ประเภทของงานปั๊ม

เจอบทความดีๆ ก็นำมาฝากไว้ที่บอร์ดนี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นบทความที่ท่านเขียนเอง หรือบทความจากแหล่งอื่นๆ และอย่าลืมให้เครดิตกับบทความที่ท่านนำมาด้วยนะคะ ทางเราจะพิจารณาเพื่อนำลงเว็บไซต์ http://www.jpthai.org อีกทีค่ะ

ประเภทของงานปั๊ม

โพสต์โดย veco » พฤหัสฯ. 15 ต.ค. 2009 4:49 pm

ประเภทของงานปั๊ม

มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. งานตัด (Shearing)

เป็นขั้นพื้นฐานของงานปั๊ม แบ่งออกเป็น

* Shearing เป็นงานตัดทั่วๆไปที่ใช้คมตัด เฉือนโลหะให้ขาดออกจากกัน

* Bevel shearing เป็นงานตัดริมขอบของชิ้นงานโดยมีคมตัดด้านบนเอียงทำมุมกับแนวดิ่ง

* Blanking เป็นงานตัดที่ต้องการเอาส่วนที่ถูกตัดไปแปรสภาพเป็นชิ้นงานต่อไป โดยส่วนที่ถูกตัดจะมีรูปร่างตามที่ได้ออกแบบไว้แล้วTrimming เป็นงานตัดขอบส่วนที่ไม่ต้องการออกจากชิ้นงานที่ขึ้นรูปมาแล้ว

* Notching เป็นงานตัดเฉพาะบางส่วนทางด้านริมของชิ้นงานออก

* Slitting เป็นการตัดในแนวตรง ใช้ในการตัดแยกโลหะแผ่นเล็กออกจากแผ่นใหญ่

* Parting หรือ Separating เป็นการตัดแยกชิ้นงานที่สมมาตรกันออกเป็น 2 ส่วน

* Piercing เป็นการตัดเจาะรู เพื่อนำรูไปใช้ ต่างกับ blanking ที่นำเศษของรูไปใช้งาน

* Perforating เป็นการตัดเจาะรูหลายๆ รูพร้อมกัน ซึ่งส่วนใหญ่รูเหล่านี้จะมีรูปร่างและขนาดเท่ากันทั้งหมด

* Shaving เป็นการตัดครั้งที่สองหลังจากที่ shearing หรือ cutting มาแล้วเพื่อทำให้ขอบของชิ้นงานเรียบ


2. งานพับและงานปั๊มเข้ารูป (Bending and Forming)

แบ่งออกเป็น

* Bending เป็นการพับโลหะซึ่งอาจจะเป็นรูปตัว V หรือตัว U ก็ได้
* Forming เป็นการปั๊มเข้ารูปโลหะแผ่นเรียบให้มีรูปร่างตามต้องการโดยที่ชิ้นงานจะมีรูปร่างและขนาดตามรูปร่างและขนาดของ punch และ die
* Flanging เป็นการพับขอบของชิ้นงานซึ่งอาจมีทั้งพับตรง, โค้งออก หรือ เว้าเข้า
* Burring เป็นการพับบริเวณขอบของรูหรือบานรูออก
* Curling เป็นการม้วนที่ปลายขอบชิ้นงานรูปถ้วย, ท่อ หรือโลหะแผ่นเรียบ
* Seaming เป็นการต่อปลายของโลหะเข้าด้วยกันโดยวิธีการพับติดกัน
* Beading เป็นการขึ้นรูปสันเนิน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงาน
* Embossing เป็นการปั๊มโลหะเพื่อทำให้เกิดเป็นรอยกดตื้นๆ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วจะไม่ทำให้ความหนาของโลหะเปลี่ยนไป
* Necking เป็นการลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของภาชนะรูปทรงกระบอกลงให้รูปร่างเหมือนกับบริเวรคอของขวด


3. งานขึ้นรูป (Drawing)

แบ่งออกเป็น

* Drawing เป็นการขึ้นรูปโดยที่ punch จะกดโลหะแผ่นเรียบเข้าไปในช่องว่างของ die เพื่อทำให้เกิดเป็นภาชนะรูปถ้วยกลวงและไม่มีตะเข็บ
* Redrawing เป็นการขึ้นรูปต่อจากการขึ้นรูปครั้งแรก ซึ่งภาชนะรูปถ้วยจะมีความลึกเพิ่มขึ้น และพื้นที่หน้าตัดจะลดลง
* Reverse Redrawing เป็นการขึ้นรูปต่อจากการขึ้นรูปครั้งแรก แต่ทิศทางของการขึ้นรูปตรงข้ามกับการขึ้นรูปครั้งแรก


4. งานประเภท Extrusion, Coining

มีดังนี้

* Cold Extrusion เป็นการขึ้นรูปชนิดหนึ่งโดยที่ punch จะอัดโลหะเข้าไปใน die orifice ซึ่งจะทำให้ได้ชิ้นงานตามรูปพื้นที่หน้าตัดของ orifice
* Forward Extrusion เป็นการอัดโลหะ โดยที่โลหะที่ถูกอัดจะไหลตัวเข้าไปในช่องว่างของ die และมีรูปร่างตามลักษณะของ die
* Backward Extrusion เป็นการอัดโลหะโดยที่โลหะที่ถูกอัดจะไหลตัวเคลื่อนเข้าหา punch และจะได้รูปร่างของชิ้นงานตามลักษณะของ punch
* Forward and Backward Extrusion เป็นการอัดโลหะโดยโลหะจะไหลตัวเข้าไปใน die และมีบางส่วนจะไหลตัวเคลื่อนเข้าหา punch ซึ่งจะทำให้ได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างตามลักษณะของ punch และ die
* Impact Extrusion เป็น Backward Extrusion ชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาของผนังมีความบางมาก ใช้ได้กับโลหะที่อ่อนมากเช่น อะลูมิเนียม, ตะกั่ว, ดีบุก และสังกะสี
* Upsetting เป็นการอัดโลหะเพื่อให้ความยาวลดลง โดยมีบางส่วนของชิ้นงานมีพื้นที่หน้าตัดเพิ่มขึ้น
* Coining เป็นการอัดโลหะโดยที่ทุกส่วนของชิ้นงานจะถูกอัดอยู่ระหว่าง punch กับ die และไม่มีส่วนใด ออกมานอก die
* Sizing เป็นการปั๊มครั้งที่สองเพื่อให้ได้ขนาดที่ถูกต้องแน่นอนตามต้องการ
* Heading เป็นการปั๊มเพื่อขึ้นรูป ทางด้านปลายของชิ้นงาน เช่น งานปั๊มหัวโบลท์และรีเวท
* Swaging เป็นการอัดโลหะจนโลหะไหลตัวเข้าไปจนเต็มช่องว่างของ die และจะมีโลหะบางส่วนไหลออกมานอก die


5. งานปั๊มประเภทอื่นๆ

* Bulging เป็นการขยายผนังของรูปถ้วย, รูปทรงกระบอก หรือท่อต่างๆ โดยใช้แรงดันจากด้านในออกมา แรงนี้ได้จากการอัดตัวของ punch ซึ่งกระทำต่อตัวกลาง เช่น อากาศ, ของเหลว, หรือสารพวกขี้ผึ้ง, ไข หรือ ยาง
* Strech Draw Forming เป็นการขึ้นรูปที่มี clamp ยึดปลายทั้งสองข้างของโลหะไว้ หลักการของการขึ้นรูปแบบนี้ก็คือ การทำให้โลหะยืดตัวออกจนอยู่ในช่องว่างของ plastic range ในขณะเดียวกับที่โลหะจะถูกขึ้นรูปโดย punch และด้วยวิธีนี้ก็สามารถป้องกันการเกิด spring back ได้
* Hydro Forming เป็นการขึ้นรูปที่มีแต่ punch เท่านั้น ที่จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างของชิ้นงาน ส่วนที่ die จะเป็นของเหลว ซึ่งมีหน้าที่ในการอัดโลหะให้มีรูปร่างตามลักษณะของ punch การขึ้นรูปชนิดนี้ นิยมใช้กับการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีรูปร่างยุ่งยาก

http://www.veco.co.th
บทความจากหนังสือออกแบบแม่พิมพ์
ชาญชัย ทรัพยากร
ภาพประจำตัวสมาชิก
veco
Newbie
Newbie
 
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 15 ต.ค. 2009 4:45 pm
ที่อยู่/Country: bkk

ย้อนกลับไปยัง บทความดีๆ น่าอ่าน

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron