เรารับรู้เรื่องพวกนี้หรือยัง???

เจอบทความดีๆ ก็นำมาฝากไว้ที่บอร์ดนี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นบทความที่ท่านเขียนเอง หรือบทความจากแหล่งอื่นๆ และอย่าลืมให้เครดิตกับบทความที่ท่านนำมาด้วยนะคะ ทางเราจะพิจารณาเพื่อนำลงเว็บไซต์ http://www.jpthai.org อีกทีค่ะ

เรารับรู้เรื่องพวกนี้หรือยัง???

โพสต์โดย ago_demon » พฤหัสฯ. 14 พ.ค. 2009 4:10 pm

ความรักชาติ (Patriotism) โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง
โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ
“ความรักชาติ คือการสนับสนุนประเทศของเราตลอดเวลา และสนับสนุนรัฐบาลของท่านเมื่อรัฐบาลนั้นสมควรได้รับการสนับสนุน (Patriotism is supporting your country all the time and your government when it deserves.)” มาร์ก ทเวน/นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน
ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทยเราอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้ามก็คือการโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าไม่รักชาติ ทั้งๆที่ความหมายหรือนิยามของคำว่า ความรักชาตินั้นยังไม่เคยมีการอรรถาธิบายให้ชัดเจนว่าอย่างไรถึงจะเรียกว่าความรักชาติ อย่างไรถึงจะเรียกว่าความไม่รักชาติ
ความรักชาติของไทยเรานั้นได้ถูกผูกขาดโดยรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐมาโดยตลอด นับแต่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีการปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมควบคู่ไปกับ การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองที่ว่า “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” หรือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ว่า “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” ซึ่งในที่สุดก็พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง
ความรักชาติถูกผูกขาดโดยคนบางกลุ่มบางเหล่ามาโดยตลอดว่าเป็นผู้ที่มี ความรักชาติมากกว่าคนกลุ่มอื่น ซึ่งน่าแปลกที่จำนวนคดีผู้ที่ถูกลงโทษในข้อหาคอร์รัปชันไม่ว่าจะเป็นโทษทางอาญาหรือโทษทางวินัยกลับเกิดในคนกลุ่มต่างๆเหล่านั้นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังปรากฏข่าวคราวมาโดยตลอด จึงควรที่เราจะต้องมาพิจารณาว่าอย่างไรจึงจะเป็นความรักชาติที่แท้จริง
ความรักชาตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมือง(political culture) ซึ่งในแต่ละสังคมนั้นจะถูกกำหนดขึ้นหรือได้รับอิทธิพลจากสภาวะแวดล้อมหลายประการ เช่น ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา ฯลฯ โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม(political socialization) โดยสถาบันต่างๆ เพื่อจะถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่องและมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงให้ เข้ากับสภาวะแวดล้อมต่างๆเสมอ

ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมือง
๑) แบบจำกัดวงแคบ(parochial political culture) คือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมที่บุคคลไม่รู้และไม่สนใจการเมือง และไม่คิดว่าจะได้รับผลกระทบ จากการเมือง คนที่มีความคิดทางการเมืองแบบนี้จึงไม่คิดว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ทำให้ประชาชนมีสำนึกทางการเมืองต่ำ ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง
๒) แบบไพร่ฟ้า(subject political culture) คือ วัฒนธรรมทางการเมืองที่บุคคลสนใจและเข้าใจการเมืองบ้าง แต่อยู่ในในลักษณะที่เป็นการยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง ดังนั้น จึงไม่สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเช่นกัน
๓) แบบมีส่วนร่วม(participant political culture) คือ วัฒนธรรมทางการเมืองที่บุคคลสนใจการเมืองและตระหนักว่าการเมืองมีผลกระทบต่อชีวิตเขาทุกในด้าน พวกเขาจึงกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีกิจกรรมทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
ประเทศไทยเราอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนผ่านจากเดิมที่คนไทยเรามีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมที่จำกัดวงแคบในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ซึ่งถูกครอบงำด้วยข้าราชการและทหารติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ มาโดยตลอด แม้ว่าจะมีการวิวัฒนาการไปสู่วัฒนธรรม ทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ แต่ก็ต้องสะดุดด้วยการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชนบทที่ถูกกระแสของวิวัฒนาการของวัฒนธรรมทางการเมืองของเมืองใหญ่ด้วยการสื่อสาร และการกลับไปรับใช้สังคมบ้านเกิด ทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองในชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น วัฒนธรรมทางการเมือง แบบดั้งเดิมและแบบไพร่ฟ้าของไทยไม่สามารถอยู่รอดได้ และต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในที่สุด
ฉะนั้น ความรักชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองก็ต้องมีการวิวัฒนาการจากแบบดั้งเดิมที่จำกัดวงแคบและแบบไพร่ฟ้าไปสู่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบ มีส่วนร่วม ซึ่งย่อมมีความแตกต่างจากความรักชาติแบบเดิมๆที่ในบางครั้งแปรสภาพไปสู่ ความคลั่งชาติ(chauvinism) ทำให้เกิดการรบราฆ่าฟันกัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์การปลุกระดมเข้ายึดดินแดนเพื่อนบ้านเพื่อจุดมุ่งหมายของการเป็นมหาอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งกรณีเขาพระวิหาร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จนล่าสุดคือเหตุการณ์ฆ่ากันระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงอันเนื่องมาจากการปลุกระดมให้รักชาติ จนกลายเป็นการคลั่งชาติ
จะเห็นได้ว่าจากคำกล่าวของมาร์ก ทเวน ที่ผมยกขึ้นมาข้างต้นนั้นแม้ว่าจะกล่าวไว้เกือบร้อยปีมาแล้วยังคงเป็นความสัตย์จริงอยู่เสมอ และเป็นความรักชาติในวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมหรือแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการสนับสนุนรัฐบาลเมื่อรัฐบาลนั้นสมควรได้รับการสนับสนุนและแน่นอนว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลหากรัฐบาลนั้น ไม่สมควรได้รับการสนับสนุน
ความรักชาติในสังคมประชาธิปไตยไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยกับรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกเรื่อง ความรักชาติมิใช่อยู่ที่การร้องเพลงชาติได้เสียงดังหรือไพเราะกว่าคนอื่น ความรักชาติมิใช่อยู่ที่ว่าจะต้องยืนตรงเคารพธงชาติวันละ ๒ ครั้งทุกวันโดยเคร่งครัด ความรักชาติมิใช่อยู่ที่การกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าเสาธงทุกเช้าก่อนเข้าเรียนหรือเข้าทำงาน ความรักชาติมิได้หมายความว่าผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณหรือคำสาบานตนจะรักชาติมากกว่าคนอื่นไม่ว่าจะเป็นในการฝึกอบรมมวลชนหรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งทางราชการทั้งฝ่ายประจำหรือ ฝ่ายการเมือง
แต่ความรักชาติอยู่ที่การทำความเห็นให้ตรงและพร้อมจะท้วงติงหากรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำไม่ถูกต้องหรือกำลังจะพาเราไปลงเหว ความรักชาติอยู่ที่การไม่หนุนหลังให้คนฆ่ากันด้วยความต่างเพราะสีเสื้อหรือความคิดเห็น ความรักชาติอยู่ที่การเห็นคนในชาติไม่จะอยู่ส่วนไหนหรือส่วนใดของประเทศมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากัน มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ความรักชาติอยู่ที่การปฏิบัติ ตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ในชนชั้นใดของสังคมต่างหาก จึงจะเรียกว่าความรักชาติที่แท้จริง

ล้มทักษิณคือล้มชาติ (เขียนก่อนปฏิวัติ)
ก่อนอื่นผมต้องขอเตือนสติพวกเราคนไทยหน่อย จากคำพูดของคนในพันทิพย์ ว่า “อย่าเผาบ้านเพราะโจรเลย” ผมว่าคำกล่าวนั้นแรงไป ทักษิณไม่ถึงกับโจร คือระบอบทักษิณก็มีอะไรดีไอยู่เหมือนกัน แต่ในการที่เราจะ “เผา” ทักษิณทิ้งนั้น ต้องตั้งสติสักหน่อย ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่และ “มันมากไปไหม” และอีกสิ่งหนึ่งที่อยากเตือนสติท่าน คือเวลาเรามองเห็นปัญหาของอะไรสักอย่าง เราจะเน้นแต่การแก้ปัญหานั้น จนลืมกันไปแล้วหรือว่า “ภาวะศูนย์อากาศที่เกิดขึ้น อะไรจะมาแทนที่” คือเราง่วยอยู่แต่กาทำลายทักษิณ จนเราลืมไปหรือเปล่าที่จะถามว่า “แล้วสิ่งที่จะมาแทนที่ ดีกว่าสิ่งที่เราจะลบทิ้งไปไหม”
ระบอบทักษิณนั้นที่คนด่ากันมาก คือมันเป็นระบอบ “ควบอำนาจมาที่ส่วนกลางมากไป” มันไม่ตรงกับฉบับปชชที่ต้องการการกระจายอำนาจ แต่ถ้าเราลงลึกในฉบับปชช จะเห็นได้เลยว่ารัฐต้องส่งเงินไปให้ระดับรากหญ้าบริหารเอง ในอัตราส่วนที่สูงมากของงบประมาณรัฐ แต่ทักษิณเลี่ยงกฏหมายนี้โดยการบอกว่า รากหญ้ายังไม่หร้อมบริหารงบนั้น จะจริงหรือไม่ เราคงได้ยินกันมามากเรื่องการโกงระดับรากหญ้า ต่อเงินที่ผันออกไปแล้ว หรือบริหารเงินที่ผันไปแล้ว ได้ไม่ดีขนาดไหน ก็น่าจะสรุปได้ว่า “จริงของทักษิณ” แล้วเรามาดูโครงการทดแทนการ “ทำเอง” ของรากหญ้าดู
เช่น สามสิบบาท บ้านเอื้อาทร โรงเรียนในฝัน ทุนการศึกษาทั้งไปนอกและในไทย โครงการ SML ที่ให้การศึกษาควบคู่ไปด้วย หรือสนับสนุน OTOP สิ่งพวกนี้คือเงินที่รัฐ “อาสาผันไปให้รากหญ้า” ฉะนั้นในความเป็นจริงแล้ว ในการเงิน ทักษิณได้กระจายลงไปสู่รากหญ้า มากมายนัก และเมื่อเงินคือโอกาสและอำนาจในการไม่ต้องพึ่งของแบบเงินนอกระบบ ก็น่าจะพอสรุปตรงนี้ได้ว่าทักษิณนั้น “สุดยอดแล้ว” ของการกระจายอำนาจ
แต่สิ่งดีๆพวกนี้ในระบอบทักษิณ จะถูกล้มเลิกไปเลยไหม ถ้าระบอบทักษิณถูกทำลายลง “แน่นอนเลยว่าจะถูกล้มไปหมดทุกโครงการ” ในนามของการล้มระบอบทักษิณ คำถามที่พวกล้มระบอบทักษิณต้องตอบ คือแล้วอะไรจะมาแทนที่สิ่งพวกนี้ คืออะไรจะมาแทนประชานิยม ปัญหาคือฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณไม่มีคำตอบให้ จะเน้นไปที่จุดอ่อนเล็กๆน้อยๆเช่นคุรภาพของสามสิบบาทไม่ดี หรือประชานิยมคือการแจกเงิน ที่ทำให้คนเป็นหนี้มากขึ้น หนี้รากหญ้าจะทำลายประเทศอะไรแบบนั้น
ปัญหาคือคนต่อต้านทักษิณไม่มองถึงสิ่งที่ “ดี” ของประชานิยมเลย คือตัวเลขที่ออกกันมาจริงๆ หนี้เสียระดับรากหญ้ามีน้อยมาก ปัญหาช่องว่างคนรวยจนในประเทศลดน้อยลงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย ซึ่งเป็นข่าวระดับโลกทีเดียวเพราะเกิดขึ้นในน้อยประเทศมาก และที่สำคัญคือ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหนนี้ มันก็มาจากรากหญ้าฟื้นก่อน แล้วกระจายไปทุกส่วนของสังคม แล้วถ้าไปดูตังวเลขว่าเศรษฐกิจดีขนาดไหน แทบทุกตัวเลขบ่งบอกว่าเศรษฐกิจดีมากช่วงประชานิยมของทักษิณ ยิ่งมองว่าคนจนซื้อระซื้อบ้านซื้อมอร์เตอร์ไซกันตรึมเมือง จนหนี้ภาคปชชมากขึ้น นั่นมองง่ายๆมันก็ไม่ดีมาก แต่ถ้ามองว่านั้นคือการ ”ออมทางอ้อม” หนี้ภาคปชชก็จะลดลงไปมาก และรายได้หละ มันก็เพิ่มมากขึ้นมากเหมือนกัน ซึ่งเป็นจุดใหญ่ ที่ฝ่ายต้องการล้มระบอบทักษิณ ไม่พูดถึงเลย คือสรุปแล้วอะไรจะมาแทนที่ประชานิยมและเศรษฐกิจที่เน้นรากหญ้าเป็นหลัก คำตอบนี้คนต้องการล้มระบอบทักษิณ ไม่มีให้
แต่ว่าคนต้องการล้มระบอบทักษิณ จะเหมารวม ว่าประชานิยมคือการซื้อเสียงเท่านั้น เป็นการรวบอำนาจ และคนพวกนี้ยังเอาเรื่องนี้ไปผนวกกับการ “ครอบงำองค์กรอิสระต่าง” ออกมาเหมารวมกันว่าทักษิณคือฮิตเลอร์
ในด้านนี้ผมกลับมองว่า “จริง” ทักษิณก้าวก่านคนอื่น” แต่มันก็มีอีกด้าน คือถ้าจำกันได้ เราผ่านช่วงเวลาที่รัฐบาลอ่อนแอมากมาแล้ว และเราได้เห็นผลเสียของมันมามาก เช่นการโกงแบบโบราณ ที่ทำกันเพราะนักการเมืองสองสามคนก็จับมือกันต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีได้แล้ว และรัฐบาลที่อ่อนปวกเปียกล้มแล้วล้มอีก เปลี่ยนรัฐบาลกันอย่างกับผ้าอ้อม รัฐบาลที่ได้มาก็ตามก้นนักวิชาการและข้าราชการจนชาติไปไม่ถึงไหนเสียที หาสภาวะผู้นำไม่ได้เลย การเมืองขาดความต่อเนื่อง
วัฏจักรของการเมืองไทยคือวิ่งมาหารัฐบาลที่ต้องมีความเข้มแข็งและเป็นผู้นำ นี่เห็นได้จากฉบับปชชได้อย่างดี เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าทักษิณไปไกลกว่านั้น คือต้องการมีเสียงในองค์กรอิสระเพื่อโน้มเอียงองค์กรพวกนี้ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือวุฒิสภา
แต่ถ้าจะมองจากมุมมองทักษิณแล้ว มันก็คือการทำให้การเมืองมั่นคงและต่อเนื่องนั่นเอง แล้วสิ่งที่ไม่ดีไม่งามจากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรอิสระนั้นมีมากหรือ เปล่าเลย โจทย์นี้สำคัญมาก เพราะฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณจะพูดอยู่ว่ามันผิด มันไม่ดี มันเลว วกวนอยู่ตรงนี้ แต่ผลเสียหละมีอะไรบ้าง ทักษิณโกงได้มากขึ้นหรือ ทักษิณทำผิดกฏหมายได้มากขึ้นหรือ เท่าที่เห็นคือทักษิณมีอำนาจมากขึ้นก็เท่านั้น เขาเอาอำนาจไปทำอะไรผิดหละ แน่นอนว่าฝ่ายต้องการล้มระบอบทักษิณจะชี้ไปที่สองจุด คือแปรรูป และการขายชิน แปรรูปนั้นเป็นนโยบายมาหลายสมัยแล้ว ฉะนั้นเราควรเอาออกจากประเด็น คือทักษิณเขาก็บอกมานานแล้วว่าถ้าไม่เอาแปรรูปอย่าเลือกทรท แล้วไง ก็เลือกทรทกันอยู่ดี
ฉะนั้นมันมีเรื่องเดียวคือขายชิน ฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณจะบอกว่า ทั้งกลต ทั้งตลาดหลักทรัพย์ ทั้งพวกภาษี ทั้งศาลรัชธรรมณูน ถูกทักษิณซื้อไปหมดแล้ว ถึงออกมาพูดว่า “ขายชิน” ไม่ผิด แล้วกกต ก็อุ้มทักษิณตลอดเวลา แต่ก็มีอีกฝ่ายที่อดด่ากลับไม่ได้ว่ามันจะมากไปแล้วนะพวกต่อต้านระบอบทักษิณ ใครมันจะทำผิดกฏหมายขนาดนั้นเพื่อทักษิณ ก็แล้วแต่มุมมองนะครับ แต่ประเด็นคือ บอกมาสักหน่อยสิว่าขายชินแล้วมันไม่ดีต่อไทยตรงไหน มากมายอะไรขนาดนั้น คือที่ขายไป

และแล้ว “ทักษิณตกเป็นจำเลย”
ขายชินคือโกงภาษีและขายชาติ และทักษิณก็ “ตกเป็นจำเลย” แรกและข้ามคืน ของมาตรฐานใหม่ด้านความ “ดี” นี้ การจองร้างจองเผาระดับทักษิณนี้ ในมุมมองของคนที่ตามการเมืองมานาน ไม่เคยมีในระดับนี้มาก่อน ครั้งสุดท้ายก็คือ “ถนอมและประภาส” ประชาธิปัตย์ เปิดการเงินเสรี จนเงินระยะสั้นเข้ามามาก จนในที่สุดทำให้ไทยล้มไป และเรื่องปรส. สองอย่างที่ทำให้ไทย เสียหาย เป็น “ล้านล้านล้าน” หรือจะ ที่ดิน สปก.4-01 ที่นักการเมืองเอามาสร้างรีสอร์ทกัน แต่ไม่มีใคร “ไล่ชวนออกนอกประเทศ” หรือถามหา จริยธรรม และ จรรยาบรรณ จากประชาธิปัตย์ ถึงขนาดที่ว่า จปร. ตีกันจนคนตาย แต่สรุปคือ “ไม่เป็นไร”
ทักษิณ “เงียบกับเงียบลูกเดียว”
ปัญหาสังคมนั้น คือ ต้นตอและ “ชนวน” ของการล้มไปของทักษิณ ในการแก้ไขแล้วควรจะ Quantify หรือ วัดออกมาก่อน ว่ามันรุนแรงจริงแค่ไหน หลังจากนั้นจะได้แก้ไขปัญหาได้เป็นระบบและมีเป้าหมาย ไม่ใช่นักเรียนโยนหินใส่รถเมล์ ปีละสิบครั้ง แต่กลายเป็นว่านี่กลายเป็นปัญหาสังคมขนาดใหญ่ไปได้ จนอาจต้องมีกระจกรถเมล์ป้องกันกระสุนกันเลย หรือแบบตั้งกล้องวงจรปิดตามสะพานข้ามถนน เพราะผู้หญิงถูกข่มขืนบนสะพานลอย หรือในอีกแง่ ก็ควรศึกษาดูว่าการมีถุงยางขายในรร จะกระตุ้นให้เด็กนักเรียน มีเซ็กเร็วขึ้นหรือไม่ การมีถุงยางในรร จะช่วยให้ติดโรดเอดส์ กันน้อยลงขนาดไหน คือต้องใช้สติ มองว่าปัญหาเป็นอย่างไรจริงๆก่อน ไม่ใช่ไปช่วยนักหนังสือพิมพ์ขายหนังสือพิมพ์ ด้วยการทำเรื่องเล็กให้ใหญ่
แต่ทักษิณ ไม่เคยพูดแบบนี้ หรือทำแบบนี้ เช่น พอออกนโยบายถุงยางในรรออกมา คนโจมตี ก็ยกเลิกเฉย ไม่มีการศึกษาอะไรสนับสนุนอะไรเลย ที่จะพอช่วยรองรับกระแสและอารมณ์ บ่อนก็ปล่อยไป ไม่เหมือนกับประชาธิปัตย์ ในทุกๆ เรื่องไม่ว่าทำอะไร หรือมีข่าวอะไรออกมา ประชาธิปัตย์จะออกมาแถลงการณ์ทุกครั้ง จะออกมาแก้ตัวทุกครั้ง ให้อีกฝ่ายนำข้อมูล “ด้านลบ” ของการมีบ่อนออกสู่สังคม ส่วนด้านดี ไม่มีใครในพลพรรคทักษิณ หามาออก ทักษิณเป็นเช่นนี้แทบทุกเรื่อง คือเงียบไปเวลาถูกด่า เป็นเรื่องธรรมดาครับที่คนทำงานย่อมถูกโจมตี เป็นเรื่องธรรมดาครับที่คนดีแต่พูดจะอยู่รอดในสังคม
อาจเป็นเพราะบางคนก็จะบอกว่าปัญหาสังคม Quantify ไม่มีทางได้เพราะเกี่ยวกับอีคิวของสังคม ซึ่งเรื่องเล็กอาจจะใหญ่มากในสมอง “เล็กๆหรือใหญ่” ของคนก็ได้ ฉะนั้นมาตรการทางสังคม “ดีๆ” ที่ไม่ได้ทำของทรท เช่น การสร้างแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อาจจะใช้ไม่ได้ผลเลยก็ได้ เพราะยิ่งมีแบบบ่อน ขายตัวเสรี ถุงยางในรร ยิ่งทำให้สังคมสับสน และทำลาย ความเชื่อที่ว่าเศรษฐกิจโตมากๆเป็นเรื่องจำเป็น และสังคมกำลังดีขึ้น จากการปราบยาเสพติดอย่างได้ผลเป็นต้น กลายเป็นว่า “ทุกวันนี้” ส่วนมากของโลก เอาโตเร็วกัน แต่ แฟชั่นในไทย คือ “โตเร็วไม่ดี”
มาวันนี้ หลังรัฐประหาร เห็นได้ชัดว่า ผู้นำสังคมไทยจริงๆ ไม่ใช่นักการเมืองจากการเลือกตั้ง แต่คือ เช่นผู้มีบารมี พวกนี้ได้มองทางออกจากปัญหาทุกอย่างแล้ว ที่ท่าน “เลือกให้เรา” นั่นคือ “พอเพียง” สูตรสำเร็จที่จะแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเดียวที่เหลือคือปัญหาการเมือง หรือระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง ที่ยังอ่อนปวกเปียก ไม่ “มั่นคงและมีคุณภาพ” เสียที แต่ก็กำลัง Rationalize ปัญหากันอยู่ ว่าถ้าสังคมดี เศรษฐกิจดีแบบพอดี “พอเพียง” และกรอบการเมืองดี “การเมืองคงจะดีขึ้น”
ภาพประจำตัวสมาชิก
ago_demon
Newbie
Newbie
 
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 14 พ.ค. 2009 4:00 pm
ที่อยู่/Country: New Zealand

ย้อนกลับไปยัง บทความดีๆ น่าอ่าน

ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน

cron