้างทำงานส่วนใหญ่ ถูกจัดให้อยู่ในประเภท 3 ส. คือ สุดเสี่ยง, แสนลำบาก, และสกปรก. ในขณะเดียวกันต้องทำงานหนักและได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม งานบางประเภทเป็นงานที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาล เช่น งานในภาคเกษตร ซึ่งต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมงและไม่มีวันหยุด บางกรณีแรงงานจะถูกใช้ให้ไปทำงานที่ผิดกฎหมาย เช่น ให้ไปตัดไม้ในเขตป่าสงวน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกจับกุมโดยนายจ้างจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ปัญหาของแรงงานข้ามชาติแตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน จำแนกพอเป็นสังเขปได้ ดังนี้

1. งานในภาคเกษตรกรรม ได้รับค่าแรงต่ำ ไม่มีความแน่นอนในการทำงานเพราะเป็นงานตามฤดูกาล นอกจากนี้แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย. ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ การไม่ได้รับค่าแรงจากนายจ้าง เนื่องจากนายจ้างจะใช้วิธีการบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่ายค่าแรง ด้วยการอ้างว่าหักค่าใช้จ่ายจากส่วนอื่นๆ แล้ว หรือบางครั้งใช้วิธีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาจับกุมแรงงานเหล่านี้

2. ในภาคประมงทะเล แรงงานข้ามชาติมักต้องออกทะเลเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ 4 เดือนจนถึงนานเป็นปี โดยต้องทำงานอย่างหนัก มีเวลาพักผ่อนวันละไม่กี่ชั่วโมง สภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก รวมถึงเรื่องอาหารและยารักษาโรคที่มีเพียงเพื่อให้อยู่รอดไปวันๆ เท่านั้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายร่างกายและถูกฆ่าจากหัวหน้างานหรือไต้ก๋งเรือ หากทำงานไม่เป็นที่พอใจหรือเมื่อเกิดมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน เรื่องราวการทำร้ายฆ่าฟันมักจะเงียบหายไปจนแรงงานข้ามชาติเรียกสถานการณ์แบบนี้ว่า"นักโทษทางทะเล". นอกจากนี้ ลูกเรือที่ออกเรือเข้าไปทำประมงในเขตแดนทะเลของประเทศอื่น ยังเสี่ยงต่อการถูกจับกุมของเจ้าหน้าที่ในประเทศนั้นๆ ด้วย

3. งานรับใช้ในบ้าน แรงงานต้องทำงานตั้งแต่เช้าจนค่ำมืด บางรายทำงานบ้านแล้วยังต้องทำงานในร้านขายของ หรือทำงานในบ้านญาติของนายจ้างโดยได้รับค่าแรงจากนายจ้างคนเดียว แรงงานที่ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านส่วนใหญ่ มักถูกห้ามมิให้ติดต่อกับคนภายนอก โดยนายจ้างจะให้เหตุผลว่ากลัวแรงงานนัดแนะให้คนข้างนอกเข้ามาขโมยของในบ้าน รวมทั้งอาจจะถูกนายจ้างดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรง รวมถึงการทำร้ายร่างกายด้วย

4. แรงงานห้องแถว แรงงานข้ามชาติที่ถูกหลอกให้เข้าไปทำงานในโรงงานห้องแถวจะถูกกักให้ทำงานอยู่แต่เฉพาะในโรงงาน และต้องทำงานอย่างหนักตั้งแต่เช้าไปจนเกือบเที่ยงคืน โดยนายจ้างจะเป็นผู้จัดเตรียมอาหารให้ ซึ่งเป็นอาหารที่แย่มาก บางครั้งนำอาหารที่เกือบเสียแล้วมาให้แรงงาน บางกรณีแรงงานได้รับประทานอาหารเพียงวันละ 2 มื้อ และไม่เพียงพอ

5. แรงงานก่อสร้าง แรงงานในภาคการก่อสร้างเป็นกิจการที่พบว่า แรงงานข้ามชาติจะถูกโกงค่าแรงบ่อยที่สุด ปัญหาค่าแรงนับเป็นปัญหาหลักที่อยู่คู่กับแรงงานข้ามชาติ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และพบในแทบทุกกิจการ โดยที่นายจ้างมักจะผลัดผ่อนค่าแรงไปเรื่อยๆ เมื่อแรงงานเข้าไปทวงค่าแรงมักจะได้รับคำตอบว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปหมดแล้ว หรือหากเป็นเงินจำนวนมากๆ บางรายมักจะใช้วิธีแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปจับกุมแรงงานข้ามชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงิน



ในขณะเดียวกันแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เมื่อยังไม่ได้รับค่าแรง มักจะดำรงชีวิตโดยการหยิบยืมเงินหรือเอาข้าวของจากร้านค้าต่างๆ ด้วยการติดหนี้สินไว้ก่อน เมื่อไม่มีเงินจ่ายหนี้ทำให้แรงงานอยู่ในภาวะยากลำบาก ในหลายกรณีแรงงานไม่ได้รับค่าแรงอย่างเต็มที่ คือ นายจ้างให้แรงงานทำงานไปก่อน 25 วันและจ่ายเพียง 15 วัน โดยค่าจ้าง 10 วันที่เหลือ นายจ้างใช้เป็นกลวิธีควบคุมแรงงานไม่ให้คิดหนีหรือไม่ทำงาน

ในแง่ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีบทบัญญัติบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนให้แรงงานตามค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนด แต่ปรากฏว่าค่าแรงของแรงงานข้ามชาติเกือบทั้งหมด จะได้รับต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ โดยเฉลี่ยจะอยู่ในอัตราตั้งแต่ 40 - 120 บาทต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแทบพื้นที่ชายแดนราย ได้ต่อวันสูงสุดไม่เกินวันละ 80 บาท และน้อยรายนักที่จะได้รับค่าแรงล่วงเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยในบางพื้นที่ต้องทำงานวันละ 12 - 14 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าล่วงเวลาเลย


โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา



Copyleft2007บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv@gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach fileHบทความลำดับที่ ๑๓๘๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 21, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์Rpower-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv@gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
นอกจากเรื่องของห้องขังที่แออัดยัดเยียด ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ อาหารประจำวันและห้องน้ำของผู้ถูกคุมขัง ยังพบว่ามีการทำร้ายร่างกายแรงงานข้ามชาติที่ถูกจับกุม โดยทั้งจากเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยผู้คุมซึ่งเป็นนักโทษไทยที่อยู่ในที่คุมขัง มีการทุบตีทำร้ายแรงงานข้ามชาติที่ถูกจับกุม หากไม่พอใจ จนถึงขั้นบาดเจ็บอย่างรุนแรงจนถึงเสียชีวิต. มีการข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ การกระทำอนาจารต่อผู้ต้องขังที่เป็นแรงงานข้ามชาติหญิง เช่น ให้ผู้ต้องขังชายช่วยตัวเองหน้าห้องผู้ต้องขังหญิง ไปจนถึงการข่มขืนกระทำชำเราผู้ต้องขังหญิง โดยนักโทษชายที่เป็นคนไทย21-10-2550

Migrant Workers
Midnight University


HRทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv@gmail.com -Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license document, but
changing it is not allowed.
crystalline_quartz
 

Re:มายาคติชาติพันธุ์ อ่านต่อ

โพสต์โดย Admin_NuCh » อังคาร 08 ม.ค. 2008 2:44 pm

บทความนี้ยังไม่จบนะจ๊ะ :)

ติดตามอ่านข้อมูลต่อ ได้ที่นี่เลยค่ะ

http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999545.html
#29 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) #30

เว็บไซต์ ยส.Facebook ยส.

`•.¸¸.•´´¯`•• .¸¸.•´¯`•●•´¯`•.¸¸.•´´¯`•• .¸¸.•´
ภาพประจำตัวสมาชิก
Admin_NuCh
ผู้ดูแล
ผู้ดูแล
 
โพสต์: 334
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 07 ธ.ค. 2007 1:41 pm
ที่อยู่: Bangkok, Thailand
ที่อยู่/Country: กรุงเทพฯ


ย้อนกลับไปยัง บทความดีๆ น่าอ่าน

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron